คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บทบัญญัติกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษคดียาเสพติดและการแก้ไขคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมาย
คดีนี้โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 12,000 เม็ด น้ำหนักรวม 84.29 กรัม โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าเมทแอมเฟตามีน 12,000 เม็ด สามารถคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม แม้โจทก์จะนำสืบถึงรายงานการตรวจพิสูจน์ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึง 84.29 กรัมก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็มิใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จะนำมาประกอบคำฟ้องของโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวให้หนักขึ้นมิได้ กรณีต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทและตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นบทกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นจำคุกชีวิต และปรับ 3,000,000 บาท โดยมิได้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใดและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้แก้ไขส่วนนี้ เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง เมื่ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นเพียงของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ในคดีเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งริบของกลางดังกล่าวไม่ได้ และแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตามศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างชั่วคราวกับบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐในคดียาเสพติด
จำเลยที่ 3 เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวของเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไขเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกไม่วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งความเห็นขัดแย้งบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางแต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 276 ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 นั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่ส่งข้อโต้แย้งถึงศาลรัฐธรรมนูญ หากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาล ไม่ใช่บทบัญญัติกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ
ศาลจะส่งความเห็นหรือข้อโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราวก็ต่อเมื่อคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า การใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียกวัตถุพยานตามคำร้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยหลักการของรัฐธรรมนูญ มิได้อ้างว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นจะส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุด กรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการเลิกสัญญาตามบทบัญญัติกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 386 วางหลักในเรื่องการเลิกสัญญาไว้ 2 กรณี คือ เลิกสัญญาโดยข้อสัญญาและเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังนั้น แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตาม ข้อสัญญา แต่ตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็เลิกสัญญาได้
ตามเอกสารแนบท้ายเงื่อนไขการจะซื้อจะขาย ที่ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ผุ้จะขายนั้นไม่สามารถทำการก่อสร้างอาคารชุดหรือห้องชุดผู้จะซื้อให้แล้วเสร็จหรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะซื้อภายในเวลที่กำหนดในสัญญานี้และการผิดสัญญาดังกล่าวดำเนินต่อไปภายหลังจากผู้จะซื้อส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จะขายไม่น้อยกว่าหกเดือน ผู้จะซื้ออาจบอกเลิกภาระผูกพันของผู้จะซื้อตามสัญญานี้?" เป็นการกำหนดให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ 2 กรณี คือ ผู้จะขายก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดได้ การที่ผู้จะขายมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญา ผู้จะซื้อจึงเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้ออาคารชุดจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยตามสัญญาบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขในสัญญากำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะ รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น และตามสัญญาระบุไว้ใน รายการฝ้าเพดานระบุว่าห้องทั่วไปเป็นคอนกรีต แต่งผิว ทาสี ส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางนี้ แม้โจทก์ยังมิได้เป็นผู้มีส่วนถือกรรมสิทธิ์รวมเพราะยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกับจำเลยในอันที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 216 เป็นเรี่องการผิดนัดชำระหนี้และผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ ส่วนกรณีที่เป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยให้ก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา 1 เดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง จึงเท่ากับจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อกรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงไม่ต้องบอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย: บทบัญญัติกฎหมายเป็นพิเศษและผลกระทบต่อความเป็นธรรม
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันโดยสุจริต ดังนี้ เท่ากับเป็นการขยายเวลาตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 ออกไป ซึ่งเจ้าหนี้อื่นและลูกหนี้อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีที่สิทธิเกิดก่อน
การเป็นบิดากับบุตรระหว่างนาย บ. กับผู้ร้องมีอยู่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ จึงนำบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจใหม่มาใช้บังคับหาได้ไม่
ปัญหาว่าการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บุตรบรรลุนิติภาวะนั้น ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ มิฉะนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบของกลาง แม้โจทก์มิได้อ้างบทบัญญัติกฎหมายโดยตรง
ปืนของกลางที่จำเลยใช้กระทำผิดฐานบุกรุก เมื่อโจทก์ขอให้ริบแม้ไม่ได้อ้างบทมาตรา ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีบ้องสูบฝิ่นกับบทบัญญัติกฎหมาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีโทษสำหรับ 'การใช้' บ้องสูบฝิ่น
กล้องสูบฝิ่นไว้โดยมิได้รับอนุญาตมีความผิดตาม ม.34 แต่บทเดียว ถึงแม้จะเอากล้องนั้นออกใช้+ก็ไม่มีผิดต่อมาตราอื่น+อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพทำร้ายร่างกายถึงเสียโฉม และการใช้บทบัญญัติกฎหมายกำหนดบาดแผลสาหัส
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายเขาถึงรูปหน้าเสียโฉมและสงใบชัณสูตร์บาดแผลประกอบ จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง เช่นนี้ศาลลงโทษจำเลยตาม ม.256(6) ได้โดยไม่ต้องตรวจพิเคราะห์บาดแผลที่ตัวผู้เสียหายอีก
of 2