พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อน/หลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 และอายุความมรดก กรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมายแม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล.ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตายความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียวล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล.ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล.ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตายความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียวล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล.ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสก่อน-หลัง บรรพ 5, การหย่า, อายุความมรดก: การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตามกฎหมายก่อน/หลังใช้ บรรพ 5, การหย่าโดยไม่ได้จดทะเบียน, และอายุความมรดก
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมาย แม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล. ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียว ล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล. ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียว ล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมก่อน บรรพ 5 ไม่มีสิทธิมรดก หากมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
บุตรบุญธรรมก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่มิได้ จดทะเบียนตามบรรพ 5 มิได้มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรสที่สมรสก่อนและหลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 ฉบับใหม่ การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ
เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ. 2477) แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ. 2519) แล้ว การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ขณะสมรสมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากการสมรสหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และหน้าที่การนำสืบ
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ถ้าจะขาดจากการสมรสภายหลังที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กรณีเรื่องขาดจากการสมรสไม่ใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดจากการสมรสตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 แต่เป็นกรณีที่จะสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากการสมรสหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ บรรพ 5 จำเลยต้องพิสูจน์การขาดจากกันตามกฎหมาย
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ถ้าจะขาดจากการสมรสภายหลังที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กรณีเรื่องขาดจากการสมรสไม่ใช่ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดจากการสมรสตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 แต่เป็นกรณีที่จะสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ
การหย่ากันโดยความยินยอม โดยมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่มีผลทำให้ขาดจากการสมรส
โจทก์เป็นสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์กับผู้ตายขาดจากกัน จำเลยต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือหย่าตาม ป.พ.พ. บรรพ 5: การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันภายหลังใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ต่อมาได้ตกลงทำหนังสือหย่ากันไว้โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนถูกต้องตาม ม.1498 วรรค 2 แต่จำเลยบิดพริ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่า ตาม ม.1499 โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่าเพื่อความสมบูรณ์ตาม ม.1499 ได้ และถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ.มาตรา 213
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสหลังใช้ บรรพ 5 ไม่จดทะเบียนสมรส สิทธิในทรัพย์สินมรดก
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันมาก่อนใช้บรรพ 5 จึงขอให้ศาลแสดงว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นสินสมรส โจทก์มีสิทธิสองส่วนจำเลยหนึ่งส่วน
จำเลยต่อสู้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวจำเลยจำเลยเป็นภรรยาโจทก์หลังใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังได้หย่าขาดและแบ่งทรัพย์กันแล้วดังนี้แม้ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าลักตัดยางในสวนพิพาทศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ดีในคดีใหม่นี้ศาลก็ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้เพราะคดีใหม่นี้มูลกรณีเป็นคนละอย่างหาได้เกี่ยวเนื่องมาจากคดีอาญาที่หากันว่าลักตัดยางในสวนพิพาทไม่ คู่ความมาพิพาทกันด้วยสิทธิในครอบครัวและทรัพย์สินในทางแพ่งเป็นเรื่องใหม่อีกโสดหนึ่งต่างหาก
จำเลยต่อสู้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวจำเลยจำเลยเป็นภรรยาโจทก์หลังใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังได้หย่าขาดและแบ่งทรัพย์กันแล้วดังนี้แม้ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าลักตัดยางในสวนพิพาทศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ก็ดีในคดีใหม่นี้ศาลก็ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้เพราะคดีใหม่นี้มูลกรณีเป็นคนละอย่างหาได้เกี่ยวเนื่องมาจากคดีอาญาที่หากันว่าลักตัดยางในสวนพิพาทไม่ คู่ความมาพิพาทกันด้วยสิทธิในครอบครัวและทรัพย์สินในทางแพ่งเป็นเรื่องใหม่อีกโสดหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกันอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ทำให้สิ้นสุดสถานะสามีภริยา
สามีภริยาแยกกันอยู่ระหว่างใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วภริยาไปอยู่กับชู้จนเกิดบุตรด้วยกัน ดังนี้สามีภริยายังเป็นสามีภริยากันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกสินสมรสและการลงชื่อในโฉนดสำหรับคู่สมรสที่สมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง บรรพ 5
ก.ม.ลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ให้มีการแยกสินบริคณห์ โดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่า จะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้
การที่จะนำ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1472, 1467 มาใช้แก่คู่สมรส ซึ่งสมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือน ถึงการสมรสหรือสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) ยกเว้นไว้แล้วนั้นแต่อย่างใด
ฟ้องโจทก์ขอให้แยกสินบริคณห์ถ้าสั่งแยกไม่ได้ จึงขอให้สั่งให้โจทก์มีชื่อร่วมในโฉนด ไม่เป็นคำขอที่ขัดกันและไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่ได้ขอทั้ง 2 อย่าง โจทก์ขออย่างแรกก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ จึงขออย่างที่สอง
การที่จะนำ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1472, 1467 มาใช้แก่คู่สมรส ซึ่งสมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือน ถึงการสมรสหรือสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) ยกเว้นไว้แล้วนั้นแต่อย่างใด
ฟ้องโจทก์ขอให้แยกสินบริคณห์ถ้าสั่งแยกไม่ได้ จึงขอให้สั่งให้โจทก์มีชื่อร่วมในโฉนด ไม่เป็นคำขอที่ขัดกันและไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่ได้ขอทั้ง 2 อย่าง โจทก์ขออย่างแรกก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ จึงขออย่างที่สอง