พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำวินิจฉัยที่ 2/2568
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรม-ศาลปกครอง: ข้อพิพาทระหว่างเอกชนเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท แม้มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง
คดีนี้ นาย ภ. ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาย ต. โจทก์ ยื่นฟ้อง นางสาว ส. ที่ 1 นางสาว พ. ที่ 2 นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ 3 จำเลย ว่า จำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาย ต. (เจ้ามรดก) ได้นำแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่มีลายมือชื่อของนาย ต. ซึ่งเสียชีวิตแล้ว ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ กรอกข้อความยื่นต่อจำเลยที่ 3 พร้อมเอกสารคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน เพื่อให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน และแก้ไขเพิ่มเติมหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ จากนาย ต. เป็นจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ต่อจำเลยที่ 3 โดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนได้ตกลงยินยอมให้ หจก. ต. มอเตอร์ แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ ทำให้ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการให้กลับคืนดังเดิม และเพิกถอนการจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก.
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ได้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 3 ให้การว่า หนังสือมอบอำนาจมิได้กระทำในนามส่วนตัว การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง หจก. จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมและยังมีผลผูกพันและเป็นมรดกของนาย ต. ที่ตกทอดมายังโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีเพียงว่า การมอบอำนาจให้จดทะเบียน หจก. สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นคู่ความในคดีก็เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียน มิได้มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการมอบอำนาจอันเป็นประเด็นสำคัญ ข้อพิพาทจึงเป็นนิติกรรมในทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครสวรรค์พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และคำสั่งรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2561 ประกอบกฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. 2549 จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อพิพาทในคดีนี้ประเด็นหลักแห่งคดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้ว คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพชรบูรณ์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำฟ้องเป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ต. นำหนังสือมอบอำนาจของนาย ต. ที่ลงชื่อมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แต่สิ้นผลแล้วเนื่องจากความตายของผู้มอบอำนาจ กรอกข้อความไปยื่นต่อจำเลยที่ 3 เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ จากนาย ต. เป็นจำเลยที่ 1 และจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. โดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็น บจก. ซึ่งการรับจดทะเบียนของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยไม่มีอำนาจ ทั้งนี้โดยโจทก์มีเจตนาให้สถานะของ หจก. ต. มอเตอร์ ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการกลับคืนดังเดิม กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 เข้ามาในคดีนี้ด้วย ก็เนื่องจากจำเลยที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ และการจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาตามคำขอของโจทก์หรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสำคัญ ทั้งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 3 ว่ากระทำการโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อันจะเข้าลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อคดีนี้ข้อพิพาทสำคัญเป็นกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ได้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้ยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 3 ให้การว่า หนังสือมอบอำนาจมิได้กระทำในนามส่วนตัว การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง หจก. จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมและยังมีผลผูกพันและเป็นมรดกของนาย ต. ที่ตกทอดมายังโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีเพียงว่า การมอบอำนาจให้จดทะเบียน หจก. สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นคู่ความในคดีก็เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียน มิได้มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการมอบอำนาจอันเป็นประเด็นสำคัญ ข้อพิพาทจึงเป็นนิติกรรมในทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครสวรรค์พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และคำสั่งรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2561 ประกอบกฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. 2549 จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อพิพาทในคดีนี้ประเด็นหลักแห่งคดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้ว คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพชรบูรณ์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำฟ้องเป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชน โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ต. นำหนังสือมอบอำนาจของนาย ต. ที่ลงชื่อมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แต่สิ้นผลแล้วเนื่องจากความตายของผู้มอบอำนาจ กรอกข้อความไปยื่นต่อจำเลยที่ 3 เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ จากนาย ต. เป็นจำเลยที่ 1 และจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. โดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็น บจก. ซึ่งการรับจดทะเบียนของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยไม่มีอำนาจ ทั้งนี้โดยโจทก์มีเจตนาให้สถานะของ หจก. ต. มอเตอร์ ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการกลับคืนดังเดิม กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 เข้ามาในคดีนี้ด้วย ก็เนื่องจากจำเลยที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ หจก. ต. มอเตอร์ และการจดทะเบียนแปรสภาพ หจก. เป็น บจก. ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาตามคำขอของโจทก์หรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสำคัญ ทั้งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 3 ว่ากระทำการโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อันจะเข้าลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อคดีนี้ข้อพิพาทสำคัญเป็นกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และผลกระทบจากการฟื้นฟูกิจการบริษัท
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า การเรียกประชุมหรือการประชุมและการลงมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท โดยมีคำขอให้เพิกถอนกับมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำนวนทุนกลับคืนสู่สภาพเดิม กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมตินั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย โดยใช้ภูมิลำเนาของบริษัทเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของกรรมการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ที่ตั้งที่ทำการจำเลยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นหลักแหล่งที่ทำการงานตามปกติของจำเลยที่ 2 ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีที่อยู่แยกต่างหากจากภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 แต่ในการติดต่อกับโจทก์จำเลยที่ 2 ใช้ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 เป็นสถานที่ติดต่อทุกครั้ง กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้เลือกเอาภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 เป็นภูมิลำเนาสำหรับการติดต่อกับโจทก์โดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ทำการของจำเลยที่ 1 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 2 ใช้สำหรับการติดต่อกับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้และแจ้งบังคับจำนองไปยังที่ตั้งที่ทำการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุต่างๆ หลายนัดและศาลชั้นต้นได้เคยตักเตือนและกำชับจำเลยที่ 2 ว่ามีพฤติการณ์การดำเนินคดีในลักษณะประวิงคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว และเมื่อกำหนดนัดสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 2 ก็ยังขอเลื่อนคดีอีกถึง 2 นัดติดต่อกัน และในนัดสืบพยานจำเลยต่อมาจำเลยที่ 2 คงอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียวแล้วแถลงว่าเตรียมพยานมาเท่านี้และขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลืออีก 3-7 ปาก ในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตโดยกำชับให้จำเลยที่ 2 นำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จในวันนัด ครั้นถึงวันนัดจำเลยที่ 2 นำผู้ตรวจสอบบัญชีของจำเลยที่ 2 มาศาล แต่กลับแถลงขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าพยานลืมเอกสารซึ่งต้องใช้ประกอบการเบิกความไว้ในรถแท็กซี่ และไม่นำพยานที่เหลืออยู่มาสืบในวันนัดนั้นตามที่ศาลชั้นต้นได้กำชับไว้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิได้นำพาที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นส่อเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 2 นั้นชอบแล้ว
ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุต่างๆ หลายนัดและศาลชั้นต้นได้เคยตักเตือนและกำชับจำเลยที่ 2 ว่ามีพฤติการณ์การดำเนินคดีในลักษณะประวิงคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว และเมื่อกำหนดนัดสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 2 ก็ยังขอเลื่อนคดีอีกถึง 2 นัดติดต่อกัน และในนัดสืบพยานจำเลยต่อมาจำเลยที่ 2 คงอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียวแล้วแถลงว่าเตรียมพยานมาเท่านี้และขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลืออีก 3-7 ปาก ในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตโดยกำชับให้จำเลยที่ 2 นำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จในวันนัด ครั้นถึงวันนัดจำเลยที่ 2 นำผู้ตรวจสอบบัญชีของจำเลยที่ 2 มาศาล แต่กลับแถลงขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าพยานลืมเอกสารซึ่งต้องใช้ประกอบการเบิกความไว้ในรถแท็กซี่ และไม่นำพยานที่เหลืออยู่มาสืบในวันนัดนั้นตามที่ศาลชั้นต้นได้กำชับไว้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิได้นำพาที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นส่อเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 2 นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนมติผู้ถือหุ้น ต้องฟ้องบริษัทโดยตรง แม้การจดทะเบียนกระทำผ่านกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1157 บัญญัติว่า "การตั้งกรรมการขึ้นใหม่นั้น ตั้งใครเมื่อใด ท่านให้นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ตั้งจงทุกครั้ง" การที่บริษัท ว. โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจของกรรมการตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนไว้ จึงเป็นกรณีที่บริษัท ว. เป็นผู้นำความเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นใหม่ไปจดทะเบียนตามบทกฎหมายดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่า การกระทำของบริษัท ว. เป็นการกระทำที่มิชอบทำให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทได้รับความเสียหายเพราะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก็ชอบที่จะ ต้องฟ้องบริษัท ว. ในฐานะที่กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ให้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยตรง เพราะแม้การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะได้กระทำโดยจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นเป็นจำเลยกรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์มาในฟ้อง อันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ตลอดทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะต้องรับฟ้องคดีไว้เพื่อรอให้บริษัท ว. ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพราะไม่อาจบังคับได้ตามคำฟ้องมาแต่ต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047-4053/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และการฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างเอง หรือเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งเงินชำระบัญชีบริษัทก่อนชำระภาษี: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้รับส่วนแบ่ง
ขณะที่มีการชำระบัญชีอยู่บริษัท ท. ยังเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างกรมสรรพากรโจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง เนื่องจากเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องครบถ้วน การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ท. แบ่งเงินอันเป็นสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของบริษัทให้แก่จำเลยไป ไม่ว่าจำเลยจะรับไว้โดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 ถือได้ว่าจำเลยได้รับเงินส่วนแบ่งมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้จึงถือว่าเป็นลาภมิควรได้ที่จำเลยจำต้องคืนให้แก่บริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของเงินตามมาตรา 406
บริษัท ท. หรือผู้ชำระบัญชีมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงิน ส่วนแบ่งซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท ท. ในฐานลาภมิควรได้และหากบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้น เป็นเหตุให้กรมสรรพากรโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้โดยโจทก์จะต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 และมาตรา 234แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยรับไปโดยมิชอบหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง รวมทั้งโจทก์มิได้ขอหมายเรียกบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดี จึงต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์เองโดยตรง ซึ่งโจทก์หามีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยเช่นนั้นไม่ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมหรือตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้คืนให้แก่โจทก์
บริษัท ท. หรือผู้ชำระบัญชีมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงิน ส่วนแบ่งซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท ท. ในฐานลาภมิควรได้และหากบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้น เป็นเหตุให้กรมสรรพากรโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้โดยโจทก์จะต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 และมาตรา 234แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยรับไปโดยมิชอบหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง รวมทั้งโจทก์มิได้ขอหมายเรียกบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดี จึงต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์เองโดยตรง ซึ่งโจทก์หามีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยเช่นนั้นไม่ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมหรือตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้คืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10206/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในสัญญาที่ผูกพันบริษัทหลังพ้นตำแหน่ง
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในช่วงเวลาระหว่างวันที่โจทก์รับจ้างตกแต่งร้านค้าให้จำเลยที่ 1 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2538 จนถึงวันที่ทำการตกแต่งร้านค้าเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 และได้ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2540 อยู่ในเวลาสองปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างตามฟ้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจเงินทุนฯ แม้ไม่ได้ปฏิบัติงานประจำ และประเด็นอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทและเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทดังกล่าวจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบใน แต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่บริษัทที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบได้ไม่
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ มิใช่เป็นบทบังคับให้ คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ทั้งการที่คณะกรรมการดังกล่าวไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 144 ไม่ เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการให้รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ตามบทมาตราต่าง ๆ และมาตรา 75 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 75 วรรคหนึ่งบัญญัติให้รับผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ส่วนวรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงห้าปี และตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) บัญญัติถึงความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีให้มีอายุความสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2531 โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ มิใช่เป็นบทบังคับให้ คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ทั้งการที่คณะกรรมการดังกล่าวไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 144 ไม่ เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการให้รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ตามบทมาตราต่าง ๆ และมาตรา 75 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 75 วรรคหนึ่งบัญญัติให้รับผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ส่วนวรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงห้าปี และตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) บัญญัติถึงความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีให้มีอายุความสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2531 โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาเช่าซื้อ: การลงลายมือชื่อไม่ครบถ้วนของกรรมการบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ค้ำประกันร่วมรับผิด จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะ ประเด็นว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะหรือไม่จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ต้องมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความว่าสัญญาเช่าซื้อรถยนต์สมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ การที่ศาลล่างหยิบยกปัญหาความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อมาวินิจฉัย หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่
สัญญาเช่าซื้อในช่องเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อมีลายมือชื่อบุคคลอยู่สองคนและประทับตราของบริษัทโจทก์ ลายมือชื่อหนึ่งในช่องเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อเป็นของ ส. กรรมการผู้หนึ่งแต่อีกลายมือชื่อหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นลายมือชื่อของผู้ใดและจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของนายทะเบียนหรือไม่เมื่อตามหนังสือรับรองบริษัทโจทก์กำหนดว่าต้องมีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทได้ ถือได้ว่าไม่มีการลงชื่อโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนโดยชอบ สัญญาเช่าซื้อจึงมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่าซื้อในช่องเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อมีลายมือชื่อบุคคลอยู่สองคนและประทับตราของบริษัทโจทก์ ลายมือชื่อหนึ่งในช่องเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อเป็นของ ส. กรรมการผู้หนึ่งแต่อีกลายมือชื่อหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นลายมือชื่อของผู้ใดและจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของนายทะเบียนหรือไม่เมื่อตามหนังสือรับรองบริษัทโจทก์กำหนดว่าต้องมีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทได้ ถือได้ว่าไม่มีการลงชื่อโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนโดยชอบ สัญญาเช่าซื้อจึงมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิจารณาเจตนาการกระทำ และความรับผิดของนายจ้างและบริษัท
คดีแรงงาน โจทก์หรือจำเลยอาจฟ้องหรือให้การเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ทั้งการดำเนินคดีควรเป็นไปโดยสะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ
เหตุที่จำเลยเลิกจ้างเป็นเรื่องที่โจทก์ตวาดใส่จำเลยว่า "หยิบขึ้นมาทำไม" จำเลยโกรธจึงเลิกจ้างโจทก์ ถ้อยคำดังกล่าววิญญูชนโดยทั่วไปในฐานะนายจ้างอาจไม่พอใจบ้างที่ถูกลูกจ้างกล่าวทำนองทักท้วงเช่นนั้น และนายจ้างอาจได้รับความเสียหายบ้างในด้านการบังคับบัญชา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งย่อมมีการสั่งงาน สอบถาม ถกเถียง และโต้แย้งกันเป็นปกติวิสัย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวถ้อยคำนั้นโดยมีเจตนาหรือประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
โจทก์ฟ้อง บ. ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อ. และบริษัท อ. ในฐานะนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ในชั้นพิจารณาจำเลยยอมรับว่าเป็นกรรมการบริษัท อ. และเป็นนายจ้าง ทั้งต่อสู้คดีโดยอ้างความผิดที่โจทก์ได้กระทำซึ่งเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย บ. กับบริษัท อ. จึงต่างเป็นนายจ้างของโจทก์และมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีนี้ด้วย และเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
เหตุที่จำเลยเลิกจ้างเป็นเรื่องที่โจทก์ตวาดใส่จำเลยว่า "หยิบขึ้นมาทำไม" จำเลยโกรธจึงเลิกจ้างโจทก์ ถ้อยคำดังกล่าววิญญูชนโดยทั่วไปในฐานะนายจ้างอาจไม่พอใจบ้างที่ถูกลูกจ้างกล่าวทำนองทักท้วงเช่นนั้น และนายจ้างอาจได้รับความเสียหายบ้างในด้านการบังคับบัญชา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งย่อมมีการสั่งงาน สอบถาม ถกเถียง และโต้แย้งกันเป็นปกติวิสัย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวถ้อยคำนั้นโดยมีเจตนาหรือประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
โจทก์ฟ้อง บ. ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อ. และบริษัท อ. ในฐานะนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ในชั้นพิจารณาจำเลยยอมรับว่าเป็นกรรมการบริษัท อ. และเป็นนายจ้าง ทั้งต่อสู้คดีโดยอ้างความผิดที่โจทก์ได้กระทำซึ่งเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย บ. กับบริษัท อ. จึงต่างเป็นนายจ้างของโจทก์และมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีนี้ด้วย และเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว