คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกกล่าวหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดรองการใช้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปีนับจากวันบอกกล่าวหนี้
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ในรูปของบัตรเครดิต โดยลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ ซึ่งการให้บริการดังกล่าวโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป แม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าว เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)
จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แก่โจทก์และบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2536 และพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 พ้นกำหนด2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, การยินยอมโดยปริยาย, และการกำหนดค่าทนายความในคดีแพ่ง
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก, สัญญาเงินกู้, การบอกกล่าวหนี้, การชำระหนี้, มาตรา 203
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยจึงไม่อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ การเรียกให้ชำระหนี้เงินยืมซึ่งมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคแรก มิใช่เป็นการเรียกให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปตามมาตรา 652 เมื่อสัญญากู้ยืมมิได้กำหนดวันชำระคืนโจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายรถยนต์ที่ถูกลักมา และการบอกกล่าวหนี้ กรณีผู้ขายไม่สามารถส่งมอบรถได้
จำเลยไม่มีอำนาจขายรถยนต์ที่ถูกลักมาให้โจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ไป หากโจทก์และผู้ซื้อรถยนต์ต่อจากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจมีความผิดในทางอาญาและโจทก์ ต้องคืนเงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อเพราะโจทก์ผู้ขายไม่สามารถ จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อไปยังผู้ซื้อได้ และไม่มีเหตุจะอ้าง ยึดถือเงินค่ารถยนต์ของผู้ซื้อไว้ กรณีไม่เป็นการยอมตามที่ บุคคลภายนอกเรียกร้อง ความรับผิดของจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความสามเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 481 แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความสิบปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มิได้บอกกล่าวก่อนฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ แต่การที่ ช. บุตรหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์โทรศัพท์แจ้งจำเลยว่ารถยนต์ถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจยึดไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกลักมา จำเลยทราบแล้วนิ่งเฉยจนโจทก์ยื่นฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์ได้ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว คำฟ้องโจทก์เป็นการบอกกล่าวจำเลยอยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และหนังสือยินยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การบอกกล่าวหนี้ และการบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่เคลือบคลุม และการบอกกล่าวถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมาย 33 และ 34 ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ โดยละเอียดคำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่า แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2525แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง 3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์อีก 3 ครั้ง การเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงิน เมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์
ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลย แต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตาม แต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไป การไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน การบอกกล่าวหนี้ และยินยอมของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ ม. โดย ให้ผ่อนชำระราคาต่อมา ม. โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ก. โดย ล. ยินยอม แล้ว ก. โอนขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ว.อีกทอดหนึ่ง ในการโอนขายสิทธิกันระหว่างก. กับ ว. นั้น ได้ทำหนังสือสัญญาโอนกันตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อหน้า ล. และจำเลย จำเลยในฐานะตัวแทนของ ล. ได้ลงชื่อเป็นพยานในเอกสารหมาย จ.2 ด้วย เมื่อ ว. รับโอนสิทธิมาแล้วก็ได้ผ่อนชำระราคาที่ดินต่อจากผู้จะซื้อคนก่อน ๆ ให้แก่จำเลย จำเลยก็รับชำระและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ ว. ดังนี้ถือได้ว่าเอกสารหมาย จ.2 เป็นหนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้ไปยัง ล.ลูกหนี้และล. ได้ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 แล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เป็นเพียงเหตุสันนิษฐาน
การบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนไม่น้อยกว่าสองครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) นั้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวข้อหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ก่อนฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: การบอกกล่าวหนี้ก่อนฟ้องไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เป็นเพียงเหตุสันนิษฐาน
เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ เมื่อบรรยายฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511กล่าวคือ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ไม่น้อยกว่า 30,000 บาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จะอยู่ระหว่างบังคับคดีในหนี้รายเดียวกันในคดีแพ่งสามัญ
การบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนไม่น้อยกว่าสองครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน ตามมาตรา 8(9) นั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับว่าโจทก์ต้องบอกกล่าวเช่นนั้นก่อนฟ้อง
of 2