พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการบอกล้างนิติกรรม สภาพไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่รวมพิจารณาได้
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีเหตุบอกล้างการให้โดยเสน่หาและให้ถอนอายัด ขอให้ศาลยกฟ้องส่วนฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่จำเลยขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสิ่งปลูกสร้างและค่าความเสียหายเดือดร้อนต่าง ๆ ที่จำเลยได้รับเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถ้าศาลให้เพิกถอนคืนการให้โดยเสน่หา ฟ้องแย้งที่เรียกค่าสิ่งปลูกสร้างและค่าเสียหาย จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม มาตรา 179 วรรคท้าย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: คุ้มครองสิทธิคู่สมรสจากอิทธิพลเสน่หาหรือความเสียเปรียบ
โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ตกลงยกเงินฝากประจำส่วนหนึ่งอันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์จำนวน 7,500,000 บาท ซึ่งอยู่ในบัญชีเงินฝากที่โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อร่วมให้แก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้สิทธิสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ภายในเวลาที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่การบอกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างนิติกรรมให้เงิน 7,500,000 บาท ต่อจำเลยแล้วในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกันอยู่ การบอกล้างดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวอันเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม โดยเหตุแห่งการบอกล้างนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ไม่พอใจจำเลย โจทก์ย่อมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้เงินดังกล่าวแก่จำเลยได้ จึงไม่ใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: การใช้สิทธิโดยสุจริต
โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อร่วมในบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งยื่นคำขอเปิดระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นคู่สมรส โดยโจทก์ตกลงยกเงินฝากที่เป็นสินส่วนตัวของโจทก์ในบัญชีดังกล่าวจำนวน 7,500,000 บาท ให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ให้สิทธิสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมการให้เงินต่อจำเลย ซึ่งเป็นการกระทำในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันไว้ในระหว่างสมรส โดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม เหตุแห่งการบอกล้างนั้นจึงขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ไม่พอใจจำเลย โจทก์ย่อมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมได้ ไม่ใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้สุจริตยึดทรัพย์ได้ แม้เจ้าของเดิมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ถูกฉ้อฉล
คดีก่อน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อน อันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินด้วยกลฉ้อฉลและการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะ รวมถึงผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่สาม
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงว่าจะชำระราคาที่ดินพิพาทด้วยเงินสด และจำเลยที่ 1 มีฐานะดี เช็คที่นาย ย. พวกของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายก็จะเรียกเก็บเงินได้ หากจำเลยที่ 1 กับพวกไม่หลอกลวงเช่นนี้โจทก์จะไม่ทำสัญญาซื้อขายด้วย ดังนี้ การแสดงเจตนาขายที่ดินพิพาทของโจทก์ถือได้ว่าเกิดขึ้นเพราะถูกกลฉ้อฉล ทำให้นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนย่อมมีผลเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม ทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทโดยการรับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามสัญญาขายฝากขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้บอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลหาได้ไม่ นิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทโดยการรับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามสัญญาขายฝากขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้บอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลหาได้ไม่ นิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลในการทำประกันชีวิตโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ถือเสมือนการแจ้งโดยผู้เอาประกันภัยเอง และการบอกล้างนิติกรรม
โจทก์ให้ถ้อยคำต่อจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ภ. อายุ 4 ปีเศษ ดังนี้ การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1570 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบอกล้างนิติกรรมโมฆียะของผู้สืบสันดานเมื่อผู้ทำนิติกรรมยังมีชีวิตอยู่
บุคคลที่จะบอกล้างโมฆียะซึ่งผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ได้แสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 เดิม คือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือทายาทของบุคคลเช่นว่านั้นคำว่าทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีได้ก็ต่อเมื่อผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แสดงเจตนาโดยวิปริตได้แก่ถึงความตายลง ดังนั้นในขณะที่ ต. ผู้ถูกกลฉ้อฉลยังมีชีวิตอยู่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้สืบสันดานของต. เท่านั้น จึงยังไม่เป็นทายาทของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีอำนาจบอกล้างนิติกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างได้
จำเลยซื้อที่ดินโดยหลงเชื่อตามที่โจทก์ฉ้อฉลว่าที่ดินติดถนนสาธารณะ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ความจริงที่ดินมิได้อยู่ติดถนนสาธารณะ ถือว่าจำเลยแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อ ทำให้สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมเช่าซื้อเนื่องจากกลฉ้อฉล ต้องทำภายในอายุเวลาที่กฎหมายกำหนด หากพ้นเวลาแล้วสิทธิบอกล้างเป็นอันสูญเสีย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำกลฉ้อฉล โจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว ขอให้บังคับให้จำเลยคืนเงินที่ได้รับไปจากโจทก์ ปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาว่าโจทก์ทราบเหตุแล้วตั้ง 4-5 ปี แต่เพิ่งจะยกมาเป็นข้ออ้างในการบอกล้างนิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นการพ้นเวลาที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้ว ถือว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพอที่จะฟ้องอย่างคนอนาถาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมเช่าซื้อเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ฟ้องคดีอนาถาไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำกลฉ้อฉล โจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว ขอให้บังคับให้จำเลยคืนเงินที่ได้รับไปจากโจทก์ ปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาว่าโจทก์ทราบเหตุแล้วตั้ง 4-5 ปี แต่เพิ่งจะยกมาเป็นข้ออ้างในการบอกล้างนิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นการพ้นเวลาที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้ว ถือว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพอที่จะฟ้องอย่างคนอนาถาได้