พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: ผลของการลดระยะเวลาบอกล้างโดยจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช.เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 191 (เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน2529 ฉะนั้น เมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 191 (เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน2529 ฉะนั้น เมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: ระยะเวลาการบอกล้างและการมีผลทางกฎหมาย
หนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมที่ผู้รับประกันภัยมีไปยังผุ้รับประโยชน์นั้น มีผลนับแต่เวลาที่ผู้รับประโยชน์ได้รับหนังสือดังกล่าว
เมื่อผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะไปยังผู้รับประโยชน์ภายหลังเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดใช้เงินให้ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาข้างต้น
เมื่อผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะไปยังผู้รับประโยชน์ภายหลังเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดใช้เงินให้ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตต้องทำภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ทราบมูลเหตุ
จำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2525แต่หนังสือไปถึงผู้รับคือโจทก์เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2525 ป.พ.พ.มาตรา 130 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าการแสดงเจตนาทำให้บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทางย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นต้นไป ดังนั้นหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ของจำเลยย่อมมีผลนับแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2525 เป็นต้นไป จึงพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ การบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ดังนี้จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญาประกันชีวิต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตต้องกระทำภายใน 1 เดือนนับแต่ทราบเหตุ
หนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมที่ผู้รับประกันภัยมีไปยังผุ้รับประโยชน์นั้น มีผลนับแต่เวลาที่ผู้รับประโยชน์ได้รับหนังสือดังกล่าว เมื่อผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะไปยังผู้รับประโยชน์ภายหลังเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดใช้เงินให้ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาข้างต้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมต้องแสดงเจตนาชัดเจน การฟ้องอาญาไม่ใช่การบอกล้าง
การบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น คู่กรณีฝ่ายที่มีสิทธิบอกล้างจะต้องแสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137,140 การที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงก็โดยประสงค์จะให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ในทางอาญาจึงไม่เป็นการแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ แม้ได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรม สิทธิติดตามทรัพย์สินตามกฎหมาย
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่ ก. กับพวก ไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส. และ ก.กับพวก เป็นคดีแรก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก.กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส.กับ ก.และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสีย ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส.กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรก การที่ ก. กับพวก โอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก็ดีหรือจำเลยที่ 1 ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดีเป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์-หนี้ส่วนตัว: ยึดเรือนพิพาทไม่ได้หากผู้ร้องไม่ยินยอมและบอกล้างโมฆียะกรรม
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่จำเป็นต้องมีแบบพิธี หากมีเจตนาไม่ให้มีผลผูกพัน
การบอกล้างนิติกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดหรือบังคับไว้ว่าจะต้องทำอย่างไรด้วยแบบพิธีอย่างไร
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่จำเป็นต้องมีแบบพิธี หากแสดงเจตนาชัดเจน
การบอกล้างนิติกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดหรือบังคับไว้ว่าจะต้องทำอย่างไรด้วยแบบพิธีอย่างไร
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่จำเป็นต้องมีแบบพิธีเฉพาะ โจทก์แสดงเจตนาไม่ให้เกิดผลผูกพัน ถือเป็นการบอกล้าง
การบอกล้างนิติกรรมนั้น กฎหมายมิได้กำหนดหรือบังคับไว้ว่าจะต้องทำอย่างไรด้วยแบบพิธีอย่างไร
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
แม้หนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยจะมีใจความว่าให้จำเลยถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด แล้วเอาที่ดินตามโฉนดนั้นมาแบ่งปันให้พี่น้องจำเลยก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ไม่ให้นิติกรรม คือการลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมีผลใช้ได้ต่อไป ซึ่งจะบังเกิดผลอย่างเดียวกับการบอกล้างโมฆียะกรรม ดังนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว