พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6783/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: อำนาจบริหารเต็มและการไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาทำให้ไม่เข้าข่ายลูกจ้าง
ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้างซึ่งต้องทำงานตามที่นายจ้างมอบหมายในวันเวลาทำงานที่นายจ้างกำหนด และต้องปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากฝ่าฝืนนายจ้างลงโทษได้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มาตรา 119 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อโจทก์มีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการและไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์บริหารกิจการของจำเลยที่ 1 ไปตามที่เห็นสมควร เพียงแต่รายงานผลการทำงานให้กรรมการอื่นทราบเดือนละครั้ง ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทำงานให้บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6877/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลสมควรจากการขาดความไว้วางใจจากความบกพร่องในการบังคับบัญชา
สัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่มีเหตุที่จำเลยจะไล่โจทก์ออกจากงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันที่มีคำสั่งเลิกจ้างจนถึงวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 เป็นเวลา 44 วัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชอบที่จะได้รับสินจ้างหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายรวม 60 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 วรรคสอง และชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน แต่ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมิได้ใช้บังคับ อุทธรณ์ของโจทก์พออนุโลมได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ทวิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลตามที่ข้อ 46 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 1 เดือน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรับรองสิทธิดังกล่าวไว้
การที่มีผู้ร่วมกันยักยอกเงินค่าสุราต่างประเทศของจำเลยไป แม้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือสืบเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็ตาม แต่ผู้ที่ร่วมกันยักยอกเงินดังกล่าวเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นภายในหน่วยงานที่โจทก์รับผิดชอบย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าการปฏิบัติหน้าที่ภายในหน่วยงานของโจทก์ต้องมีข้อบกพร่องและทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจโจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเป็นลูกจ้างต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงหลายด้านประกอบกัน
การวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใครเป็นผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องพิจารณาว่าผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือไม่ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้นทำในนามนิติบุคคลหรือในฐานะส่วนตัว งานที่ทำนั้นเป็นของใคร การทำงานของโจทก์มีอิสระหรือต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร ใครเป็นผู้จ่ายเงินแก่โจทก์ อะไรบ้าง จำนวนแน่นอนหรือไม่ กำหนดจ่ายเมื่อใด และจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานหรือเพื่อตอบแทนผลสำเร็จของงาน
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และการไม่มีลักษณะบังคับบัญชาในสัญญาจ้าง
จำเลยให้การว่า อ.ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ.เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้วตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงาน วันเวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์และการลงโทษซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและมีชื่อ อ.ในทะเบียนลูกจ้างโจทก์ แต่กลับได้ความว่า อ.รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้าน อ.และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ.แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ.ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์เป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ.ดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และความรับผิดในความเสียหายจากการขับรถ แม้มีสายบังคับบัญชาแต่ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
จำเลยที่1เป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีและจำเลยที่2ดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจนครบาล7มีนบุรีต่างมีอาชีพรับราชการจำเลยที่1เป็นแต่เพียงผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่2ตามสายการบังคับบัญชาเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขับรถยนต์ให้จำเลยที่2บ้างก็น่าจะเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัยและการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์ของจำเลยที่2อาสาไปส่งจำเลยที่4ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีนั้นก็เป็นเรื่องเอื้อเฟื้อส่วนตัวของจำเลยที่1ข้อเท็จจริงเช่นนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อโจทก์ที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง ต้องพิสูจน์ถึงความประมาทเลินเล่อ
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่ง อันเนื่องมาจากการทุจริตผู้ใต้บังคับบัญชานั้น หาใช่เพราะเหตุของการเป็นผู้บังคับบัญชาไม่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 5 ดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจภูธร มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับทางด้านการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธร เป็นผู้ตรวจสอบแบบรายงานการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานตำรวจ ลงนามเป็นผู้เบิกเงินในบัญชีหน้างบใบสำคัญและลงนามเป็นผู้มอบฉันทะตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวขึ้นโดยไม่ปรากฏว่ามีระเบียบให้จำเลยที่ 5 ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีหนังสือหรือคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติราชการหรือไม่ ทั้งไม่มีระเบียบว่าก่อนลงอนุมัติจะต้องปฏิบัติอย่างไร การเบิกเงินแต่ละครั้งมิได้มีเฉพาะรายที่ถูกปลอมลายมือชื่อเท่านั้น หากแต่มีผู้เบิกคราวละ 20 - 30 ราย ลายมือชื่อผู้กำกับการตำรวจภูธรที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปราชการที่แท้จริงและที่ถูกปลอมก็คล้ายคลึงกัน ก่อนลงนามจำเลยที่ 5 ได้ตรวจว่ามีลายมือชื่อผู้ช่วยสมุห์บัญชีและสมุห์บัญชีลงนามรับรองความถูกต้องแล้ว ทั้งได้ตรวจว่ามีลายมือชื่อกำกับการตำรวจภูธรมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติราชการแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2
จำเลยที่ 5 ดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจภูธร มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับทางด้านการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธร เป็นผู้ตรวจสอบแบบรายงานการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานตำรวจ ลงนามเป็นผู้เบิกเงินในบัญชีหน้างบใบสำคัญและลงนามเป็นผู้มอบฉันทะตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวขึ้นโดยไม่ปรากฏว่ามีระเบียบให้จำเลยที่ 5 ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีหนังสือหรือคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติราชการหรือไม่ ทั้งไม่มีระเบียบว่าก่อนลงอนุมัติจะต้องปฏิบัติอย่างไร การเบิกเงินแต่ละครั้งมิได้มีเฉพาะรายที่ถูกปลอมลายมือชื่อเท่านั้น หากแต่มีผู้เบิกคราวละ 20 - 30 ราย ลายมือชื่อผู้กำกับการตำรวจภูธรที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปราชการที่แท้จริงและที่ถูกปลอมก็คล้ายคลึงกัน ก่อนลงนามจำเลยที่ 5 ได้ตรวจว่ามีลายมือชื่อผู้ช่วยสมุห์บัญชีและสมุห์บัญชีลงนามรับรองความถูกต้องแล้ว ทั้งได้ตรวจว่ามีลายมือชื่อกำกับการตำรวจภูธรมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติราชการแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง ต้องพิสูจน์ประมาทเลินเล่อ
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่ง อันเนื่องมาจากการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชานั้น หาใช่เพราะเหตุของการเป็นผู้บังคับบัญชาไม่ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 5 ดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจภูธรมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับทางด้านการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธร เป็นผู้ตรวจสอบแบบรายงานการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานตำรวจลงนามเป็นผู้เบิกเงินในบัญชีหน้างบใบสำคัญและลงนามเป็นผู้มอบฉันทะตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวขึ้นโดยไม่ปรากฏว่ามีระเบียบให้จำเลยที่ 5ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีหนังสือหรือคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติราชการหรือไม่ ทั้งไม่มีระเบียบว่าก่อนลงนามอนุมัติจะต้องปฏิบัติอย่างไร การเบิกเงินแต่ละครั้งมิได้มีเฉพาะรายที่ถูกปลอมลายมือชื่อเท่านั้น หากแต่มีผู้เบิกคราวละ 20-30 ราย ลายมือชื่อผู้กำกับการตำรวจภูธรที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปราชการที่แท้จริงและที่ถูกปลอมก็คล้ายคลึงกัน ก่อนลงนามจำเลยที่ 5 ได้ตรวจว่ามีลายมือชื่อผู้ช่วยสมุห์บัญชี และสมุห์บัญชีลงนามรับรองความถูกต้องแล้ว ทั้งได้ตรวจว่าลายมือชื่อผู้กำกับการตำรวจภูธรผู้มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติราชการแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากการใช้ลูกจ้างในบังคับบัญชาทำงานส่วนตัว
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหาร ในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่ง เป็นเวลานานประมาณ 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น เกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ 47(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเมื่อลูกจ้างบังคับบัญชาลูกจ้างอื่นกระทำผิดเสียหายต่อบริษัท
การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมนั้น จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป การที่ ธ. ลูกจ้างจำเลยและอยู่ใต้บังคับบัญชาโจทก์ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยไปขายสินค้า ส่งสินค้า เรียกเก็บเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ตนมีหุ้นอยู่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย โจทก์ได้รู้เห็นการกระทำของ ธ. ที่ทำให้จำเลยเสียหาย ทำให้จำเลยมีความระแวงสงสัยและไม่ไว้ใจในตัวโจทก์ กับการทำงานของโจทก์มีผลงานไม่เป็นที่พอใจจำเลย ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนาจารและทำร้ายร่างกาย: กรรมเดียว ความผิดฐานอนาจารครอบคลุม ความสัมพันธ์บังคับบัญชาไม่เข้าข่ายควบคุมตามหน้าที่ราชการ คดีขาดอายุความ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำเป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่