พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำจากการกระทำต่อเนื่องในคดีบุกรุกป่า หากโจทก์ไม่บังคับคดีเดิม
จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุตลอดมา หาได้ออกไปแล้วกลับเข้ายึดถือครอบครองใหม่ไม่ แม้จะฟังได้ว่า จำเลยแผ้วถางต้นไม้แล้วปลูกมันสำปะหลังก็เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากการกระทำความผิดในคดีก่อน คือการยึดถือครอบครองที่เกิดเหตุที่ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การแผ้วถางต้นไม้และขุดดินปลูกมันสำปะหลังเป็นการแสดงออกว่าจำเลยยังคงเป็นผู้ยึดถือครอบครองอยู่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำลายและทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติขึ้นใหม่ การที่โจทก์มิได้บังคับคดีให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่เกิดเหตุในคดีก่อน แต่กลับฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกันนี้อีก ทั้งๆ ที่เป็นการกระทำต่อเนื่องจากคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าเพื่อสร้างวัด: ความรับผิดของวัดและเจ้าอาวาส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง พระเทพปัญญามุนีไม่ใช่ผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดและมีพรรษาอาวุโสสูงสุดของวัดจำเลยที่ 1 จึงต้องทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสคำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส จึงเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง ทั้งการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยโดยมิได้ระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลมาด้วยหรือระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลผิดตัว ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยผิดตัว
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกทำลายป่าสงวนฯ และการแก้ไขอัตราส่วนการจ่ายสินบนรางวัลให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นต้นน้ำลำธารในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยใช้เครื่องเลื่อยโซ่ก่นสร้างแผ้วถางป่าเป็นเนื้อที่ถึง 6 ไร่ เป็นการทำลายป่าและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธารอย่างกว้างขวาง อันเป็นเหตุอาจทำให้เกิดอุทกภัยและความแห้งแล้งเป็นผลเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนได้ จึงเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรงมากสมควรที่จะลงโทษสถานหนัก และจำเลยที่ 1ยังได้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฯ กับพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ อีกด้วยกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรจะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 กำหนดให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไข เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้ว ประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลตามกฎหมาย มิใช่ขอให้จ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าจึงต้องให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเลื่อยโซ่ของกลางที่ศาลสั่งริบ ตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7775/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้และบุกรุกป่า: ศาลแก้ไขโทษกระทงความผิดกรรมเดียว
ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานก่นสร้างแผ้วถางป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73 วรรคสอง และมาตรา 54,72 ตรี เมื่อเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 11,73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม กรณีโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วในคดีบุกรุกป่า
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 3 ปีแต่ให้ลงโทษปรับ 10,000 บาท แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากป่าก็มิใช่โทษที่ลงแก่จำเลย แต่เป็นการสั่งไปตามที่พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 72 ตรีให้อำนาจไว้ คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินจำนวน 19 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา แต่เป็นที่ดินมี ส.ค.1มาก่อนแล้วร่วม 3 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 16 ไร่ 20 ตารางวา จำเลยไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินหรือผู้มีสิทธิคนเดิมมาแสดง จึงเป็นที่ป่าตามความหมายในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1) เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดินอันเป็นที่ป่า จำเลยจึงมีความผิดฐานเข้ายึดถือครอบครองป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี การที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ทั้งหมดมีผู้อื่นครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนแล้วและเป็นที่ดินที่มีส.ค. 1 แล้วทั้งหมด จำเลยเพียงแต่ซื้อมาจากเจ้าของเดิมและสืบสิทธิครอบครองต่อ ไม่ใช่เป็นการเข้าครอบครองที่ป่าเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดบุกรุกป่า และการจำกัดขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตัดฟันไม้ แผ้วถางป่า ฯลฯ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ไม่ได้คงลงโทษได้เพียงเป็นผู้สนับสนุน
เมื่อโจทก์ไม่ด้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
เมื่อโจทก์ไม่ด้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่า: ที่รกร้างว่างเปล่าถือเป็นป่าตามกฎหมาย แม้ขึ้นทะเบียนสาธารณะประโยชน์
ที่พิพาทไม่ใช่เป็นที่ดินของจำเลย แต่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ย่อมต้องถือว่าเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1) เมื่อจำเลยเข้าทำการแผ้วถางป่านั้นซึ่งยังไม่เคยถูกแผ้วถางมาก่อน และเข้าไปยึดถือครอบครองที่ป่านั้นโดยมิได้รับอนุญาตย่อมต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี ตามที่มีแก้ไขเพิ่มเติมและประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 แม้โจทก์จะได้กล่าวในฟ้องว่าที่พิพาทนี้เป็นที่ดินซึ่งทางราชการสงวนไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ด้วย ข้อนี้ก็มิใช่องค์ประกอบความผิดของบทกฎหมายดังกล่าว การขึ้นทะเบียนที่ดินนี้ไว้เป็นที่สาธารณะประจำหมู่บ้านจะได้กระทำไปโดยถูกต้องครบถ้วนหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอทางแพ่งและอาญาในคดีบุกรุกป่า และการลดโทษที่ศาลฎีกาแก้ไขได้แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 4 นั้น เป็นคำขอในทางแพ่ง โจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำขอที่เป็นทางแพ่ง ศาลจึงไม่บังคับให้คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองภายหลังใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นคำขอในทางอาญา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยแผ้วถางในที่ตอนใด จึงไม่มีทางจะบังคับให้ได้
ปัญหาที่ว่าความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องกันนั้น เป็นปัญหาที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาในชั้นอุทธรณ์จะมายกขึ้นว่าในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.
ปัญหาที่ว่าความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องกันนั้น เป็นปัญหาที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาในชั้นอุทธรณ์จะมายกขึ้นว่าในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำผิดทางอาญาและผลกระทบของการโอนครอบครองต่อความผิดฐานบุกรุกป่าคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแผ้วถางทำลายป่าคุ้มครองและยึดถือเอาโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ความว่าที่พิพาทนี้ได้มีการโอนการครอบครองต่อ ๆ กันมาอันเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ ขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จึงลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า ฯ กับประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้ และเป็นคนละประเด็นกับข้อที่ว่า แม้มีผู้เคยมีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนและโอนต่อ ๆ มา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้เป็นป่าคุ้มครอง ก็ไม่ทำให้ที่นั้นหมดสภาพเป็นป่าคุ้มครอง (อ้างฎีกาที่ 922/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมฐานบุกรุกป่า: การพิสูจน์สภาพที่ดินเป็นป่า และเจตนาของเจ้าพนักงาน
เจ้าของเดิมเข้าบุกเบิกแผ้วถางป่าปลูกพืชผลมา 7 - 8 ปีแล้วโดยมิชอบด้วยกฎหมายที่ดิน เพราะเข้าบุกเบิกโดยพลการมิได้ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานและเมื่อประกาศใช้ประมวลกฏหมายที่ดิน ก็มิได้แจ้งการครอบครอง แม้ต่อมาจะมีผู้อื่นซื้อที่ดินนี้จากเจ้าของเดิมก็ยังต้องถือว่าที่ดินนี้คงมีสภาพเป็นป่าอยู่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4
พนักงานป่าไม้ปฏิบัติตามคำสั่งของป่าไม้เขตเข้าจับกุมผู้ไถพรวนดินและสุมเผากิ่งไม้อยู่ในเขตที่มีผู้แจ้งว่ามีการบุกรุกแผ้วถางป่าหาว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้-เมื่อไม่ปรากฎว่าเป็นการแกล้งจับหรือแจ้งข้อหาเท็จ ทั้งที่ดินนั้นก็ยังต้องถือว่ามีสภาพเป็นป่าอยู่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ดังนี้ จะหาว่าพนักงานป่าไม้นั้นกระผิดตามมาตรา 157,172,173 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหาได้ไม่.
พนักงานป่าไม้ปฏิบัติตามคำสั่งของป่าไม้เขตเข้าจับกุมผู้ไถพรวนดินและสุมเผากิ่งไม้อยู่ในเขตที่มีผู้แจ้งว่ามีการบุกรุกแผ้วถางป่าหาว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้-เมื่อไม่ปรากฎว่าเป็นการแกล้งจับหรือแจ้งข้อหาเท็จ ทั้งที่ดินนั้นก็ยังต้องถือว่ามีสภาพเป็นป่าอยู่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ดังนี้ จะหาว่าพนักงานป่าไม้นั้นกระผิดตามมาตรา 157,172,173 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหาได้ไม่.