คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิบัติตามคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล แม้คดีก่อนหน้าจะเกี่ยวข้องกับที่ดินเดียวกัน
แม้ที่ดินที่เป็นเหตุให้โจทก์จำเลยพิพาทกันในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งก็ตามแต่ก็เป็นคนละคดีกัน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีเรื่องนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มจำเลยก็ชอบที่จะต้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลชั้นต้นให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนที่จำเลยเห็นว่าจำเลยไม่ควรต้องวางเงินค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ซ้ำอีก เพราะได้วางเงินค่าขึ้นศาลในอีกคดีหนึ่งแล้ว ก็เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไว้แล้วฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวในภายหลังได้ แต่การที่จำเลยไม่นำเงินมาวางตามกำหนดโดยการขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกหลายครั้ง ทั้งมีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลอุทธรณ์เพิ่มด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงเวลาให้ชักช้า ถือได้ว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยปฏิบัติและจำเลยก็ได้ทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งศาลและการปฏิบัติตามคำสั่ง กรณีไม่อนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสอง หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมศาลและเงินที่จะต้องชำระ มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ถือว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป แต่คู่ความไม่ไปศาลในวันที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้งดการอ่านและให้ถือว่าได้อ่านคำสั่งให้คู่ความฟังโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) วรรคสอง เช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำสั่งศาลที่ให้นำค่าธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระมาวางศาล ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งสั่งในคราวเดียวกันนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระมาวางศาลทราบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ไม่แล้วเสร็จตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์การปฏิบัติตามคำสั่ง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,21,22,40,42,65,66 ทวิ,69,70,71เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 เดือนและปรับจำเลยทั้งสองคนละ 40,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 1,000 บาท ฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี และปรับจำเลยทั้งสองคนละ80,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 10,000 บาท รวมโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี 2 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 120,000 บาท และปรับวันละคนละ 11,000 บาทจนกว่าจะรื้อถอนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำเลยที่ 2จำคุก 7 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 60,000 บาทและปรับรายวันอีกวันละคนละ 5,500 บาท นับแต่วันที่5 มิถุนายน 2538 จนกว่าจะรื้อถอน ให้รอการลงโทษ จำคุกจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ถ้าไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ขอยื่นหลักฐาน การรื้อถอนอาคารเพื่อชำระค่าปรับตามคำพิพากษา โดยได้พยายามติดต่อขอเอกสารจากเขตราชเทวี เป็นเวลานาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงขอยื่นหลักฐาน เท่าที่จำเลยที่ 2 มี เป็นหลักฐานรับรองการรื้อถอนอาคาร เพื่อพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทุบ ผนังอาคารออกทุกด้าน รื้อบันไดเวียน ด้านหลังออก ทำให้ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้รื้อถอนส่วนที่เป็นโครงเหล็กหลังคาออก แต่เมื่อการรื้อถอนอาคารตามคำพิพากษามีความหมายว่า ต้องรื้อถอนส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารที่ต่อ เกินจากทั้งหมดให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อปรากฏว่ายังมีโครงเหล็กหลังคาเหลืออยู่จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้รื้อถอนเสร็จแล้วยังไม่ได้ ส่วนที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับให้ผู้จะ รื้อถอนอาคารจะต้องขออนุญาตมิใช่บทบัญญัติที่ให้ถือว่า จำเลยที่ 2 ได้รื้อถอนอาคารเสร็จแล้วแต่อย่างใดดังนี้จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งแสดงว่าโครงเหล็กหลังคาส่วนที่เหลืออยู่ได้รื้อถอนเสร็จสิ้นไปแล้วไม่ได้ แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นไต่สวน มาแล้วในคดีนี้ยังไม่พอแก่การวินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 2เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์คำสั่ง จึงชอบที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนในกรณีนี้ต่อไปที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ยังรื้อถอนอาคารไม่หมดนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาลทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ชำระ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ มีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรกโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ทำให้ฎีกาเป็นอันทิ้งฟ้อง
จำเลยที่ 4 ยื่นฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล ตามตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) เป็นเงิน 200 บาท แต่จำเลยที่ 4 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 40 บาท เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยที่ 4 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นดำเนินการดังกล่าวแล้วแต่จำเลยที่ 4เพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง: หน้าที่ส่งมอบงานและผลกระทบต่อการลงโทษทางวินัย
การที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการประจำแผนกซ่อมและดูแลได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในกองบริการชุมชน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์กลับไปทำงานในแผนกเดิม แต่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตามคำสั่งอ้างว่าต้องรอมอบหมายงานตามระเบียบของการเคหะแห่งชาติก่อน ดังนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดให้มีการมอบงานแล้ว การส่งมอบงานนั้นมิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องกระทำเมื่อไม่กระทำตามคำสั่งจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่กรรมการลูกจ้าง: การมาทำงานแต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายงานเป็นเหตุเลิกจ้างได้
นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำงานที่เครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กโดย ได้แจ้งการโยกย้ายให้ลูกจ้างทราบตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2535 ทั้งได้อธิบายให้ทราบด้วยว่า การทำงานของเครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กมีขั้นตอนการทำงานน้อยกว่าเครื่องใหญ่เมื่อลูกจ้างได้ทราบคำสั่งแล้วเพียงแต่มาที่ทำงานเพื่อลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงานตามปกติ โดยไม่ยอมไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้างในวันที่ 20 ถึงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2535 การกระทำของลูกจ้างย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดย ไม่มีเหตุอันสมควร และเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีมีเหตุที่นายจ้างจะเลิกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมจำนองสินสมรส & การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีเมื่อคู่ความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอกันส่วนของผู้ร้อง ศาลสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายตามคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่ง ศาลก็มิได้สั่งงดสืบพยานโจทก์ซึ่งได้นัดไว้แล้ว และผู้ร้องทราบนัดแล้ว โจทก์และผู้ร้องจึงต้องไปศาลตามนัดเมื่อผู้ร้องไม่ไปศาล ศาลชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่จำต้องนัดสืบพยานจำเลย คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมกฎหมายมิได้บัญญัติให้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นภรรยาจำเลยรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว การที่จำเลยนำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดิน การจำนองย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ร้องทำหนังสือให้ความยินยอมจำเลยซึ่งเป็นสามีทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนองรวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นเสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่าผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำนองจึงต้องผูกพันที่ดินทั้งหมดรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินในการนำพยานหลักฐานมาแสดง ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2),33 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะ บางส่วนเป็นกรณีที่ต้องอยู่ในบทบังคับของการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้ อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง และโจทก์ได้ทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามกรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง.
of 3