คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิบัติตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ, การโอนสิทธิสัญญา, อายุความ, และการปฏิบัติตามสัญญา
แม้สัญญาการจัดพิมพ์และโฆษณาสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ระหว่างบริษัท ช. กับองค์การ ท. จะมีข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น แต่ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวก็มีข้อยกเว้นไว้โดยหากได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากองค์การท. ก็สามารถโอนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาได้ แสดงว่ามิใช่การห้ามโอนโดยเด็ดขาดและการผิดสัญญาในข้อกำหนดห้ามโอนก็เป็นเพียงการให้สิทธิองค์การ ท. ที่จะบอกเลิกสัญญาได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าทางองค์การ ท. ถือว่าบริษัท ช. กระทำผิดสัญญาและมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาประการใด สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยจึงบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล เพราะเข้าใจว่าโจทก์ได้รับสิทธิมาจากบริษัท ช. นิติกรรมการว่าจ้างจึงเป็นโมฆะนั้น ฎีกาของจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
สัญญาการจัดพิมพ์และโฆษณาสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เป็นความรับผิดระหว่างบริษัท ช. กับองค์การ ท. ซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่ความรับผิดระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นไปตามสัญญาจ้างทำของ เมื่อสัญญาจ้างทำของมิได้ให้ถือเอาสัญญาการจัดพิมพ์และโฆษณาสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างทำของการนับอายุความจึงต้องแยกจากกัน เมื่อสัญญาจ้างทำของกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าการชำระเงินให้ชำระภายใน30 วัน นับจากวันที่ที่ระบุใบแจ้งหนี้ จึงต้องนับอายุความนับแต่นั้น เพราะเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ ส่วนก่อนหน้านั้นยังไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/13 หาใช่เริ่มนับแต่วันทำสัญญาหรือถือเอาตามสัญญาเดิม
จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือประกอบกิจการเพื่อรับจ้างทำของให้ ทำการโฆษณาสินค้า โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ สิทธิเรียกร้องจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) เมื่อตามใบแจ้งหนี้ระบุวันที่ครบกำหนดชำระไว้เป็นวันที่ 30 กรกฎาคม2539 โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายในกำหนด2 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813-6814/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สาธารณูปโภค, และการปฏิบัติตามสัญญา: ศาลพิจารณาถึงระยะเวลาการได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจและเจตนาของผู้ขายในการจัดหาสาธารณูปโภค
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทจำเลยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2537 แต่จากหลักฐานหนังสืออนุญาตทำการค้าที่ดินระบุว่าจำเลยเพิ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยให้ค้าที่ดินได้เมื่อเดือนเมษายน 2539 ซึ่งก่อนหน้านี้จำเลยได้แจ้งไว้ในแผ่นพับใบโฆษณาว่าใบอนุญาตค้าที่ดินของจำเลยอยู่ระหว่างดำเนินการ แสดงว่าในช่วงที่จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าที่ดินในโครงการดังกล่าวจำเลยไม่อาจยื่นขออนุญาตใช้น้ำบาดาลและไฟฟ้าต่อหน่วยงานรับผิดชอบได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมื่อเดือนเมษายน 2539 และขอเจาะน้ำบาดาลโดยได้รับใบอนุญาตให้เจาะได้เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 และได้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลได้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ซึ่งล้วนแต่บ่งให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จำเลยได้รีบขวนขวายจัดทำสาธารณูปโภคทันทีที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าที่ดินจากทางราชการ โดยมิได้เพิกเฉยไม่ดำเนินการใด จำเลยจึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่จำต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ แม้จะอ้างสำคัญผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น
ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 แปลความได้ว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด สัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดย่อมต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีตามข้อความในสัญญา ข้อ 4 ส่วนข้อความในสัญญาข้อ 2.1 ที่ว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้วแต่ไม่เกิน 1 ปี ดังกล่าวในข้อ 2 มีความหมายชัดเจนถึงว่า หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เมื่อใดจำเลยทั้งสอง ก็จะชำระเงินให้แก่โจทก์เมื่อนั้น แต่หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสองก็ยังจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 2นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776-6777/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังสัญญาระงับข้อพิพาท ศาลฎีกาพิพากษาให้ถอนการบังคับคดีเมื่อจำเลยปฏิบัติตามสัญญาแล้ว
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 ก่อนคดีถึงที่สุดโจทก์ที่ 1 กับจำเลยทำสัญญาระงับข้อพิพาทระหว่างกันทั้งหมดโดยไม่ติดใจบังคับคดีต่อมาโจทก์ที่ 1 นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย เพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยยื่นฟ้องและศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาระงับข้อพิพาทและให้โจทก์ที่ 1 ชำระเงินแก่จำเลย แสดงว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา แต่โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่อาจบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ เมื่อการนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์เป็นการกระทำของผู้แทนโจทก์ที่ 1 โดยยืนยันว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยจริงหากเกิดความเสียหายผู้แทนโจทก์ที่ 1 ยินยอมรับผิดชอบเอง เมื่อศาลไม่อนุญาตให้บังคับคดีอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนฟ้องคดี: กรณีจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้ และโจทก์มีคำขอให้คืนเงินมัดจำ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ผู้จะซื้อกับจำเลยผู้จะขายระบุให้ผู้ขายเป็นฝ่ายตกลงกับผู้เช่านาเอง หมายถึงว่าให้จำเลยจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาทให้เรียบร้อยก่อนวันโอนกรรมสิทธิ์
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ บัญญัติให้การจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายดังกล่าวให้ถูกต้องก่อน โดยผู้ให้เช่านาต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้เช่านาพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่านาและส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวต่อประธาน คชก. ตำบล และภายในเจ็ดวันนับแต่เมื่อได้รับสำเนาหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้ประธาน คชก. ตำบล หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคชก. ตำบล แจ้งให้ผู้เช่านาที่ถูกบอกเลิกการเช่านาทราบเพื่อคัดค้านการบอกเลิกการเช่านาต่อ คชก. ตำบล ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การที่จำเลยและ ช. ไปลงบันทึกประจำวัน ช. เลิกทำนาในที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาเช่านายังไม่เลิกกันเท่ากับจำเลยยังมิได้จัดการตกลงให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินที่พิพาท
การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่จดทะเบียนการซื้อขายให้เนื่องจากมีผู้เช่านาที่ดินพิพาท ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาต่อจำเลย แต่เมื่อจำเลยขอยกเลิกการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วโจทก์มิได้คัดค้าน และโจทก์มาฟ้องคดีอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งในสัญญามิได้ระบุว่าจำเลยต้องดำเนินการให้เสร็จเมื่อใด ทั้งโจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยปฏิบัติในเวลาอันสมควร แต่กลับฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาโดยโอนที่ดินแก่โจทก์ทันทีจนจำเลยไม่อาจปฏิบัติได้จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
พฤติการณ์ที่จำเลยนัดโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินโดยที่ยังมิได้ดำเนินการให้ผู้เช่านาออกไปจากที่ดินพิพาทและเมื่อโจทก์ไม่รับโอนจึงขอยกเลิกการจดทะเบียนซื้อขายกับการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินโดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ ทั้ง ๆ ที่ยังมิได้ให้เวลาจำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านาออกไปจากที่ดินพิพาทก่อน โจทก์ย่อมรู้อยู่ว่าไม่สามารถทำได้แต่โจทก์มีคำขอว่าถ้าไม่สามารถโอนที่ดินได้ก็ให้คืนเงินมัดจำ เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโดยมิได้มีฝ่ายใดผิดสัญญา โจทก์และจำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาพร้อมกัน และสิทธิในการฟ้องบังคับชำระหนี้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินและรับสภาพหนี้ มีการกำหนดหน้าที่ให้คู่สัญญาปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขว่าโจทก์จะโอนทรัพย์สินให้จำเลยหรือช่วยจำเลยชำระหนี้ต่อเมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินที่ไม่ติดจำนองให้แก่โจทก์ 1 ใน 2 ส่วน ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2528 แต่อย่างใด โจทก์จึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ของตนหรืออยู่ในฐานะพร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ของตนเสียก่อนจึงจะบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 เมื่อโจทก์ไม่อยู่ในฐานะพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้จำเลย 1 ใน 2 ส่วนโดยปลอดจำนองตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อจำเลยเสียก่อนได้ โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะข้อหนึ่งข้อใดมาบังคับเอาแก่จำเลยเพื่อเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนา การรู้เห็น การปฏิบัติตามสัญญา และการถือว่าข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลอง แต่ก่อนเปิดขายอาคารทุกหลังในโครงการนี้ได้ตอกเสาเข็ม ไว้แล้วโดยแต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร ซึ่งในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์และไปตรวจดูการ ก่อสร้างห้องชุดที่จะซื้อ โจทก์ได้เห็นการก่อสร้างอาคารซี ตรงจุดที่จำเลยแสดงไว้ในโฆษณาว่าจะทำเป็นสวนหย่อม แต่โจทก์ ก็ไม่เคยโต้แย้งการก่อสร้างอาคาร ซี แต่อย่างใด เท่ากับโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคาร ซีมาโดยตลอด การที่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมา แสดงว่า โจทก์หาได้ถือว่าการจะมีหรือไม่มีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลัง ที่โจทก์จะซื้อห้องชุดเป็นข้อสาระสำคัญไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนที่ดินให้ครบถ้วน แม้มีเจ้าของรวมอื่น ย่อมถูกบังคับคดีได้
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบด้วยป.พ.พ.มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง จำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนส่งสินค้าและการปฏิบัติตามสัญญา การเวนคืนใบตราส่งเป็นสาระสำคัญ
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261-4264/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อมีการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) ได้ในสองกรณี คือ คำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย แต่คำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ทั้งจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์แล้วย่อมถือว่าโจทก์และจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือว่ามีการบังคับคดีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่ศาลจะเพิกถอนได้
of 9