พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค: เช็คชำระหนี้ซื้อขายข้าวสาร ถึงกำหนดแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่าย
โจทก์เคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อข้าวสารแต่เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าวจำเลยได้ออกเช็คพิพาทกับเช็คฉบับอื่นแทนเช็คที่ฟ้องร้องกัน โจทก์จึงถอนฟ้อง เช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์ถือได้ว่ามีมูลหนี้มาจากจำเลยซื้อข้าวสารของโจทก์นั่นเอง การออกเช็คพิพาทของจำเลยคดีนี้จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินตามเช็คหลังปฏิเสธการจ่าย: หลักเกณฑ์การเลิกคดีตาม พ.ร.บ.เช็ค
ในกรณีที่ผู้ออกเช็คได้นำเงินไปชำระแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็ค ให้คดีเป็นอันเลิกกัน ดังที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 บัญญัติไว้นั้น เมื่อได้ความว่าผู้ออกเช็คได้นำเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็ค โดยมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าเป็นเงินที่ผู้ออกเช็คนำไปชำระแก่ธนาคาร เพื่อจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วคดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับเงินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายจากเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ถือเป็นลาภมิควรได้
โจทก์รับเช็คของจำเลยไปเรียกเก็บเงินตามวิธีการของธนาคารเมื่อเก็บเงินได้แล้วจึงนำเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย อันเป็นการเรียกเก็บเงินตามเช็คแทนจำเลย มิใช่จำเลยนำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยไปก่อนเพราะเชื่อว่าจะเรียกเก็บเงินตามเช็คได้เหมือนคราวก่อน ๆ ที่โจทก์เคยปฏิบัติมา แต่เช็คดังกล่าวถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นนี้จึงถือได้ว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ อันจำเลยจำต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจ่ายเช็คในวันออกเช็คแสดงว่าไม่มีเงินในบัญชี คดีเช็คมีมูล
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกันกับวันสั่งจ่ายว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย จึงฟังได้แล้วว่า ในวันที่จำเลยออกเช็ค เงินในบัญชีของจำเลยไม่มีหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค คดีโจทก์จึงมีมูล มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในภายหลังจากวันที่สั่งจ่ายในเช็ค ซึ่งโจทก์จึงจะมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าในวันที่สั่งจ่ายนั้น บัญชีของจำเลยไม่มีเงินหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจ่ายเช็คในวันออกเช็คเป็นเหตุให้คดีมีมูลไม่ต้องพิสูจน์สถานะบัญชีในวันออกเช็ค
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกันกับวันสั่งจ่ายว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย จึงฟังได้แล้วว่า ในวันที่จำเลยออกเช็ค เงินในบัญชีของจำเลยไม่มีหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค คดีโจทก์จึงมีมูล มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในภายหลังจากวันที่สั่งจ่ายในเช็ค ซึ่งโจทก์จึงจะมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าในวันที่สั่งจ่ายนั้น บัญชีของจำเลยไม่มีเงินหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจ่ายเช็คโดยอ้างเหตุ 'ยังไม่มีการตกลงกับธนาคาร' เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท และได้ยื่นเช็คพิพาทเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกเดือนนับแต่วันออกเช็คซึ่งธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(2) แต่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างเหตุว่า "ยังไม่มีการตกลงกับธนาคาร"จึงเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 3 คดีโจทก์จึงมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจ่ายเช็คโดยอ้างเหตุ 'ยังไม่มีการตกลงกับธนาคาร' ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท และได้ยื่นเช็คพิพาทเพื่อให้ใช้เงินเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกเดือนนับแต่วันออกเช็คซึ่งธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(2) แต่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างเหตุว่า 'ยังไม่มีการตกลงกับธนาคาร' จึงเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 3 คดีโจทก์จึงมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการปฏิเสธการจ่ายเช็คและการนับอายุความคดีเช็ค การแจ้งตามความเป็นจริงเป็นสำคัญ
โจทก์นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร ส. เพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่3,4 และ 8 เมษายน 2529 ทั้งสามครั้ง และธนาคารตามเช็คแจ้งให้ธนาคาร ส.ทราบเมื่อวันที่8เมษายน2529ธนาคารส. แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2529 พร้อมกับส่งเช็คและใบคืนเช็คให้ด้วย แม้ด้านหลังเช็คพิพาทมีข้อความระบุชัดว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด แต่ขณะนั้นเช็คยังคงอยู่ที่ธนาคาร และโจทก์ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ต้องถือว่าโจทก์ทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่ 9 เมษายน 2529 จะให้ถือว่าโจทก์ทราบว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินมาก่อนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3เมษายน 2529 และนับอายุความย้อนหลังตั้งแต่วันนั้นไม่ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินบำเหน็จหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่าง อื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้อง เงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ