พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้าเป็นมัดจำได้ การปฏิเสธการจ่ายเงินเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
คำว่า มัดจำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 มีความหมายว่าจะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าทำสัญญา ซึ่งอาจเป็นเงินหรือสิ่งมีค่าอื่นซึ่งมีค่าในตัวเอง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยระบุว่า ในวันทำสัญญาผู้จะซื้อได้รับเงินจำนวน 1,788,000 บาท เพื่อเป็นการวางมัดจำไว้กับผู้จะขายโดยเงินมัดจำดังกล่าวจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า 3 ฉบับ เมื่อเช็คเป็นตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินเมื่อทวงถามให้แก่ผู้รับเงิน จึงเป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 และเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง เพราะสามารถเรียกเก็บเงินหรือโอนเปลี่ยนมือได้จึงส่งมอบ ให้แก่กันเป็นมัดจำได้ แม้เช็คลงวันที่หลังจากวันทำสัญญา แต่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ แม้จะใช้บัญชีผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้าบัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539 มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: การระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้นย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เช็คชำระหนี้ซื้อขายสินค้า การแก้ไขเช็ค และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงิน
เดิมจำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าผ้าแก่โจทก์ด้วยเช็คหลายฉบับและหลายครั้ง แต่เช็คส่วนใหญ่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงเปลี่ยนเช็คเป็นเช็คพิพาทและเช็คอื่นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 15 ฉบับ ให้แก่โจทก์แทน ซึ่งเช็คพิพาทธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้แก่โจทก์มีมูลหนี้มาจากจำเลยซื้อสินค้าผ้ายืดของโจทก์ การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถระงับหนี้ได้หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้มีการเปลี่ยนเช็ค และการแก้ไขวันที่สั่งจ่ายไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ
จำเลยชำระหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ค่าซื้อขายผ้าด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงินแต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอดธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายประกอบการที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิมจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ ศ. แก้ไขวันที่สั่งจ่ายซึ่งเป็นสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้ยินยอมด้วย จำเลยกับ ศ.ได้ร่วมกันซื้อสินค้าจากโจทก์และจำเลยกับ ศ. มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท จำเลยและศ.มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีที่เปิดร่วมกันได้จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ศ. เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทยังคงใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง และแม้จะมีการบังคับคดีแพ่งโดยมีการยึดทรัพย์ของจำเลยกับ ศ. สามีจำเลย แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ยังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงยังไม่เกินกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7095/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทปฏิเสธการจ่ายเงิน ความผิดสำเร็จแล้ว แม้มีการตกลงแปลงหนี้ใหม่และแก้ไขวันสั่งจ่าย
การที่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามวันสั่งจ่ายครั้งแรกนั้น ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ย่อมเกิดขึ้นและเป็นความผิดสำเร็จแล้วนับแต่วันนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยจะได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยได้ใช้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คฉบับเดิมมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันสั่งจ่ายใหม่แล้วมอบชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็หาได้ทำให้เช็คพิพาทเป็นเช็คฉบับใหม่ขึ้นมาไม่ เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอีก ก็ไม่ทำให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นใหม่เป็นครั้งที่สอง เพราะเป็นการกระทำความผิดอันเดียวกัน จะเกิดเป็นความผิดสองครั้งไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7095/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คถูกปฏิเสธซ้ำ: ไม่ถือเป็นความผิดใหม่ แม้มีการแก้ไขวันสั่งจ่าย
การที่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามวันสั่งจ่ายครั้งแรกนั้นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ย่อมเกิดขึ้นและเป็นความผิดสำเร็จแล้วนับแต่วันนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยจะได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยได้ใช้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คฉบับเดิมมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันสั่งจ่ายใหม่แล้วมอบชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็หาได้ทำให้เช็คพิพาทเป็นเช็คฉบับใหม่ขึ้นมาไม่ เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอีก ก็ไม่ทำให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นใหม่เป็นครั้งที่สอง เพราะเป็นการกระทำความผิดอันเดียวกัน จะเกิดเป็นความผิดสองครั้งไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7095/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คถูกปฏิเสธซ้ำ: ไม่ถือเป็นความผิดครั้งใหม่ แม้มีการแก้ไขวันสั่งจ่าย
การที่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามวันสั่งจ่ายครั้งแรกนั้นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ย่อมเกิดขึ้นและเป็นความผิดสำเร็จแล้วนับแต่วันนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยจะได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยได้ใช้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คฉบับเดิมมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันสั่งจ่ายใหม่แล้วมอบชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็หาได้ทำให้เช็คพิพาทเป็นเช็คฉบับใหม่ขึ้นมาไม่ เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอีก ก็ไม่ทำให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นใหม่เป็นครั้งที่สอง เพราะเป็นการกระทำความผิดอันเดียวกัน จะเกิดเป็นความผิดสองครั้งไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็ค ณ เวลาปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นผู้เสียหาย
จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยระบุชื่อพ. ภริยาโจทก์ หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ จึงต้องถือเอาข้อความที่ปรากฏในเช็คเป็นสำคัญ เมื่อข้อความในเช็คพิพาทระบุชื่อพ. หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินพ. นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของตนเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงต้องถือว่าในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันที่ความผิดเกิดขึ้นนั้นพ. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท หาใช่เป็นตัวแทนโจทก์ในการเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ เมื่อ พ. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะความผิดเกิดขึ้น พ. จึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะความผิดเกิดขึ้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง