พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403-2430/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย-การแก้ไขคำฟ้อง: กำหนดระยะเวลาของงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, กระบวนการยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่ในวรรคสามบัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น" และวรรคสี่บัญญัติว่า "การจ้างที่มีกำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง" จะเห็นได้ว่า ในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอน ส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท โดยในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี คำว่า งานนั้น ย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาและสิทธินำสืบพยานหักล้างสัญญากู้ การนำสืบที่เจือสมกับประเด็นข้อพิพาท
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง สัญญากู้เป็นเอกสารปลอมลายมือชื่อช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ทำขึ้นเองเป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ส่วนที่ จำเลยให้การตอนหลังว่า หากศาลฟังว่าสัญญากู้เป็น เอกสารที่แท้จริง โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ก็มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่าจำเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์คำให้การของจำเลยจึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามคำให้การได้ และนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างสัญญากู้ตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไป จากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่า ทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการ ทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็ เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่ เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึง การที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่ง กำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไร จำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียด เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้อง ระบุในคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองการชำระเงินไม่ถือเป็นการยอมรับว่าจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินงานที่เหลือต่อไป โดยชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน 500,000 บาท จำเลยให้การว่าไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ ฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยรับว่าชำระค่าจ้างล่วงหน้าจำนวน500,000 บาท แก่โจทก์ คงถือได้เพียงว่าจำเลยรับว่าจำเลยชำระเงิน 500,000บาท แก่โจทก์เท่านั้น แต่ไม่ใช่ค่าจ้างล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้อกล่าวหาและการพิจารณาพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินให้โจทก์โดยตกลงกันเอง โจทก์มอบเงินให้จำเลยและจำเลยมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครอง จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ขายที่ดินให้โจทก์และโจทก์มิได้ครอบครองเพื่อตนเอง คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงมีเพียงปฏิเสธฟ้องโจทก์เท่านั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องส่วนจำเลยไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะสืบถึงรายละเอียดว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย แม้ศาลจะให้จำเลยนำสืบในรายละเอียดเหล่านี้ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีไม่ได้
เมื่อคดียังจะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพฤติการณ์แห่งคดีว่า จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานเฉพาะที่นำสืบมาโดยถูกต้องและคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท การวินิจฉัยของศาล-อุทธรณ์ภาค 1 อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่นำสืบมาโดยชอบต่อไป
เมื่อคดียังจะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพฤติการณ์แห่งคดีว่า จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานเฉพาะที่นำสืบมาโดยถูกต้องและคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท การวินิจฉัยของศาล-อุทธรณ์ภาค 1 อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่นำสืบมาโดยชอบต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสารหลักฐานในคดีแพ่ง การโต้แย้งข้อเท็จจริง และการปฏิเสธข้อกล่าวหา
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องนั้น เป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธเอกสารดังกล่าวจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารนั้นหาได้ไม่จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่และกรณีนี้ก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินคำให้การ: จำเลยต้องปฏิเสธข้อกล่าวหาในคำให้การก่อนจึงจะนำสืบได้
จำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้จำเลยที่ 4 ให้การว่าห้าง จำเลยที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้อันโจทก์จะอ้างกับห้างจำเลยที่ 1ก็ไม่ชัดแจ้งว่าได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องนี้ การที่จำเลยที่ 4นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและผลกระทบต่อการสืบพยาน: คำให้การที่ไม่ชัดเจนถือว่าไม่ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา
คำสั่งของศาลที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานและมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจำเลยยื่นคำร้องว่า ตามที่ศาลได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีนั้น จำเลยเห็นว่า คำให้การของจำเลยชัดเจนแล้ว จึงขอให้ศาลกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานแล้ว จำเลยชอบที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทของ ย. ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สัญญาเพิ่มวงเงินและสัญญากู้ที่ ย.กู้ยืมไปจากโจทก์ จำเลยให้การว่า ย. ไม่ได้เป็นลูกหนี้ ไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเกินบัญชีสัญญาเพิ่มวงเงินและสัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของย.หรือหากย. จะลงชื่อไว้ก็โดยบุคคลอื่นหลอกลวง ดังนี้เป็นคำให้การที่ขัดกัน จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ และไม่เป็นประเด็นในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาต้องระบุเหตุ หากไม่ชัดเจนศาลไม่รับวินิจฉัย แม้เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา177วรรคสองนั้นนอกจากจำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนแล้วยังจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการนั้นด้วย จำเลยให้การเพียงว่าพินัยกรรมที่โจทก์นำมาฟ้องทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้โดยมิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงเหตุที่อ้างว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ที่จำเลยฎีกาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำต่อหน้าพยานสองคนจำเลยมิได้ยกเหตุนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การแม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่รับวินิจฉัยให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาต้องชัดแจ้งเหตุ หากไม่ชัดเจนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแม้เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา117วรรคสองนั้นนอกจากจำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนแล้วยังจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการนั้นด้วยจำเลยให้การเพียงว่าพินัยกรรมที่โจทก์นำมาฟ้องทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้โดยมิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงเหตุที่อ้างว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ที่จำเลยฎีกาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำต่อหน้าพยานสองคนจำเลยมิได้ยกเหตุนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การแม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่รับวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255-256/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, ความรับผิดกรรมการสหภาพแรงงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี, การพิสูจน์หลักฐาน
ฟ้องของโจทก์จะถูกต้องสมบูรณ์หรือเคลือบคลุมนั้น อยู่ที่ตัวฟ้องของโจทก์การที่จำเลยจะได้รับสำเนาฟ้องครบถ้วนหรือไม่หาทำให้ฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์กลายเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไปไม่
การกระทำโดยสหภาพแรงงานกับการกระทำโดยกรรมการสหภาพแรงงานนั้นไม่เหมือนกัน เพราะการกระทำโดยสหภาพแรงงานอาจเป็นการกระทำโดยมติของกรรมการอันมีเสียงข้างมากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยที่กรรมการบางคนอาจไม่เห็นด้วย และคัดค้านการกระทำของสหภาพแรงงานนั้นก็เป็นได้ ฉะนั้นการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างนั้น เป็นความรับผิดชอบของกรรมการผู้กระทำแต่ละคนไป ผู้ใดมิได้ร่วมกระทำด้วยก็หาต้องรับผิดชอบแต่ประการใดไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามจำนวนวันและเป็นเงินตามบัญชีรายละเอียดท้ายฟ้อง จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการวันเริ่มเข้าทำงาน อัตราค่าจ้าง และรายได้อื่น ๆ ของโจทก์ซึ่งบางรายการก็ตรงกับบัญชีของโจทก์อันเป็นการรับรองว่าถูกต้อง บางรายการก็ไม่ตรงหรือไม่มี เท่ากับปฏิเสธว่าไม่ถูกต้อง สำหรับรายการเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยมิได้ระบุไว้ในบัญชี คงกล่าวไว้ในคำร้องที่ส่งบัญชีต่อศาลอันถือเป็นคำให้การว่านอกเหนือจากนั้นถือว่าปฏิเสธความถูกต้องทั้งสิ้น เพราะยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธจำนวนวันและเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้
การกระทำโดยสหภาพแรงงานกับการกระทำโดยกรรมการสหภาพแรงงานนั้นไม่เหมือนกัน เพราะการกระทำโดยสหภาพแรงงานอาจเป็นการกระทำโดยมติของกรรมการอันมีเสียงข้างมากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยที่กรรมการบางคนอาจไม่เห็นด้วย และคัดค้านการกระทำของสหภาพแรงงานนั้นก็เป็นได้ ฉะนั้นการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างนั้น เป็นความรับผิดชอบของกรรมการผู้กระทำแต่ละคนไป ผู้ใดมิได้ร่วมกระทำด้วยก็หาต้องรับผิดชอบแต่ประการใดไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามจำนวนวันและเป็นเงินตามบัญชีรายละเอียดท้ายฟ้อง จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการวันเริ่มเข้าทำงาน อัตราค่าจ้าง และรายได้อื่น ๆ ของโจทก์ซึ่งบางรายการก็ตรงกับบัญชีของโจทก์อันเป็นการรับรองว่าถูกต้อง บางรายการก็ไม่ตรงหรือไม่มี เท่ากับปฏิเสธว่าไม่ถูกต้อง สำหรับรายการเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยมิได้ระบุไว้ในบัญชี คงกล่าวไว้ในคำร้องที่ส่งบัญชีต่อศาลอันถือเป็นคำให้การว่านอกเหนือจากนั้นถือว่าปฏิเสธความถูกต้องทั้งสิ้น เพราะยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธจำนวนวันและเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้