คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิเสธความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายเช็คและการปฏิเสธความรับผิด
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 เมื่อจำเลยทั้งสองปฏิเสธความรับผิดอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความรับผิดของประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยแจ้งความล่าช้าหลังรถหาย ทำให้ไม่ถือว่าปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคสองบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใดซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่นำมาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะฟ้องแย้ง: ต้องเสนอประเด็นข้อพิพาทใหม่และเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม มิใช่แค่ปฏิเสธความรับผิด
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้อง จำเลยจะต้องบรรยายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 อย่างไร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ทั้งคำฟ้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ และคำขอคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่เสนอข้อหาโดยคำฟ้องแย้งแล้ว จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับความคุ้มครองให้เป็นไปตามสิทธิตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กับพวกรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาตั๋วเงิน แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่าเป็นฟ้องแย้งมีข้อความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์แล้ว ส่วนการขายลดเช็ค จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์หลอกลวงให้จำเลยที่ 1 โอนส่งมอบเช็คให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธความรับผิดเท่านั้น หากเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 1 อยู่แล้ว จำเลยที่ 1 มิได้เสนอข้อกล่าวหาเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ คำให้การดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยลักษณะฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความชำรุดบกพร่อง: การซ่อมแซมต่อเนื่องทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จนจำเลยปฏิเสธความรับผิดจึงเริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์ผู้ซื้อพบ เสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่27มีนาคม2532และจำเลยที่1ผู้ขายได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่29มีนาคม2532แล้วนำมาส่งคืนถือว่าจำเลยที่1กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ได้รับไปซ่อมแต่เมื่อเสื้อเกียร์ก็ยังแตกอีกหลายครั้งโดยจำเลยที่1ไม่สามารถแก้ไขความ ชำรุดบกพร่องในจุดเดิมได้อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงอยู่ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ส่งช่างไปแก้ไขแต่จำเลยที่1ปฏิเสธความรับผิดเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลงต้อง เริ่มนับอายุความ 1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474ใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำรุดบกพร่อง: การซ่อมแซมต่อเนื่องทำให้สะดุดหยุดลง และการปฏิเสธความรับผิดทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474บัญญัติไว้ว่า"ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง"โจทก์พบเสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่27มีนาคม2532และจำเลยที่1ได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่29มีนาคม2532แล้วนำมาส่งคืนเมื่อวันที่24สิงหาคม2532เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่29มีนาคม2532ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172(เดิม)ต่อมาวันที่16ธันวาคม2532โจทก์ติดตั้งเกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งที่2ใช้งานจนถึงวันที่25ธันวาคม2532ปรากฎว่าเสื้อเกียร์ได้แตกเหมือนเดิมจำเลยที่1ได้รับคืนไปซ่อมอีกแล้วส่งคืนโจทก์เมื่อวันที่9สิงหาคม2533และมีการติดตั้งเกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งที่3จากนั้นวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ได้ใช้เกียร์ทดพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวใช้ได้ประมาณ2ถึง3วันเสื้อเกียร์ก็แตกอีกดังนี้แสดงว่าจำเลยที่1ยังไม่สามารถแก้ไขความชำรุดบกพร่องในจุดเดิมคือที่เสื้อเกียร์ของเกียร์ทดและอุปกรณ์นั้นให้โจทก์สามารถใช้งานได้ตามปกติอันเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายในสัญญาอายุความจึงยับคงสะดุดหยุดลงอยู่ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้แต่จำเลยที่1ส่งช่างไปแก้ไขแต่จำเลยที่1กลับปฎิเสธความรับผิดเมื่อวันที่28พฤศจิกายน2533จึงเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลงต้องเริ่มนับอายุความเดิม1ปีใหม่ตั้งแต่วันที่28พฤศจิกายน2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุอัคคีภัย การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย และการพิสูจน์เหตุผล
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาแต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อส. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส. ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 27 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว กรมธรรมประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องยังคับจำเลยได้ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้ เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นเป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกันและกรมธรรม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่ จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลยคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3536/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การปฏิเสธความรับผิดเมื่อความเสียหายมิได้เกิดจากการใช้รถของอู่โดยตรง
สัญญาประกันภัยระบุไว้ว่า 'การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายใดๆ ต่อรถยนต์ อันเกิดจากการใช้โดยบุคคลของอู่เมื่อรถยนต์ได้มอบให้อู่ทำการซ่อม เว้นแต่การซ่อมนั้นบริษัท (จำเลย) เป็นผู้สั่งหรือให้ความยินยอม'นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ล. ช่างซ่อมรถของอู่นำรถของโจทก์ที่นำไปซ่อมออกไปขับแล้ว ท. ขับรถกินทางเข้ามาชนรถโจทก์ในช่องทางวิ่งของรถโจทก์ ทำให้รถโจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความผิดของ ท. การใช้รถของ ล. มิใช่เป็นผลโดยตรงให้เกิดความเสียหาย จำเลยจะอ้างสัญญาดังกล่าวมาเป็นข้อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อบ้านโดยอ้างชื่อผู้อื่นและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์ตกลงซื้อบ้านของผู้มีชื่อและมอบหมายให้จำเลยลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนเพราะโจทก์เป็นสงฆ์ จำเลยก็จัดการรับโอนกรรมสิทธิ์บ้านจากผู้มีชื่อมาตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ดูแลบ้านดังกล่าวของโจทก์ให้ออกไปและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าเป็นบ้านของจำเลย ดังนี้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้หลอกลวงเอาเงินของโจทก์ไป ส่วนการที่จำเลยปฏิเสธกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในภายหลัง ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบียดบังทรัพย์สินที่ฝากไว้: ข้อพิพาทเรื่องการรับฝากเงินและการปฏิเสธความรับผิด
ฟ้องว่าฝากธนบัตรฉบับละ 100 บาท ไว้กับจำเลย 100 ฉบับเป็นเงิน 10,000 บาท ให้จำเลยเก็บรักษาไว้ จำเลยเบียดบังเอาเป็นของจำเลยโดยทุจริต ต่อมาอีก 4 ปี จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากเงินนั้น ฯลฯดังนี้ เป็นฟ้องที่ศาลต้องรับฟังพยานต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและการฟ้องร้องต่อศาล
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ข้อพิพาทใดๆ จากกรมธรรม์นี้ต้องมอบให้อนุญาโตตุลาการซึ่งคู่กรณีแต่งตั้งเป็นผู้ตัดสินจะฟ้องต่อศาลเลยที่เดียวไม่ได้ หมายความว่าคู่กรณีตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการ แต่กรณีนี้บริษัทปฏิเสธความรับผิด ไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ผู้เอาประกันภัยฟ้องคดีต่อศาลได้
of 3