คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิเสธหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การปฏิเสธหนี้และการนำสืบพยานหลักฐานนอกประเด็นข้อต่อสู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินต้องระบุรายละเอียดการปฏิเสธลายมือชื่อ หากไม่ทำตามจะสิทธิในการนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน โดยจำเลยนำเช็คมาขายลดให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปขึ้นเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินกับโจทก์ ทั้งไม่เคยนำเช็คมาขายลดให้แก่โจทก์ และไม่เคยได้รับเงินจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงปฏิเสธลอย ๆ จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบว่า ไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยหากจำเลยสืบพยานก็ต้องห้ามมิให้รับฟังเพราะคำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถามแล้วไม่ปฏิเสธ ถือเป็นหนี้เด็ดขาด มีสิทธิบังคับคดีได้ภายใน 10 ปี
หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือทวงหนี้และจำเลยมิได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งความ ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้กองทรัพย์สินของเจ้าหนี้เป็นการเด็ดขาดและถือเสมือนว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดเวลาให้ปฏิเสธหนี้ อันถือเสมือนว่าเป็นวันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 มิใช่นับแต่วันที่ศาลออกคำบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในหนี้รายนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีแล้ว หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้และการนำสืบเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ: ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อนโจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล. รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วยที่ ล ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ค่าจ้างในคำให้การ: ศาลฎีกาชี้การตีความผิดพลาด นำไปสู่การงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยมีข้อความระบุไว้ว่า "จำเลยเคยเสนอเหตุผลว่า จำเลยนี้ไม่เคยติดค้างค่าจ้างแก่โจทก์กับพวกดังที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง"ย่อมมีความหมายว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าค้างจ่ายค่าจ้างจริงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย และพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้และการให้เหตุผลที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 และการยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยกล่าวในคำให้การในตอนแรกว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ทั้ง 3 ฉบับ และนำที่ดินโฉนดที่พิพาทจำนองต่อโจทก์เป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องโจทก์ทั้ง 3 ฉบับจริง แต่จำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับนั้น การจำนองที่ดินประกันหนี้ตามสัญญากู้จึงเป็นการประกันหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ดังนี้เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามที่กล่าวอ้างของตน
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7413/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่: จำเลยปฏิเสธหนี้ค้ำประกัน และมีเหตุผลที่อาจชนะคดีได้ ศาลต้องพิจารณา
ตามคำร้องขอของจำเลยที่ขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้นระบุว่า จำเลยเคยกู้เงินโจทก์เป็นการส่วนตัว และวางหนังสือรับรองการทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยต่อโจทก์ เมื่อจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลย จำเลยไม่เคยเกี่ยวข้องผูกพันเข้ารับภาระหนี้ใด ๆ ซึ่ง ม. จะมีต่อโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ตามคำร้องขอของจำเลยแสดงให้เห็นแล้วว่า จำเลยได้ปฏิเสธว่ามิได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ ม. ดังคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและตามคำร้องขอของจำเลยนี้ก็แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยมีทางชนะคดีในเมื่อมีการพิจารณาคดีใหม่ กรณีจึงถือได้ว่าคำร้องขอของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง ในอันที่ศาลจะสั่งให้มีการพิจารณาคดีใหม่ได้ ส่วนในชั้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาต่อไปเพียงว่า มีเหตุสมควรเชื่อว่า คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบเกี่ยวกับข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเพื่อให้เห็นว่าตนจะชนะคดีอย่างไรอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ขัดแย้งกันเองและประเด็นการปฏิเสธหนี้: ผลต่อการนำสืบพยาน
คำให้การที่ขัดแย้งกันเองได้แก่คำให้การที่ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทาง ไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางหนึ่งทางใด
คดีนี้ตอนแรกจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรู้จักหรือไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จำเลยไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้อง ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม จำเลยไม่เคยกู้เงินและไม่เคยรับเงินจำนวน 150,000 บาทจากโจทก์ แม้ตอนต่อมาจำเลยจะให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เกิดจากภรรยาจำเลยเคยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อปี 2530 และภรรยาจำเลยได้ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนไปแล้ว หากแต่โจทก์ไม่ได้คืนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความและให้โจทก์ยึดถือไว้ในการที่ภรรยาจำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้ยืมเงินโดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันแล้วนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีนี้ก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์และหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม เพียงแต่เหตุแห่งการปฏิเสธขัดแย้งกันไม่ชัดแจ้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมเพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นนำสืบตามคำให้การ แต่คดียังมีประเด็นข้อพิพาทและโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องโจทก์จึงจะชนะคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้และการไต่สวนข้อเท็จจริง: ศาลต้องไต่สวนการได้รับแจ้งหนี้ก่อนมีคำสั่ง
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเหตุโดยปฏิเสธว่าไม่เคยได้รับแจ้งการยืนยันหนี้จากผู้คัดค้านมาก่อน ซึ่งในข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร้องได้รับการแจ้งยืนยันหนี้จากผู้คัดค้านโดยชอบแล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหนี้และการปฏิเสธหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย การพิจารณาวันได้รับแจ้งหนี้ที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคแรกไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิและ 76 มาใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ป. ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2531 ตามใบไปรษณีย์ตอบรับ ซึ่งถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ,76แต่อย่างไรก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านในวันที่ส่งนั้น ผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่า ตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านภายในกำหนด
of 5