คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันภัยทางทะเล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่ยังไม่ลงเรือ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับฝาก
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อความว่า "VOYAGE : At and from LAEM CHABANG , THAILAND TO HOCHI MINH" แปลว่าคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทย ถึง โฮจิมินห์ ในประเทศเวียดนาม คำว่า ที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย ไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยทางทะเล ความคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้า และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทยถึงโฮจิมินห์ในประเทศเวียดนามคำว่าที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วยไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่มีผลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่เวลาที่สินค้าอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบังขณะรอบรรทุกลงเรือจึงคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบังก่อนขนสินค้าลงเรือด้วย เมื่อสินค้าได้สูญหายไปขณะที่อยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายให้แก่ผู้รับตราส่งไปแล้วตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ที่รับฝากสินค้าไว้และจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนภัยของจำเลยที่ 4 ผู้รับฝากสินค้าไว้ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝากเป็นการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อผู้ขนส่งส่งมอบและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ผู้รับตราส่งรู้ว่าสินค้าหายไป จากวันดังกล่าวนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องจำเลยต่างประเทศ, การรับประกันภัยทางทะเล, และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน ในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทน หรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือ ของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึง ท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทาง ตลอดจนติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้
การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วย และสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย แม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจาก ท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง ทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และ มิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไป การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัย ทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต
มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือ เสียหายว่าผู้ขนส่งทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับประกันภัยทางทะเลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล: การแสดงเจตนาของผู้รับประกันภัยและผลบังคับใช้
กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลของบริษัทโจทก์ชื่อผู้เอาประกันภัยคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชื่อเรือที่ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยคือ ฟาร์ อีสท์ นาวี การเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้จะชำระให้ที่กรุงเทพ-มหานคร โดยโจทก์และตอนท้ายของกรมธรรม์ระบุชื่อโจทก์และผู้ที่ลงนามเพื่อและในนามผู้รับประกันภัยคือโจทก์ นอกจากนั้นในแต่ละลายมือชื่อยังระบุตำแหน่งด้วยว่าลายมือชื่อแรก ประธานกรรมการ ลายมือชื่อที่สอง กรรมการผู้จัดการ และลายมือชื่อที่สาม ผู้จัดการทางทะเล จึงเป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลและออกกรมธรรม์ฉบับดังกล่าว หาใช่กรรมการโจทก์ออกกรมธรรม์และลงนามในฐานะส่วนตัวไม่ การที่มิได้ประทับตราของโจทก์ในกรมธรรม์หาได้ทำให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดเจนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และเมื่อโจทก์ได้ยอมรับเอากรมธรรม์ดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์เป็นกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ผู้รับประกันภัยที่ออกให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผู้เอาประกันภัย
กฎของเฮก (HAGUE RULES) จะมีอยู่อย่างไรหรือไม่และจะมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใด เป็นข้อเท็จจริงที่ฝ่ายกล่าวอ้างจะต้องนำสืบ เมื่อมิได้นำสืบให้ปรากฏรายละเอียด จึงไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัยทางทะเล และผลของกฎเฮกต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลของบริษัทโจทก์ชื่อผู้เอาประกันภัยคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยชื่อเรือที่ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยคือฟาร์อีสท์นาวีการเรียกร้องตามกรมธรรม์นี้จะชำระให้ที่กรุงเทพมหานครโดยโจทก์และตอนท้ายของกรมธรรม์ระบุชื่อโจทก์และผู้ที่ลงนามเพื่อและในนามผู้รับประกันภัยคือโจทก์นอกจากนั้นในแต่ละลายมือชื่อยังระบุตำแหน่งด้วยว่าลายมือชื่อแรกประธานกรรมการลายมือชื่อที่สองกรรมการผู้จัดการและลายมือชื่อที่สามผู้จัดการทางทะเลจึงเป็นการแสดงออกชัดเจนว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลและออกกรมธรรม์ฉบับดังกล่าวหาใช่กรรมการโจทก์ออกกรมธรรม์และลงนามในฐานะส่วนตัวไม่การที่มิได้ประทับตราของโจทก์ในกรมธรรม์หาได้ทำให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดเจนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่และเมื่อโจทก์ได้ยอมรับเอากรมธรรม์ดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์เป็นกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ผู้รับประกันภัยที่ออกให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยผู้เอาประกันภัย กฎของเฮก(HAGUERULES) จะมีอยู่อย่างไรหรือไม่และจะมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใดเป็นข้อเท็จจริงที่ฝ่ายกล่าวอ้างจะต้องนำสืบเมื่อมิได้นำสืบให้ปรากฏรายละเอียดจึงไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: การไม่ปฏิบัติตามคำรับรองในกรมธรรม์ ทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า น. จดทะเบียนจำนองเรือพิพาทเป็นประกันหนี้ที่บุคคลต่าง ๆ มีต่อโจทก์ ส่วนจำเลยได้รับประกันภัยเรือพิพาทจากผู้รับโอนกรรมสิทธิ์เรือ เรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุไม่สามารถใช้การได้ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ได้รับประกันภัยแก่โจทก์ แต่จำเลยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยทำให้โจทก์ไม่มีหลักประกันที่จะบังคับชำระหนี้ได้อีกต่อไปจึงขอให้บังคับเอาเงินประกันภัย เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายในเรื่องช่วงทรัพย์ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าไร และหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาแก่บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สัญญาประกันภัยทางทะเลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 868 ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล แต่กฎหมายทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความเป็นคำรับรอง(Warranty) ของผู้เอาประกันภัยว่า เรือพิพาทจะได้รับการตรวจสภาพและจะปฏิบัติตามคำแนะนำภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มคุ้มครองจึงเป็นคำมั่นสัญญาของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดตาม พระราชบัญญัติ ประกันภัยทางทะเล 1906 ของประเทศอังกฤษมาตรา 33 เมื่อเรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุอับปางซึ่งจะเกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามคำรับรองหรือไม่ก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยฝ่าฝืนคำรับรองผู้รับประกันภัยย่อมปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการตรวจสภาพเรือและการรับรองของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทางทะเลที่ทำขึ้นนั้น เมื่อประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณี จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4เมื่อกรมธรรม์ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายของอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไป ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความให้ผู้เอาประกันภัยนำเรือไปตรวจสภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ซ่อมแซมเรือ ตามกฎหมายอังกฤษข้อความดังกล่าวเป็นคำรับรองของผู้เอาประกันภัย เป็นคำมั่นสัญญาที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และไม่จำต้องมีข้อความต่อท้ายว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติแล้วผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิด ผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก่อนนำเรือออกทะเล เมื่อเรืออับปางที่ต่างประเทศ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดการที่บริษัทรับประกันภัยต่อได้จ่ายเงินให้จำเลยในรูปสินไหมกรุณา ซึ่งเป็นเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แม้จะมีความเห็นว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจเข้ารับช่วงทรัพย์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6649/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ
บริษัท ฟ. ได้ส่งสินค้าให้โจทก์ทางทะเล โดยโจทก์เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่จำเลย การประกันภัยดังกล่าวเป็นสัญญาประกันภัยทะเลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 868 ซึ่งจะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเลแต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเลเกี่ยวกับสัญญาประกันภัยทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณีเกี่ยวกับสัญญาเช่นว่านั้น เรื่องอายุความฟ้องเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยในคดีนี้จึงต้องนำไปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 20 หมวด 2 ว่าด้วยการประกันวินาศภัย อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสาม (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: การสูญเสียสิ้นเชิงจากภัยทางทะเลและการพิจารณาความเสียหายของสินค้าบรรทุก
กฎหมายทะเลของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฎ เมื่อเกิดมีคดีขึ้น จึงควรเทียบวินิจฉัย ตามหลักกฎหมายทั่วไป.
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรยึดกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศ อังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉีย.
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Peril of the sea" นั้น ย่อมหมาย ถึงภยันตรายใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่ หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความ หมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเล หรือเนื่องจากทะเล.
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย หรือตรังกานูออก จากท่ากรุงเทฯ จะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือ โคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจม เรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ใน ที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมา ปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำ,แล้วได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่ง ป้อมผีเสื้อสมุทร ปูน ซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอัน ตรายทางทะเล แล้วบริษัทผู้รับประกันต้องรับผิด ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: 'อันตรายทางทะเล' ครอบคลุมความเสียหายจากเหตุสุดวิสัยที่ทำให้เรืออับปางและสินค้าเสียหาย
กฎหมายทะเลของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ เมื่อเกิดมีคดีขึ้น จึงควรเทียบวินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "PERILOFTHESEA" นั้น ย่อมหมายถึงภยันตรายใดๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้ หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะเลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความหมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเลหรือเนื่องจากทะเล
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย เรือตรังกานูออกจากท่ากรุงเทพฯจะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือโคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจมเรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ในที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมาปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำแล้ว ได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่งป้อมผีเสื้อสมุทร ปูนซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิงดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอันตรายทางทะเลแล้ว บริษัทผู้รับประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
of 2