พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจำเลยบางส่วน ก็ไม่ได้หมายความว่าเอกสารพิพาทเป็นเอกสารปลอม
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การพิสูจน์เอกสารปลอมต้องมีผลชี้ขาดในคดีอาญา
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์ที่ศาลจังหวัดปัตตานีจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วยกรณีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) ที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น คดีนี้ศาลจังหวดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรมดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ให้จำหน่ายคดีโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนมานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อำนาจพิจารณาคดี: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้ศาลอื่นประทับฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาหมิ่นประมาทต่อศาลจังหวัด ก. เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 ไว้แล้ว โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัด ป. อีกในวันรุ่งขึ้น ฟ้องคดีหลังของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัด ป. ไม่ชอบไปด้วย แม้ศาลจังหวัด ก. จะไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาหลังจากศาลจังหวัด ป. มีคำสั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลจังหวัด ป. มีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลจังหวัด ก. ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเป็นศาลแรก จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วย
กรณีที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้รับประทับฟ้องไว้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 เดิม ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาคดีแรกต่อไปได้
กรณีที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้รับประทับฟ้องไว้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 เดิม ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาคดีแรกต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา โจทก์ต้องนำสืบองค์ประกอบความผิดครบถ้วนจึงจะประทับฟ้องได้
ในคดีอาญาแม้จะเป็นเพียงชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ครบองค์ประกอบความผิดที่ได้ฟ้อง จึงจะทำให้คดีโจทก์มีมูลอันจะพึงประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167
ข้อเท็จจริงตามฟ้องและในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งให้หยุดกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดชั่วคราว และขนสินค้าทั้งหมดของห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยออกไปตรวจนับที่อื่นโดยไม่ให้โจทก์มีส่วนรู้เห็นและใช้เวลาในการตรวจสอบนานกว่าปกติก่อนที่จะแจ้งโจทก์ว่าสินค้าสูญหายไปจากบัญชีโดยอ้างว่าสินค้ามีปริมาณมากและโจทก์ไม่ยอมส่งมอบบัญชีรายรับ รายจ่ายของห้างฯ ให้แก่จำเลย อีกทั้งสมุดบัญชีของห้างฯ ยังกระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องทำให้ยากต่อการตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบล่าช้า การที่โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าตรวจพบว่าสินค้าที่จำเลยอ้างว่าสูญหายนั้นไปปรากฏในช่องรายการจ่ายของสมุดคุมยอดจำนวนสินค้าอันแสดงว่าสินค้าเหล่านั้นไม่ได้หายไปในวันที่จำเลยทำการตรวจนับสินค้า แต่ถูกจำหน่ายไปภายหลังโดยจำเลยมีเจตนายักยอกเอาเป็นของตน โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นชัดว่าการที่สินค้าสูญหายเกิดจากการที่จำเลยเจตนาเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้านั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตอย่างไร เพราะหากจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นจริง จำเลยย่อมไม่นำรายการสินค้าที่ตนยักยอกมาลงในรายการจ่ายดังกล่าวให้เป็นพยานหลักฐานผูกมัดตนเป็นแน่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบความจริงในข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นนี้จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าคดีโจทก์มีมูลตามข้อกล่าวหา
ข้อเท็จจริงตามฟ้องและในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งให้หยุดกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดชั่วคราว และขนสินค้าทั้งหมดของห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยออกไปตรวจนับที่อื่นโดยไม่ให้โจทก์มีส่วนรู้เห็นและใช้เวลาในการตรวจสอบนานกว่าปกติก่อนที่จะแจ้งโจทก์ว่าสินค้าสูญหายไปจากบัญชีโดยอ้างว่าสินค้ามีปริมาณมากและโจทก์ไม่ยอมส่งมอบบัญชีรายรับ รายจ่ายของห้างฯ ให้แก่จำเลย อีกทั้งสมุดบัญชีของห้างฯ ยังกระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องทำให้ยากต่อการตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบล่าช้า การที่โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าตรวจพบว่าสินค้าที่จำเลยอ้างว่าสูญหายนั้นไปปรากฏในช่องรายการจ่ายของสมุดคุมยอดจำนวนสินค้าอันแสดงว่าสินค้าเหล่านั้นไม่ได้หายไปในวันที่จำเลยทำการตรวจนับสินค้า แต่ถูกจำหน่ายไปภายหลังโดยจำเลยมีเจตนายักยอกเอาเป็นของตน โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นชัดว่าการที่สินค้าสูญหายเกิดจากการที่จำเลยเจตนาเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้านั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตอย่างไร เพราะหากจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นจริง จำเลยย่อมไม่นำรายการสินค้าที่ตนยักยอกมาลงในรายการจ่ายดังกล่าวให้เป็นพยานหลักฐานผูกมัดตนเป็นแน่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบความจริงในข้อนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นนี้จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าคดีโจทก์มีมูลตามข้อกล่าวหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการประทับฟ้องคดีอาญา - ตัวการร่วม
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลเนื่องจากจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และคดีดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างพิจารณา กรณีเช่นนี้จึงถือได้ว่าจำเลยอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาได้
จำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 83 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
จำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 83 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพลเรือนจำกัดเมื่อจำเลยเป็นนายทหาร การประทับฟ้องก่อนทราบสถานะจำเลยเป็นกระบวนการผิดหลง
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องและคำให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลพลเรือนด้วยเหตุจำเลยรับราชการทหารตรงกับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นไว้ และข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลชั้นต้นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีจำเลยก่อนมีคำสั่งประทับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องไปอีกหลายครั้งและได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งรับประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดหลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในเวลาต่อมาภายหลังเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งประทับฟ้องไว้ในขณะที่ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาคดีทหาร แม้ประทับฟ้องไปแล้ว หากทราบสถานะทหารก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและให้ส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องให้แก่จำเลยที่โรงเรียนพลาธิการโดยยืนยันว่าเป็นสถานที่จำเลยรับราชการทหารอยู่ จำเลยยื่นคำร้องและให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลพลเรือนด้วยเหตุจำเลยรับราชการทหาร ดังนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลชั้นต้นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการจำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 16(1) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีจำเลยก่อนมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดหลงที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในเวลาต่อมาภายหลังนั้นเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาดให้ถูกต้องหาใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งประทับฟ้องไว้ในขณะที่ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีอาญา และการฟ้องเท็จ มีความผิดแม้ศาลยังมิได้ประทับฟ้อง
คดีก่อนโจทก์เข้าร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 188 จำเลยที่ 2 เบิกความเท็จต่อศาลศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัย หากแต่ได้วินิจฉัยกับพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 1 เข้าเบิกความในฐานะพยานซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จไม่ได้ และคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวที่ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่หยิบเอาภาพถ่ายใบหย่าไป ไม่ได้หยิบเช็คตามฟ้องนั้นเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฉีกเช็คของโจทก์อันเป็นข้อสำคัญในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ฉีกเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่า โจทก์ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จ แม้ศาลได้พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและโจทก์ในคดีดังกล่าวยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย จำเลยที่ 1ยังมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นความผิดต่อเมื่อศาลได้ประทับฟ้องไว้แล้ว