พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: โจทก์มีสิทธิวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของ ศ. ลูกจ้างและก่อนถึงแก่ความตาย ศ. ไม่ได้เลี้ยงดูโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตของ ศ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ซึ่งจำเลยก็วินิจฉัยเฉพาะในปัญหานี้ว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในชั้นพิจารณาของจำเลยจึงไม่มีปัญหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศ. มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของจำเลยและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. หรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
การนำคดีไปสู่ศาลแรงงานกรณีผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ฯ มาตรา 53 วรรคหนึ่ง ผู้อุทธรณ์สามารถกระทำได้เฉพาะในปัญหาที่ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น ผู้อุทธรณ์จะนำปัญหาอื่นที่ตนมิได้อุทธรณ์ไปสู่ศาลแรงงานย่อมมิได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่วินิจฉัยคำร้องที่โจทก์ขอรับเงินทดแทนกรณี ศ. เสียชีวิตว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. และโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตาย โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนเนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตายหรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นปัญหาเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270-3272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้ไม่ใช่ประเด็นอุทธรณ์โดยตรง
การโต้แย้งคัดค้านเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา โดยไม่ประสงค์ถึงกับให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปนั้น หาจำต้องถึงขั้นทำเป็นอุทธรณ์ไม่ เมื่อจำเลยโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาโดยทำเป็นเพียงคำแก้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยังไม่ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถือเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่งได้ และไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลตัดสินแล้ว และประเด็นอายุความ ต้องไม่ขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาหนี้ตามสัญญา
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำให้การจำเลยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยเฉพาะประเด็นอื่นที่ยังมิได้ดำเนินการเท่านั้น จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความขึ้นอีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอายุความแล้วหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งศาลที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งศาลที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทุกประเด็น โจทก์อุทธรณ์แล้วห้ามตัดสิทธิการพิจารณา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต ยกฟ้องฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครองเพื่อจำหน่ายอีกฐานหนึ่งด้วย ศาลชั้นต้นได้สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยขึ้นมายังศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาตตามอุทธรณ์ของจำเลยเท่านั้น โดยฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์ไม่อุทธรณ์ จึงเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นเจตนาทำร้ายร่างกาย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 และ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มิได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ในข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ผลคดี, ค่าขึ้นศาล: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นก่อนได้ หากมีผลให้คดีเสร็จสิ้น ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น และค่าขึ้นศาลต้องเป็นไปตามทุนทรัพย์
การวินิจฉัยคดี เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรที่จะหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจกระทำเช่นนั้นได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วมีผลให้คดีเสร็จไปแล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้ย่อมเท่ากับคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบเนื่องจากเสนอเข้ามาโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจประเด็นต่าง ๆ ตามคำฟ้องที่ไม่ชอบย่อมเป็นอันตกไปทั้งสิ้น ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้อีก
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะประเด็นตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เพียงชั้นศาลละ 200 บาทเท่านั้น
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะประเด็นตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เพียงชั้นศาลละ 200 บาทเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194-2195/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาชี้ การพิจารณาคำร้องเลิกจ้างต้องพิจารณาประเด็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจริง และเหตุผลในการเลิกจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 โดยอ้างว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าผู้คัดค้านทั้งสองได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวของผู้ร้องหรือไม่และหากผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีมีเหตุอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองด้วยการเลิกจ้างได้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาหลักฐานเพื่อฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องหรือไม่แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองด้วยการเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยที่ตรงประเด็นแห่งคดีแล้ว และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการสอบสวนของผู้ร้องรายงานมา คำสั่งของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 51วรรคหนึ่งและมาตรา 52 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ระบุประเด็นอายุความ ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาส่งสำนวนคืน
คดีนี้เนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นคงมีเพียงคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและ ค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น หาได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิพากษาคดีได้ด้วยวาจาซึ่งไม่จำต้องจดแจ้งรายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ก็ตาม แต่ก็ต้องมีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ด้วย มิฉะนั้นคู่ความย่อมไม่อาจอุทธรณ์ได้โดยชัดแจ้งเนื่องจากไม่ทราบว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีอย่างไร เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง จึงต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 และยังรับวินิจฉัยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อศาลฎีกาของจำเลยที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาที่เคยวินิจฉัยแล้ว ห้ามฟ้องใหม่
คู่ความในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าเป็นฉบับที่ถูกต้องแท้จริง จึงได้พิพากษาให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้วการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวเป็นสัญญากู้ยืมเงินปลอมจึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148