คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีแรงงานที่ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสำคัญก่อนตัดสิน หากไม่ทำ คำพิพากษาเป็นโมฆะ
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลย ทำให้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานนับแต่วันที่ลาออกแล้ว อันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งศาลแรงงานกลางจะต้องมีคำวินิจฉัย แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาโดยรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างเมื่ออายุ 50 ปี เพราะเหตุเกษียณอายุโดยมิได้รับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบ และยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานจริงหรือไม่ หากโจทก์ยื่นใบลาออก โจทก์ยื่นเมื่อใด การที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออกหรือจำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะเหตุโจทก์เกษียณอายุ ถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุแห่งคำวินิจฉัย ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสำคัญเรื่องการลาออกหรือเลิกจ้างก่อนพิพากษาคดีแรงงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีโดยมิได้รับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบ และยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ยื่นใบลาออกจากงานจริงหรือไม่ทั้งการที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออกหรือจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์เกษียณอายุ ถือว่าเป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 51 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก หากข้อความเท็จนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ไม่ถือว่ามีความผิดฐานเบิกความเท็จ
++ เรื่อง ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
คดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ผู้ตายมีประเด็นว่าจำเลยเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลและมีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 หรือไม่ กับจำเลยเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 หรือไม่ ส่วนข้อที่ว่า ม.มีทรัพย์มรดกอะไรบ้างจำนวนเท่าใด ไม่ใช่ประเด็นในคดีดังกล่าว การที่จำเลยเบิกความเท็จว่าบ้านเป็นของม. จึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8707/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาก่อนสืบพยาน: ศาลมีอำนาจหากเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมและเกี่ยวข้องประเด็นสำคัญ
แม้สำเนาสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังจะมิใช่หลักฐานโดยตรงในเรื่องการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ถือเป็นพยานสำคัญในการชั่งน้ำหนักพยานโจทก์ แล้วนำไปเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่าที่นาของโจทก์ ปัญหาเรื่องการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ นับว่ามีผลต่อรูปคดี อย่างมาก เพราะอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน หลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลในการงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปากอ.และ น.กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่าพยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ.และ น.มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ.เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: ประเด็นสำคัญ vs. ประเด็นปลีกย่อย
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ที่บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้นหมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อย สำหรับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ได้บุกรุกเข้าไปปลูกสร้างเรือนในที่ดินพิพาท สำหรับคดีแพ่งคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริง ส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 2บุกรุกเนื้อที่เท่าไร เป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญาหรือตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้ เป็นเพียงข้อปลีกย่อยในรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันอีกในชั้นพิจารณา ซึ่งโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 จะต้องสืบพยานในประเด็นนี้กันต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายและการไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญของศาล
ตามสัญญาท้ายคำให้การและฟ้องแย้งกำหนดให้โจทก์ทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนด และตามหนังสือบอกเลิกสัญญาเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งก็มีข้อความว่าโจทก์มิได้เข้าทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยกำหนดด้วยเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การและฟ้องแย้ง ในวันชี้สองสถานจำเลยก็แถลงว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่ชำระค่าเช่าและไม่ทำการค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ทำการค้าขายตามเวลาที่กำหนดในสัญญาหรือไม่การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ แม้ไม่คัดลอกคำพิพากษาทั้งหมด การปรับดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับมิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้ คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ย ในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่า จำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้า กับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลง ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดิ่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องและการจับกุม รวมถึงผลของการสอบสวนที่ไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นปัญหาสำคัญ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยจะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายและอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มาในฟ้อง ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158
ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ปัญหาที่ว่าการจับกุมจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 เพียงแต่ห้ามไม่ให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง หรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ต้องหาเพื่อจูงใจให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้นเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนทำการฝ่าฝืนก็มีผลเพียงว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นใช้เป็นหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณาไม่ได้ตามมาตรา 134 ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จ: เจตนาครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
ในคดีก่อนประเด็นที่สำคัญของคดีก็คือ โจทก์ในคดีดังกล่าวได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีหรือไม่ จำเลยเบิกความแต่เพียงว่า ผ.ยกที่พิพาทให้โจทก์ในคดีดังกล่าวแต่ผู้เดียว จึงเป็นข้อเท็จจริงในส่วนปลีกย่อย ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177
of 8