พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยก็โดยอาศัยข้ออ้างที่ต้องวินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันและเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะยกขึ้นว่ากล่าวในคดีเดิมได้ เมื่อศาลในคดีเดิมได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยที่ 3 คดีนี้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจนำประเด็นเรื่องว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันมารื้อร้องฟ้องกันอีก แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 พ่วงเข้ามาในคดีนี้อีกแต่ก็เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามเพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิม ช. ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 อันเป็นที่พิพาทคดีนี้ โดยโจทก์ให้การและนำสืบต่อสู้คดีว่า โจทก์และ พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้อง ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าที่ดิน 1 ไร่เศษ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทและเป็นของ ช. ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำพิพากษาคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และโจทก์คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า เจ้าหน้าที่ได้ออก น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ซึ่งมีชื่อจำเลยทั้งสองในทะเบียนที่ดินทับที่ดินของโจทก์และ พ. โดยจำเลยทั้งสองดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจาก ช. ทำให้โจทก์และกองมรดกของ พ. ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และมรดกของ พ. กับขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 จาก ช. และ ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ในคดีเดิม ดังนี้ เมื่อคดีมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นชำระหนี้จำนองครบถ้วนหรือไม่ เป็นประเด็นเดียวกันกับคดีก่อน แม้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากธนาคารจำเลยฐานละเมิด ซึ่งมีสาเหตุมาจากประเด็นข้อโต้เถียงว่าโจทก์ชำระหนี้จำนองให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วหรือไม่ โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนถอนจำนองด้วย แต่ศาลมีคำพิพากษายกคำขอที่ให้จดทะเบียนถอนจำนองเนื่องจากโจทก์ยังมีภาระดอกเบี้ยค้างชำระ จึงฟ้องบังคับให้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองไม่ได้ และแม้ว่าศาลในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่าโจทก์ชำระหนี้ตามที่จำเลยทวงถาม ซึ่งย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้รับชำระดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วแต่ศาลก็ได้กล่าวต่อไปว่า การที่จำเลยเพิ่งจัดทำบัญชีคู่ขนานขึ้นมาเองในภายหลังโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีความถูกต้องเพียงใด หาอาจนำขึ้นมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไม่ อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ชำระหนี้ที่เหลือในส่วนดอกเบี้ยครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งเป็นเพียงการชี้ถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่แจ้งหนี้ส่วนดอกเบี้ยที่จำเลยอ้างว่าคิดผิดให้โจทก์ทราบ หาได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วแต่อย่างใดไม่ ส่วนคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็วินิจฉัยในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์ยังมีดอกเบี้ยค้างชำระแก่จำเลยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้เพราะฎีกาไม่แจ้งชัดดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างว่าโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยยังไม่ครบถ้วน และเมื่อปรากฏว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ไม่เคยชำระหนี้จำนองให้แก่จำเลยอีก ประเด็นที่ว่าโจทก์ชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นเดียวกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องละเมิดซ้ำในประเด็นที่ศาลแรงงานเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ข้อเท็จจริงยุติฟังไม่ได้ว่าจำเลยแอบอ้างชื่อ ก. สั่งซื้อและรับสินค้าจากโจทก์โดยไม่ชำระราคา และการที่จำเลยแต่งตั้งสมาชิกชื่อ ร. อาจเป็นเรื่องที่จำเลยสำคัญตัวบุคคลผิด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาหรือจงใจทำให้โจทก์เสียหายยกฟ้องแย้ง คดีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุการแต่งตั้งสมาชิกทั้งสองรายโดยไม่มีตัวตนอยู่จริงเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีใหม่ในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้าม
คู่ความในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าเป็นฉบับที่ถูกต้องแท้จริง จึงได้พิพากษาให้จำเลย(โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวเป็นสัญญากู้ยืมเงินปลอม จึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2543 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ ศาลยกฟ้อง เหตุเคยวินิจฉัยประเด็นเดียวกันแล้ว
ในคดีล้มละลาย ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ประเด็นพิพาทในคดีจึงมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.และ ส.ล้มละลาย แต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส.ยังมีที่ดินอีก 11 แปลง ที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.และ ส.ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวการที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส.ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน เมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน เป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกัน และเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.และ ส.ล้มละลาย แต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส.ยังมีที่ดินอีก 11 แปลง ที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.และ ส.ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวการที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส.ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน เมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน เป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกัน และเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้อง เหตุเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ประเด็นพิพาทในคดีจึงมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ล้มละลาย แต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลง ที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนเมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกันและเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกันซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ล้มละลาย แต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลง ที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนเมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกันและเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกันซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็น แห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน อีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์ นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฟ้องขอค่าเสียหายซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานได้วินิจฉัยว่า ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด แล้ว การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้โดยอ้างเหตุตามที่บรรยาย ในฟ้องเดิมทุกประการเพียงแต่เน้น ว่าการกระทำก่อนที่จำเลย มีคำสั่งเลิกจ้างนั้นไม่ชอบ แล้วเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยนับแต่วันถูกเลิกจ้าง และค่าเสียหายแก่ชื่อเสียงกับประโยชน์อื่นที่สูญเสีย เนื่องจากถูกเลิกจ้าง และขอให้ศาลวินิจฉัยว่าก่อนที่จำเลย เลิกจ้างโจทก์ จำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาโจทก์โดยมิชอบ แล้วในที่สุดเลิกจ้างโจทก์ เท่ากับโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษา ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นั่นเอง ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาล ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน: คำพิพากษาศาลถึงที่สุดมีผลผูกพัน แม้เปลี่ยนรูปคดี
ที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยตั้งรูปคดีมาใหม่ว่าโจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ ซึ่งแตกต่างกับรูปคดีของคดีก่อนซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกันคือโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคแรก