พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีอาวัลจากธนาคารตามปกติประเพณี หากไม่มีผู้ขายมีสิทธิปฏิเสธได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคา 60 ล้านบาทเศษ โดยมีข้อตกลงว่า โจทก์วางมัดจำในวันทำสัญญาไว้ 2 ล้านบาท และจะจ่ายเงินอีก16 ล้านบาทเศษในอีก 8 เดือน ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนจำนวนที่เหลืออีกประมาณ 42 ล้านบาท โจทก์จะชำระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีกำหนดใช้เงินหลังจากที่โอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 1 ปีเศษ โดยในสัญญามิได้ระบุว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ต้องชำระนั้นต้องให้ธนาคารเป็นผู้อาวัลด้วย กรณีเช่นนี้ศาลจำต้องค้นหาเจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 และในการตีความการแสดงเจตนานั้นต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 ด้วย เมื่อโจทก์ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าจำเลยย่อมมีอำนาจต่อรองในการทำสัญญามากกว่าจำเลย จำเลยจะได้รับเงินที่เหลืออีก 42 ล้านบาทเศษเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหลังจากทำสัญญาแล้วถึง2 ปี ดังนั้น การที่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์นำมามอบให้แก่จำเลยไม่มีอาวัลของธนาคารย่อมทำให้จำเลยไม่มีหลักประกันว่าจะได้รับเงินเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด ประกอบกับหลังทำสัญญาโจทก์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อลงทุนในโครงการสำหรับที่ดินที่ทำสัญญากับจำเลยนี้รวม 155 ล้านบาท เพื่ออาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน 43 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับจำนวนตามตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีนี้ อันแสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัติและปกติประเพณีของการซื้อขายที่ดินที่มีราคาสูง หากผู้จะซื้อที่ดินจะต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระค่าที่ดินผู้ออกตั๋วจะต้องให้ธนาคารอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวด้วย ประเพณีเช่นนี้แม้มิได้เขียนไว้ในสัญญาก็ต้องถือว่าเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติโดยปริยาย การที่โจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยโดยไม่มีอาวัลของธนาคาร จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8602/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงที่ดินเช่าเพื่อทำการเกษตร การกระทำเป็นการใช้ทรัพย์ตามประเพณี ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดกัน จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์เพื่อทำสวนส้มในที่ดินทั้งของโจทก์และจำเลย โดยจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ มีกำหนดการเช่า 22 ปี จำเลยได้ทำการขุดดินจากที่ดินของโจทก์ไปถมในที่ดินของจำเลย เพื่อให้ที่ดินของโจทก์และจำเลยมีระดับพื้นดินเท่ากัน เมื่อพิจารณาถึงสภาพภูมิประเทศรวมถึงที่ตั้งของที่ดิน ทั้งสองแปลงดังกล่าวแล้วพบว่าเป็นที่ราบลุ่ม หากปีใดมีฝนตกมากอาจเกิดน้ำท่วม บางปีก็แล้งน้ำ การทำสวนผลไม้จึงต้องขุดร่องน้ำเพื่อเก็บกักน้ำและทำคันดินกั้นน้ำรอบสวนด้านนอก เพื่อป้องกันน้ำท่วม อีกทั้งในการขุดร่องน้ำนี้ต้องเกลี่ยหน้าดินในแปลงให้มีระดับพื้นดินเท่ากันก่อนจึงจะขุดร่องน้ำและทำคันดินกั้นน้ำได้ การที่จำเลยขุดหน้าดินใน ที่ดินของโจทก์แล้วนำไปถมในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการปรับปรุงที่ดินทั้งของโจทก์และของจำเลยให้มีสภาพ เหมาะสมแก่การทำสวนส้ม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้ทรัพย์ที่เช่าตามประเพณีนิยมปกติ และเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยปรับแต่งหน้าดินให้เรียบหรือให้คงไว้ในสภาพเดิมได้ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์และการไม่ถือว่าการสมรสตามประเพณีเป็นการสิ้นสุดภาวะผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามป.พ.พ. มาตรา 20, 1448, 1457ป.วิ.อ. มาตรา 15, 221ป.วิ.พ. มาตรา 225, 249
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
เด็กหญิง ย.อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ.แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรส หรือมีการจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ.ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
เด็กหญิง ย.อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ.แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรส หรือมีการจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ.ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาจากการไล่ผีปอบ: ศาลฎีกาตัดสินว่าการกระทำเพื่อความเชื่อทางประเพณี ไม่ถือเป็นความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษ
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกต้องการไล่ผีปอบออกจากร่างของผู้ตายได้ใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกตีผู้ตายล้มลง แล้วใช้ด้ามมีดตีศีรษะผู้ตาย ด้ามมีดทำด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 8.5 นิ้วจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ถ้าตีศีรษะผู้ตายโดยแรงและตีนาน ๆย่อมทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ จำเลยตีผู้ตายนานถึง 2 ชั่วโมงผู้ตายมีรอยฟกช้ำที่หน้าผาก โหนกแก้ม ศีรษะบวมช้ำแบบศีรษะน่วมความตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการทำร้ายของจำเลยกับพวกจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการไล่ผีปอบตามความเชื่อและตามประเพณีท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมา แม้การทำร้ายใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมงจนผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นเรื่องของการไล่ผีปอบ ไม่ได้เป็นการกระทำที่แสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)กรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงาน นายจ้างต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีใช้ไม่ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้ มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้
ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่
ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้ลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงานเองต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีไม่อาจบังคับใช้ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้ ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: การปฏิบัติตามกฎหมายสำคัญกว่าประเพณี
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา70 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์นี้แต่ประการใดศาลอุทธรณ์จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 132(1) แล้ว. โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ได้ตกลงกับทนายจำเลยให้มารับสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลสั่งแล้วซึ่งเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่ทนายจำเลยไม่มารับโจทก์มิได้เพิกเฉย ดังนี้ ถือว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมั้นและการรับผิดในสัญญาหมั้น: ต้องมีของหมั้นตามประเพณี จึงจะถือเป็นการหมั้นตามกฎหมาย
การหมั้นและจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง อันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้น ดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้.
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมั้นตามประเพณีและกฎหมาย การเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหมั้นต้องมีการมอบของหมั้น
การหมั้นและจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง อันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณีเมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองหากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุอันจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุอันจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปลงศพตามประเพณี ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดตามฐานานุรูปของผู้ตาย ไม่ใช่จำนวนเงินที่ใช้จ่ายทั้งหมด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ อีกด้วย นั้น จะต้องพิเคราะห์ตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ว่าถ้ามีการใช้จ่ายเงินทำศพตามประเพณีเป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดทั้งหมด