พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดหนี้ผู้ค้ำประกันไม่กระทบความรับผิดของลูกหนี้รายอื่นในหนี้ตามคำพิพากษา
แม้นางสาวสุพรรณีกับจำเลย และผู้ค้ำประกันคนอื่น ๆ จะร่วมกันค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของบริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด ด้วยกัน และโจทก์จะได้รับชำระหนี้จากนางสาวสุพรรณีบางส่วน กระทั่งโจทก์ปลดหนี้ให้โดยได้ถอนฟ้องนางสาวสุพรรณีในคดีแพ่งดังกล่าวด้วย การที่โจทก์ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 23817/2532 ที่พิพากษาตามสัญญายอม โดยนางสาวสุพรรณีมิได้ร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้ นางสาวสุพรรณีจึงมิได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยในหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้อง แม้โจทก์จะปลดหนี้ให้แก่นางสาวสุพรรณีก็ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันคนต่างด้าว: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การปลดหนี้, อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้ เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสาม และหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อน ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดหนี้จากการผ่อนผันค่าปรับในสัญญาประกันตัวคนต่างด้าว ผู้บังคับการมีอำนาจผูกพันโจทก์
จำเลยทำบันทึกรับรอง ฉ. คนต่างด้าว ภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง กรุงเทพมหานครโจทก์ แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่จัดการส่ง ฉ. เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยอ้างว่าจำวันนัดผิด โจทก์สอบสวนแล้วเห็นว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะผิดเงื่อนไขการรับรอง จำเลยทำคำร้องขอผ่อนผันการปรับตามบันทึกรับรองต่อโจทก์ ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์ ได้มีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลยแล้ว อันเป็น คำสั่งที่เป็นอำนาจหน้าที่ของโจทก์โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์กระทำไปตามอำนาจในฐานะเป็นคู่สัญญากับจำเลยส่วนอธิบดีกรมตำรวจมิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจ ถือว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 แล้วหนี้ค่าปรับตามสัญญาดังกล่าวจึงระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่การปลดหนี้ หากเกิดจากการถูกหลอกลวงให้มอบเอกสารคืน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน 4,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน4,000,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันด้วยกลอุบายหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลดหนี้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืนนั้นเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้อุบายหลอกลวงจึงมิใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยปลดหนี้สัญญา: การที่คนต่างด้าวป่วยเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยไม่ส่งตัว ห. คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะห. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่มีเจตนาปฏิบัติผิดเงื่อนไขสัญญาที่ต้องจัดการให้ ห.เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับตามสัญญา ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามกฎหมาย เมื่อผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองมีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายทั้งในฐานะคู่สัญญากับจำเลยโดยตรงแล้วหนี้ค่าปรับจึงระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนการศึกษาต่างประเทศ: การเข้ารับราชการชดใช้ทุนครบถ้วนถือเป็นการปลดหนี้
พ.ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาโทภายในประเทศจนจบการศึกษาแล้ว แต่ยังรับราชการชดใช้ทุนไม่ครบถ้วนก็ได้รับทุนให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศตามความต้องการของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการอีก หลังจากจบการศึกษาแล้วกรมวิชาการได้ขอโอนพ. จากกรมการศึกษาฝึกหัดครูโจทก์ซึ่งพ. รับราชการอยู่ไปรับราชการที่กรมวิชาการเพื่อชดใช้ทุนสำหรับการลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ จนกระทั่งครบตามสัญญา และอนุญาตให้พ. ลาออกจากราชการ โดยเวลาที่รับราชการนั้นไม่พอที่จะใช้ทุนทั้งสองรายได้ครบถ้วน เป็นการจัดให้พ. เข้ารับราชการชดใช้ทุนสำหรับการลาศึกษาต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะแล้วและถือได้ว่าเป็นกรณีที่พ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เข้ารับราชการชดใช้ทุนโดยระบุว่าเป็นการชดใช้ทุนสำหรับ การลาศึกษาต่อต่างประเทศอันจะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคหนึ่งที่จะต้อง ให้หนี้รายนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อนหนี้รายที่พ. ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อภายในประเทศ เมื่อพ. ได้ปฏิบัติราชการที่กรมวิชาการชดใช้ทุนครบตามสัญญารายนี้แล้ว พ.จึงไม่ผิดสัญญาศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อพ.ไม่ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค - การลงวันที่เช็คโดยสุจริตตามข้อตกลง - การถอนฟ้องจำเลยที่ 5 ไม่เป็นการปลดหนี้
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2519 จำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยไม่ลงวันที่แล้วนำไปขายให้โจทก์โดยขอเวลาไว้ 3 ปี จึงให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินระหว่างนี้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดมาจนถึงเดือนตุลาคม2520 จึงหยุดชำระ โจทก์จึงลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็คแล้วเก็บรอไว้จนครบ 3 ปี จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 3มกราคม 2521 การที่โจทก์ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็คจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตตามข้อตกลง และเป็นกรณีจำเลยที่ 1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า "จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5" ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า "จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5" ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค, การลงวันที่เช็คโดยตกลง, การถอนฟ้องไม่ปลดหนี้
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2519 จำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยไม่ลงวันที่แล้วนำไปขายให้โจทก์โดยขอเวลาไว้ 3 ปี จึงให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินระหว่างนี้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดมาจนถึงเดือนตุลาคม2520 จึงหยุดชำระ โจทก์จึงลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็คแล้วเก็บรอไว้จนครบ 3 ปี จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2521 การที่โจทก์ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2520 ในเช็ค จึงเป็นการกระทำโดยสุจริตตามข้อตกลง และเป็นกรณีจำเลยที่ 1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า 'จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5' ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องว่า 'จำเลยที่ 5 ถึงแก่กรรมเสียแล้วโจทก์จึงขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5' ดังนี้ หาใช่เป็นการแสดงความประสงค์ปลดหนี้ให้จำเลยที่ 5 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาท ก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่า ๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป