คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลอมแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าและข้อความเลียนแบบ ต้องเข้าข่ายปลอมแปลงหรือทำให้เข้าใจผิดจึงจะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272
เครื่องหมายบริการ แถบสี "น้ำเงิน - เขียว" โดยไม่มีลักษณะพิเศษนั้นไม่ใช่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในความหมายแห่งบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 272 (1) สำหรับรูปลักษณ์และข้อความ "เราคนไทยใช้บางจาก" นั้น จำเลยทั้งสองใช้ป้ายรณรงค์ที่เลียนแบบเครื่องหมายสัญลักษณ์มือของโจทก์ เพียงแต่ของโจทก์นั้นใช้สัญลักษณ์มือขวา ส่วนของจำเลยทั้งสองนำสัญลักษณ์มือซ้ายมาใช้ โดยมีข้อความล้อเลียนว่า "เราชาวไทย" แต่ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้น จะต้องเป็นการนำชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ซึ่งชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ที่นำมาใช้นี้ต้องนำมาใช้ในชื่อหรือข้อความเดียวกัน หรือในรูปรอยประดิษฐ์ ที่ตั้งใจให้เหมือนกันในลักษณะปลอมไม่ใช่เพียงแต่เลียนแบบ ส่วนการที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (2) นั้น จะต้องเป็นการเลียนป้ายหรือสิ่งอื่นในทำนองเดียวกัน จนประชาชนน่าจะหลงเชื่อว่าสถานที่การค้าของตนเป็นสถานที่การค้าของผู้อื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์อยู่ใกล้เคียงบริเวณดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นความผิดต่างกรรมกัน หากกระทำต่อผู้เสียหายคนละราย
เมื่อระหว่างวันที่ 22 กันยายน 2535 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2538 จำเลยปลอมใบถอนเงินและใช้ใบถอนเงินดังกล่าวถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย รวม 20 ครั้ง อันเป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว ต่อมาระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2537 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 จำเลยได้ปลอมโดยพิมพ์ข้อความในสมุดคู่ฝากที่ธนาคารออกให้แก่นาง บ. และนาย ส. เพื่อให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อว่าเป็นสมุดบัญชีเงินฝากที่แท้จริง และบุคคลทั้งสองมีเงินฝากอยู่ในบัญชีตรงตามจำนวนที่จำเลยทำขึ้น อันเป็นการกระทำเพื่อปกปิดความผิดฐานปลอมและใช้ใบถอนเงินปลอม จึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละคนกัน เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336-3337/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารสิทธิ การทำลายเอกสาร และความรับผิดของผู้สั่งการกระทำผิด
โจทก์ที่ 1 ส่งสำเนาคำขอกู้และหนังสือกู้เงินโดยไม่ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลแต่พนักงานสอบสวนรับรอง สำเนาถูกต้องโดยไม่ปรากฏว่าสำเนานั้นไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้น ศาลรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 238
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในคำขอกู้เงินในฐานะปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนผู้จัดการ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่า ช. ถึงแก่ความตายแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธตั้งแต่ชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมปลอมคำขอกู้และหนังสือกู้เงินและไม่ได้ใช้คำขอกู้และหนังสือกู้เงินปลอม จึงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ฐานปลอมคำขอกู้เงินและหนังสือกู้เงินราย ช. หรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ชอบแล้ว
บ. เผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้ จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่กรณีเป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12540/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน: ปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า
แม้รูปลายเส้นคล้ายปีกนกตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเป็นรูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้นำรูป รอยประดิษฐ์นี้ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าจนมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร อันมีผลให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่หากผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบรับรองตรวจสภาพรถไม่ใช่เอกสารราชการ ปลอมแปลงเอกสารเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 264 และ 268
ใบรับรองการตรวจสภาพรถเป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกมอบให้บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อตรวจสภาพรถยนต์และออกใบรับรองเพื่อเป็นหลักฐานว่ารถยนต์ได้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว พนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ออกใบรับรองไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ใบรับรองการที่ออกโดยพนักงานของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) การที่จำเลยปลอมใบรับรองดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามมาตรา 265แต่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 เมื่อจำเลยนำใบรับรองไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งเพื่อใช้ประกอบการเสียภาษีประจำปีจึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารดังกล่าวแล้วใช้เอกสารปลอมที่จำเลยทำขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268วรรคสอง แต่กระทงเดียว
อ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ และไม่มีผลเป็นการอนุญาตให้ฎีกาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยไม่ร้ายแรงศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยลดลงให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและรอการลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร แต่การมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิด
จำเลยมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และยังขูดลบเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนอีกด้วย นับเป็นการกระทำความผิดอย่างอุกอาจ ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ทั้งหากจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวก่อเหตุใด ๆ ขึ้น ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงส่อแสดงถึงพฤติการณ์ที่ไม่สุจริตของจำเลย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย จำเลยจะอ้างว่ามีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวนั้น ก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
การที่จำเลยขูดลบเครื่องหมายทะเบียนอาวุธปืนของเจ้าพนักงานออกทั้งหมดเป็นเพียงการทำลายเอกสารไม่ใช่การปลอมเอกสาร เพราะไม่มีเอกสารเหลืออยู่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า และการจำหน่ายสินค้าปลอม โดยศาลฎีกาได้พิจารณาแก้ไขโทษและยกฟ้องบางข้อหา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งมาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2496 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 5พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 หลังวันที่พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ใช้บังคับแล้ว 1 ปีเศษ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเก็บไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไม่น่ากลัวอันตราย มีปริมาณเกินกว่า 10,000 ลิตร ไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนแล้ว โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลัง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้นยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ส่วนการกระทำของจำเลยนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังและยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกยกเลิกไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยระหว่างวันเวลาดังกล่าวเป็นความผิดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ฉ้อโกง, และการกำหนดโทษสำหรับความผิดหลายกระทง
จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าร้านค้า โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบกิจการอยู่ในร้านค้านั้น ต่อมาจำเลยที่ 3 เป็นผู้นำใบบันทึกการขายปลอมรวม 4 ฉบับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใบบันทึกการขายปลอมจำนวน 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมได้โอนเงินให้แล้ว ส่อแสดงให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกันในกิจการร้านค้าที่จำเลยที่ 1 ทำการค้าขายอยู่นั้นด้วย ในการนำใบบันทึกการขายและใบสรุปยอดการขายบัตรเครดิตไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คงมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 หมุนเวียนกันไปโดยไม่มีบุคคลอื่น นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาในคดีร่วมกันปลอมและใช้บัตรเครดิตและใบบันทึกการขายอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกง โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหาดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการปลอมและใช้บันทึกการขายปลอม และมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้า: ใช้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แทน ป.อ. มาตรา 273 หากมีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ครอบคลุม
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรนั้น พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 ได้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โดยเฉพาะแล้ว ส่วนความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 273 มีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 เพียงแต่มีโทษเบากว่าเท่านั้น จึงถือได้ว่าบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 273 ในส่วนที่เกี่ยวกับการปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเป็นบทบัญญัติที่มีบัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงต้องใช้ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 แทน ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรจึงไม่ต้องปรับบทความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 273 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม: การแยกพิจารณาเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยปลอมใบรับคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ ต่อมาจำเลยใช้เอกสารราชการปลอมดังกล่าวและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ ลงในแบบข้อมูลผู้ขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศอันเป็นเอกสารราชการ และในวันเดียวกันหลังจากจำเลย ใช้เอกสารราชการปลอมและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ดังกล่าวแล้ว จำเลยปลอมหนังสือข้อมูลผู้ขอหนังสือเดินทางอันเป็นเอกสารราชการ การปลอมเอกสารราชการ ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัว โดยแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ เพียงแต่เมื่อจำเลยนำเอกสารราชการปลอมฉบับแรกไปใช้และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ จำเลยมีเจตนาเดียวคือให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อในความถูกต้องแท้จริง ของเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว และจำเลยยังต้องมีความผิดฐานปลอมหนังสือข้อมูลผู้ขอหนังสือเดินทางอันเป็นเอกสารราชการ อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
of 15