พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปลัดอำเภอทำการแทนนายอำเภอในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และประเด็นการนอกฟ้อง
ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือไม่ เป็นข้อที่ โจทก์ไม่เคยกล่าวไว้ในฟ้องเลย ฉะนั้น ฎีกาโจทก์ ในข้อนี้จึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นแม้ศาลชั้นต้น จะได้สั่งรับฎีกาโจทก์เรื่องนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ด้วยผลของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 มาตรา 79 และมาตรา 80 ช. ปลัดอำเภอตรี ซึ่งเป็นกรมการอำเภอ หากมียศสูงกว่าผู้อื่นในขณะที่นายอำเภอทำการไม่ได้ในหน้าที่ชั่วคราวช. ก็ต้องเป็นผู้แทนของนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งของนายอำเภอที่ตนเป็นผู้แทนหรือต้องกระทำการแทนนั้นทุกอย่าง รวมทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมรายนี้ด้วย ส่วนข้อที่ว่าให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอนั้น ตามมาตรา 78 บัญญัติไว้ในทำนองว่าในเวลาผู้ใดทำการแทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ตราดังกล่าวประทับทุกครั้งเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีปลัดอำเภอรับรองบุคคลต่างด้าว และการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่ากรมการ อำเภอแม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย กรณีจึงต้อง ถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลย ที่ให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง ๆที่ทราบว่า ท. เป็นบุคคลต่างด้าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2509 วางระเบียบ ใน การสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วม กับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยนั้นก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ แต่ คดี นี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ จำเลยแถลงร่วมกันว่าให้สืบพยาน ข.ปลัดอำเภอผู้กระทำการแทนนายอำเภอ ในขณะทำพินัยกรรมฉบับพิพาทในประเด็นเดียวว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับที่จำเลยอ้างหรือไม่ หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับดังกล่าวและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงแล้วโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การจำเลยและโจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่า ข.เบิกความว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้ผู้ตายและพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริง ดังนี้ แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมที่ทำนอกสถานที่โดย ข.ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอในขณะที่นายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จึงมิได้ทำพินัยกรรมโดยฐานะเป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอก็ตาม และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1658 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ เป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองก็ตาม แต่เมื่อไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ในที่ใดว่านายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอจะมอบหมายหรือสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดดำเนินการแทนไม่ได้ และเมื่อนายอำเภอได้สั่งให้ ข.ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภอ อันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข.ย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ดังนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงสมตามคำท้าของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
นายอำเภอสั่งให้ ข. ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภออันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข. จึงมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพิเศษในความผิดมาตรา 157: การละเว้นหน้าที่ต้องมุ่งให้เกิดความเสียหายโดยตรง
คำว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด" ในมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นั้น ต้องถือว่าเป็นเจตนาพิเศษ เมื่อโจทก์นำสืบ ไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ ไม่จับกุมไม้รายนี้ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้โดยตรง แต่เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมุ่งหมายจะช่วยราษฎรผู้กระทำความผิดเท่านั้น จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ทำโดยปลัดอำเภอ แต่ใช้ได้ในฐานะพินัยกรรมธรรมดา
การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้ทำ ต่อมามีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสามบัญญัติให้โอนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ การทำพินัยกรรม เอกสารฝ่ายเมืองในปัจจุบันจึงตกเป็นอำนาจและหน้าที่ ของนายอำเภอ เป็นผู้ทำซึ่งถ้านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติก็ตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้รักษาราชการแทนตามมาตรา 42 การที่นายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แต่ติดราชการจะไปท้องที่ จึงสั่งให้ปลัดอำเภอ ช่วยไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแทนเพื่อให้งานเสร็จไปโดยเร็วนั้น ปลัดอำเภอผู้นั้นเป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอ หาใช่เป็น ผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอไม่ การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง นั้นจึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ เมื่อ พินัยกรรมนั้นเจ้ามรดกได้ทำต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน อนุโลมเข้าแบบพินัยกรรมธรรมดาตามมาตรา 1656 จึงสมบูรณ์ใช้ได้ เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามมาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ปลัดอำเภอไม่ได้เขียนเอง และการแบ่งสินสมรสตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658(2) มิได้บัญญัติว่ากรมการอำเภอต้องจดข้อความในพินัยกรรมด้วยตนเอง ปลัดอำเภอผู้ทำหน้าที่กรมการอำเภอตามมาตรานี้ย่อมใช้ให้คนอื่นจดแทนได้ ส่วนอนุมาตรา 4 ของมาตรานี้ที่ว่าให้กรมการอำเภอจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา 1 ถึง 3 นั้น เมื่อพินัยกรรมมีข้อความดังกล่าวเป็นตัวอักษรแบบพิมพ์ และปลัดอำเภอก็ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญท้ายข้อความนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นข้อความที่ปลัดอำเภอจดลงไว้ด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ กรณีปลัดอำเภอลงนามในใบอนุญาตเกินอำนาจ
จำเลยเป็นปลัดอำเภอมีหน้าที่รับคำขอและสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับการขออนุญาตให้และมีอาวุธปืน แล้วทำความเห็นเสนอต่อนายอำเภอ เมื่อนายอำเภออนุญาต จำเลยก็มีหน้าที่กรอกข้อความในใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเสนอนายอำเภอ ลงลายมือชื่อในฐานะนายทะเบียนท้องที่ จำเลยไม่มีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อได้ ดังนี้ หากจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยเองในใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้วประทับตราตำแหน่งนายอำเภอเป็นการปลอมตนว่าเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจลงนามในใบอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตนี้ก็ไม่ใช่ใบอนุญาตอันแท้จริง เพราะไม่ได้ลงนามพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณประโยชน์: การพิสูจน์ความเป็นที่สาธารณะโดยการใช้ประโยชน์กว่า 50 ปี และอำนาจสั่งการของปลัดอำเภอ
ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่สั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ ได้บรรยายว่าที่สาธารณประโยชน์นั้นอยู่ตำบล อำเภอใด และวันเดือนปีที่จำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด อีกทั้งได้กล่าวถึงบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จำเลยพอเข้าใจข้อหาได้แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและหลงต่อสู้ จึงไม่เคลือบคลุม (จำเลยอ้างว่า ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยบุกรุกเมื่อใด ที่ที่บุกรุกอยู่ตรงไหน เนื้อที่เท่าใดได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อใด ประกาศให้ประชาชนทราบเมื่อใด ไม่ได้ประกาศในราชกิจจาฯ หรือออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โจทก์ไม่เสนอประกาศมาพร้อมฟ้อง)
ที่สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) ทั้งเป็นมาไม่น้อยกว่า 50 ปี มีมาก่อนประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯ พ.ศ.2478 ไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามหรือสงวนแต่ประการใด ทางราชการจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่สารสำคัญ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า ปลัดกิ่งอำเภอฯ ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เป็นแต่เพียงขยายความ จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพังแล้ว เท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่
ที่สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) ทั้งเป็นมาไม่น้อยกว่า 50 ปี มีมาก่อนประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯ พ.ศ.2478 ไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามหรือสงวนแต่ประการใด ทางราชการจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่สารสำคัญ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า ปลัดกิ่งอำเภอฯ ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เป็นแต่เพียงขยายความ จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพังแล้ว เท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยปลัดอำเภอเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอาวุธปืนและทำให้เอกสารสูญหาย มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนอาวุธปืนส่งเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งอนุญาตแล้วจึงเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ร้องขออนุญาตนั้น หากรับคำขอจดทะเบียนและเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมทั้งหมดเสีย และทำให้คำขอจดทะเบียนสูญหายไปบ้างบางส่วนนั้น จำเลยย่อมมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 หาผิดตามมาตรา 151, 154, 157, 158, 352 ด้วยไม่