คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลูกสร้างอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารร่นระยะอาคารโดยมิชอบ โจทก์แบ่งแยกที่ดินหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติ จำเลยมีสิทธิไม่อนุญาตต่อเติม
ก่อนโจทก์ปลูกสร้างอาคาร ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้ติดกับทางสาธารณะซึ่งด้านทิศเหนือมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตรทิศใต้กว้างประมาณ 2.20 เมตร ถึง 3 เมตร และตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 72 วรรค 2 ได้กำหนดไว้ว่าตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร แต่โจทก์ได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแนวตะเข็บกว้างประมาณ 0.80 เมตร ไปตลอดแนวเขตกั้นไว้ระหว่างที่ดินแปลงที่จะปลูกสร้างอาคารกับทางสาธารณะก่อนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างประมาณ 20 วัน เห็นได้ชัดว่าโจทก์ทำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครมิฉะนั้นจะต้องถอยร่นแนวอาคารทั้งสองด้านห่างทางสาธารณะประมาณ 4.50 เมตรถึง 5 เมตร จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะอ้างว่าที่ทำแนวตะเข็บดังกล่าวเพื่อขยายทางสาธารณะ และทางจำเลยที่ 1 ขยายทางสาธารณะแล้วก็ตาม โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร โดยต้องถอยร่นแนวอาคารให้ห่างทางสาธารณะที่ขยายแล้วด้วย แม้เขตพระนครจะเคยอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคาร 4 ชั้นแล้วในการพิจารณาคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเติมอาคารเป็น 11 ชั้น จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิพิจารณาถึงการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษให้ถูกต้อง
ปัญหาว่าอาคารที่ปลูกสร้างจะเป็นอาคารพาณิชย์หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมหรือไม่ แต่กลับอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชยกรรมจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กฎหมายที่บังคับขณะที่กระทำผิดและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีทั้งส่วนที่เป็นคุณและไม่เป็นคุณคละกัน ศาลใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับกฎหมายและวางโทษใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตปลูกสร้างอาคารตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง
ภายหลังที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบางส่วนของตำบล ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารด้วย จำเลยจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้าง ต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน 60 วัน ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการปลูกสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิในอาคารยังเป็นของผู้ปลูกสร้างจนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินของผู้ร้องรวม 4 คูหา เมื่อปลูกสร้างเสร็จแล้วผู้ร้องจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 รวม 3 โฉนดและจำเลยที่ 1 จะยกอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วให้ผู้ร้องจำนวน 1 คูหานั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน มีผลทำให้จำเลยที่ 1มีสิทธิปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของผู้ร้อง โดยไม่ถือว่าอาคารพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารไม่เสร็จและไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องก็ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกแล้วจำนวน 3 โฉนดให้จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อาคารพิพาทจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง แต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ผู้ปลูกสร้าง ส่วนที่ผู้ร้องได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อจนเสร็จบริบูรณ์ สมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นเรื่องผู้ร้องไปว่ากล่าวตามสิทธิต่อไป ไม่อาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์อาคารพิพาทจากการยึดในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569-6571/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน, และขอบเขตการอุทธรณ์ของโจทก์
การปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 77 ต้องเป็นกรณีปลูกสร้างอาคารในท้องที่ที่มีอาคารเป็นจำนวนมากปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดินก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยการป้องกันอัคคีภัยการสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวแก่การจราจร และจะต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นด้วยข้อเท็จจริงเหล่านี้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้าง หรือนำสืบในศาลชั้นต้นและไม่ปรากฏในสำนวนจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเจ้าของอาคารซึ่งตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ปรับวันละ 1,000 บาท และเมื่ออาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารตามมาตรา 70 อีกมาตราหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับจำเลยเพิ่มอีกสิบเท่าเป็นปรับวันละ 10,000 บาท
ชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง, 65 วรรคสอง และ 70 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนซึ่งเท่ากับว่าโจทก์ไม่ติดใจขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยวันละ 10,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารสูงเกินกำหนดตามเทศบัญญัติฯ และละเมิดสิทธิเพื่อนบ้านเรื่องทางลมและแสงสว่าง
ตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครหลวงกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2483 ข้อ 59 และ 60 การปลูกสร้างอาคารซึ่งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 8 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า 4 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณหน้าอาคารของจำเลยที่ 1 ติดขอบซอยหรือขอบถนนกว้าง 4.60 หรือ 5.40 เมตรเท่านั้น การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยหัวหน้าเขตจำเลยที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพิพาทสูงเกิน 8 เมตร จึงไม่ชอบด้วยเทศบัญญัติดังกล่าว แม้จะกำหนดให้ปลูกสร้างร่นห่างจากซอยเข้าไปด้านหลังอีก 3 เมตรก็ตาม
การที่ศาลพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทส่วนที่สูงเกิน 8 เมตร หาเป็นการก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่ เพราะการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทเกิดขึ้นจากฝ่ายบริหารปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่าคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก่อนจำเลยสร้างอาคารพิพาท บ้านของโจทก์ได้รับลมและแสงสว่างจากภายนอกพอสมควร เมื่อจำเลยสร้างอาคารพิพาทแล้ว ลมไม่พัดเข้าไปในบ้านของโจทก์และแสงสว่างก็ลดน้อยลง อาคารพิพาทสูงกว่าบ้านโจทก์มากอาคารที่จำเลยสร้างปิดกั้นทางลมที่พัดจากทางด้านทิศใต้ถึงปีละ 6 เดือนและปิดกั้นแสงสว่างเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพ้นดินของตน แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 การใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควร เพราะตรงที่จำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็นย่านประชาชนอยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหรือประกอบธุรกิจ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะกำจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารสูงเกินกำหนดในพื้นที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครหลวงกรุงเทพ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2483 ข้อ 59 และ 60 การปลูกสร้างอาคารซึ่งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 8 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า4 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณหน้าอาคารของจำเลยที่ 1 ติดขอบซอยหรือขอบถนนกว้าง 4.60 หรือ 5.40 เมตรเท่านั้น การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยหัวหน้าเขตจำเลยที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพิพาทสูงเกิน 8 เมตรจึงไม่ชอบด้วยเทศบัญญัติดังกล่าว แม้จะกำหนดให้ปลูกสร้างร่นห่างจากซอยเข้าไปด้านหลังอีก 3 เมตรก็ตาม การที่ศาลพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทส่วนที่สูงเกิน 8 เมตร หาเป็นการก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่ เพราะการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทเกิดขึ้นจากฝ่ายบริหารปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่าคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก่อนจำเลยสร้างอาคารพิพาท บ้านของโจทก์ได้รับลมและแสงสว่างจากภายนอกพอสมควร เมื่อจำเลยสร้างอาคารพิพาทแล้ว ลมไม่พัดเข้าไปในบ้านของโจทก์และแสงสว่างก็ลดน้อยลง อาคารพิพาทสูงกว่าบ้านโจทก์มากอาคารที่จำเลยสร้างปิดกั้นทางลมที่พัดจากทางด้านทิศใต้ถึงปีละ 6 เดือนและปิดกั้นแสงสว่างเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพ้นดินของตน แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควร เพราะตรงที่จำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็นย่านประชาชนอยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหรือประกอบธุรกิจ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะกำจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผนังปิดช่องทางเดินแล้วให้เช่าใช้ ถือเป็นการปลูกสร้างอาคาร ต้องขออนุญาต
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้อง โจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้ เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร'ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร สิทธิครอบครองเมื่อผิดสัญญา การละเมิดสิทธิครอบครอง
ฟ้องคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องนางพรรณเพ็ญแขเป็นจำเลยกล่าวหาว่านางพรรณเพ็ญแขผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ โจทก์ได้รับความเสียหายขอเรียกค่าเสียหาย ส่วนฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องนายฮักเมี้ยกับพวก 4 คนเป็นจำเลย กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่ได้บุกรุกเข้ามารบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในตลาดท่าเตียนที่โจทก์เช่ามาจากนางพรรณเพ็ญแขเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาเช่าใหม่ได้ และขอห้ามจำเลยทั้งสี่เข้าเกี่ยวข้องและให้ขนย้ายออกไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 กับฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องคนละเรื่อง คนละประเด็น และจำเลยคนละคนกัน แม้ศาลจะอนุญาตให้นางพรรณเพ็ญแขจำเลยในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยก็ตาม ก็เป็นฟ้องไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกสร้างอาคารซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่า และผู้เช่าได้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะเช่าทรัพย์ คือ ผู้เช่าเป็นผู้เช่าและครอบครองทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างผู้เช่าธรรมดาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นพิเศษ คือเป็นเรื่องผู้เช่าเช่าที่ดินของผู้ให้เช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารให้ผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้สิทธิต่าง ๆ ภายใต้บังคับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น เมื่อมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่าถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองยึดถือกรรมสิทธิ์บรรดาทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและอาคารของผู้ให้เช่าได้อีกต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ให้เช่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าอยู่แล้วทันทีโดยไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องมอบสิทธิครอบครองให้ผู้ให้เช่าเสียก่อนและภายหลังแต่เวลานั้นการกระทำของบุคคลอื่นใดโดยอาศัยอำนาจของผู้ให้เช่าย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิครอบครองของผู้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13 และครั้งที่ 14/2513 เฉพาะปัญหาเป็นละเมิดสิทธิครอบครองหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร: การผิดสัญญา, ค่าชดใช้, และการหักกลบลบกันของหนี้
ฎีกา มีประเด็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันไว้ในชั้นอุทธรณ์ขึ้นมาด้วยฎีกาข้อนี้เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้
สัญญาเช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ชัดเจนพอแล้วว่า ให้ผู้เช่าคือโจทก์จัดการให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่าให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี ทั้งนี้ รวมทั้งการเจรจาหรือโดยการฟ้องร้องต่อศาลทั้งสองประการ และหากผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที สารสำคัญแห่งสัญญาข้อนี้อยู่ที่ว่า โจทก์จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ผู้เช่าเดิมออกไปให้เสร็จภายใน 3 ปีมิใช่ว่าให้โจทก์ฟ้องภายใน 3 ปี เมื่อโจทก์ไม่สามารถขับไล่ให้เสร็จภายในกำหนด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
สัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแล้ว ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มาปรับแก่คดีโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินคืนจากจำเลยเฉพาะการงานที่โจทก์ได้กระทำลงไป อันจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานนั้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการเจรจาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า เมื่อในสัญญาได้ตกลงไว้ว่าผู้เช่ารับจะเป็นผู้เจรจาให้ผู้เช่าเดิมออกไปจากสถานที่เช่า หากขัดขืนก็เป็นหน้าที่ของผู้เช่าที่จะดำเนินการฟ้องขับไล่เอาเองโดยออกค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง ดังนี้ ค่าใช้จ่ายทั้งสองประการนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่จำเลยผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์จากการงานที่โจทก์ผู้เช่าได้กระทำแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ผู้เช่าได้เสียไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนจากจำเลย
ค่าใช้จ่ายในการงาน (การสร้างเขื่อน) ที่ในสัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะต้องกระทำ แต่ได้ความว่าถ้าไม่กระทำการงานนั้นโจทก์ผู้เช่าจะไม่อาจกระทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาขึ้นได้โจทก์จึงได้กระทำ (สร้างเขื่อน) ลงและจำเลยผู้ให้เช่าได้ยินยอมเห็นชอบด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นการงานที่โจทก์ได้ทำขึ้น และจำเลยได้รับประโยชน์จากการงานของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินค่าก่อสร้างให้โจทก์
ในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาย่อมมีอยู่สองประการ คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่งกับการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้วก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้
การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาเรียกร้องเป็นเงินค่าที่ทำให้จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในตึกแถว 30 ห้อง ซึ่งถ้าหากโจทก์ไม่ผิดสัญญา โจทก์จะต้องสร้างให้จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยฟ้องให้โจทก์สร้างตึกให้จำเลย ถ้าสร้างไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและสัญญาไม่มีผลบังคับแล้ว ราคาตึกที่เรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันจำเลยจะพึงเรียกได้
เงินค่าตอบแทนในการเข้าทำสัญญา เป็นเงินที่คู่สัญญาทำกันไว้ว่า เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยตกลงให้สิทธิต่าง ๆ แก่โจทก์คู่สัญญาโดยกำหนดชำระเงินกันเป็นงวด เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ถึง 13/2513)
of 2