คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่วย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีต้องแสดงเหตุให้ศาลเห็นว่าหากไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม แม้ป่วยจริงก็ต้องแสดงเหตุผลประกอบ
ในการขอเลื่อนคดีของคู่ความนั้น กฎหมายได้บัญญัติรายละเอียดและเหตุที่จะขอเลื่อนคดีไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 39 และ 40 การที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 และยื่นใบรับรองแพทย์มาด้วยเพื่อยืนยันว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยจริงไม่สามารถมาศาลได้ แม้โจทก์มิได้คัดค้านและข้อเท็จจริงจะฟังว่าทนายจำเลยทั้งสองป่วยจริงซึ่งมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่าขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจนในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง อีกทั้งการที่คู่ความขอเลื่อนคดีเพราะป่วยเจ็บ ศาลก็ไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 41 กล่าวคือ ตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจอาการป่วยเจ็บเสมอไป เพราะกรณีตามมาตรา 41 นั้น เป็นเรื่องที่ศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีป่วยถึงกับไม่สามารถมาศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความสองคนขาดนัดศาล แม้คนหนึ่งป่วย ศาลถือจงใจขาดนัด เหตุอีกคนสามารถดำเนินคดีแทนได้
แม้ตัวจำเลยหรือทนายจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อทราบวันนัดของศาล ก็ต้องถือว่าตัวจำเลยและทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลแล้ว การที่ ว. ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดของศาล จึงต้องถือว่า พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลด้วยทุกครั้ง ที่จำเลยอ้างว่า ว. เจ็บป่วย พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งก็สามารถที่จะดำเนินคดีแทนได้ ดังนั้น การที่ทนายจำเลยทั้งสองคนไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัด และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ.อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่นแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดี หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยสั่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้าย ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากป่วยและการดำเนินการตามขั้นตอนของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาศาลแล้วยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุสมควรที่จะให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและศาลชั้นต้นควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยต่อไปหรือไม่เป็นการไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41ถ้ามีการเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าผู้ใดไม่สามารถมาศาลได้เพราะเจ็บป่วยหากศาลไม่เชื่อว่าเป็นความจริงก็จะต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปตรวจและรายงานให้ศาลทราบเสียก่อน จึงจะสั่งให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้เป็นการข้ามขั้นตอน จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์ป่วย: ศาลรับฟังเหตุผลและอำนาจการไต่สวน/ตรวจสอบของศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลีย อันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง
คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องตรวจสอบอาการก่อนปฏิเสธคำร้อง
ในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นการนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่าไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย โจทก์รับสำเนาคำร้องแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริง ดังนั้นศาลชอบที่จะดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่ง คือตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลยหรือให้แพทย์ไปตรวจด้วย แล้วพิจารณาจากรายงานของผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจดังกล่าวหากเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงก็อนุญาตให้เลื่อนคดีไปตามขอ แต่หากอาการป่วยไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ก็ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของทนายจำเลย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปในทันทีว่าไม่น่าเชื่อว่าทนายจำเลยจะป่วยถึงขนาดมาศาลไม่ได้ จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบโดยไม่ได้ดำเนินการไต่สวนหรือตั้งผู้ใดไปตรวจสอบจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ และการใช้ดุลพินิจศาลในการเลื่อนคดีเนื่องจากเหตุป่วย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยอุทธรณ์มาตรา 198,200 และ 201 มีความหมายชัดเจนบังคับไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์แล้วเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งและกำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้อีกฝ่าย"และออกหมายนัดส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อความในหมายนัดว่า"ด้วยคดีเรื่องนี้ศาลได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ดังสำเนาอุทธรณ์แนบมาพร้อมหมายนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ทราบ" เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทราบเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1แก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการอุทธรณ์ คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ในการขอเลื่อนคดีครั้งที่ 2โจทก์มีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลมาแสดง ระบุว่าโจทก์มีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย เนื่องจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูงได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลและยังไม่มีกำหนดกลับบ้านการขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีเพราะตัวความป่วยเจ็บไม่สามารถมาศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่า โจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้และมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์เลื่อนคดีอีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์พร้อมทั้งพิพากษายกฟ้องในวันเดียวกัน โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่หลังขาดนัด - เหตุป่วยไข้และข้อโต้แย้งนอกเหนือจากชั้นอุทธรณ์
จำเลยร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยระบุในคำขอว่า ในวันนัดจำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอาการปวดศีรษะมากจนไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้สะดวก คำพิพากษาคลาดเคลื่อน เพราะโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่เคยร่วมกันเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดินตามฟ้องหากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีแล้วย่อมมีโอกาสชนะคดีอันจะทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ พอถือได้ว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้ง ซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสองแล้ว ปัญหาว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยป่วยจริง โจทก์ทั้งสองมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นโต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วมาพิจารณาหาได้ไม่ฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าหลังจากหายป่วยแล้วจำเลยได้พยายามแจ้งเหตุให้ศาลทราบนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้ว จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากป่วยไข้ การใช้ดุลพินิจของศาล และการไม่จำกัดการแสดงใบรับรองแพทย์
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีได้จะต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นตามที่บัญญัติไว้ในประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งศาลจะให้เลื่อนคดีหรือไม่ก็ได้ แต่ศาลก็ต้องใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลด้วย ในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นการนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่า ไม่สามารถมาศาลเพื่อซักค้านพยานโจทก์ได้เนื่องจากมีอาการปวดศีรษะ เจ็บคออันเนื่องมาจากไข้หวัด ซึ่งเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 หากข้ออ้างเป็นความจริง ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นควรให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 ดังกล่าว เมื่อโจทก์รับสำเนาคำร้องขอเลื่อนคดีแล้วแถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี โจทก์มิได้คัดค้านโดยตรงว่าจำเลยมิได้ป่วยเจ็บตามที่อ้างมา และมิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายจำเลยไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บตามที่อ้างในคำร้อง การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยนั้น ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21 (4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานของศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีนั้น ตามมาตรา 41การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้มีความสงสัยในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าป่วยเจ็บตามคำร้องดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บและไม่สามารถมาศาลได้ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้องของทนายจำเลย ส่วนข้อที่ว่าจำเลยยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาพิจารณาว่าสมควรให้เลื่อนคดี เพราะคู่ความอ้างว่าเจ็บป่วยตามมาตรา 40 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าป่วยเจ็บนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดู ว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องนั้น ตามมาตรา 41.
of 4