พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ และการพิจารณาโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับป่าไม้
ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน และปรับ 40,000 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แก้เป็นจำคุก 6 เดือนไม่รอการลงโทษเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษเพียงประการเดียว มิได้อุทธรณ์ขอให้กำหนดโทษสูงขึ้นด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดโทษจำคุกข้อหาความผิดดังกล่าวสูงขึ้น จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษเพียงประการเดียว มิได้อุทธรณ์ขอให้กำหนดโทษสูงขึ้นด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดโทษจำคุกข้อหาความผิดดังกล่าวสูงขึ้น จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้ในศาลแขวง: ไม่ต้องแนบสำเนา กฎหมาย/ประกาศ หากระบุข้อเท็จจริงการกระทำผิดชัดเจน
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา3 เมื่อตามบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามจำนวน 643 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า เป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิด แล้วหาจำต้องแนบสำเนาพระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ เพราะไม่ใช่สาระสำคัญอันทำให้ฟ้องด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ คำฟ้องของโจกท์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าปรับและวิธีการกักขังแทนค่าปรับในคดีศุลกากรและป่าไม้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200บัญญัติว่าให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับให้ผู้อุทธรณ์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์หาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทลงโทษเกินคำขอ, และการรอการลงโทษในคดีป่าไม้
แม้จำเลยตั้งใจเข้าไปเก็บเอาไม้กฤษณาเพื่อนำออกไปขายหาเลี้ยงชีพ แต่ก่อนที่จำเลยจะได้ไม้กฤษณามาเพื่อนำออกไปขาย จำเลยได้ตัดโค่นต้นไม้กฤษณาและเซาะต้นไม้กฤษณาเป็นชิ้นแล้วรวบรวมไว้ซึ่งเป็นเจตนาและการกระทำต่างหากจากการครอบครองเพื่อนำออกไปขาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ใช่ป่าไม้ การตัดไม้ในที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้มาตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงไม่ใช่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (1) การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด การที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 62 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6277/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับป่าไม้และวัตถุระเบิด ศาลลดโทษและรอการลงโทษเนื่องจากเจตนาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
แม้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้วัตถุระเบิด เอเอ็ม-เอฟโอหนัก 600 กรัมและวัตถุระเบิดจำพวกดินดำ 3 ถุง หนัก 500 กรัมทำการระเบิดหินที่บริเวณหน้าผา ของป่าหลังหมู่บ้านแต่เป็นการกระทำเพื่อนำหินที่ได้จากการระเบิดไปถมถนนส่วนที่แฉะและเป็นหลุมเป็นบ่อ อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจำเลยทั้งสามไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสามกลับตนเป็นพลเมืองดี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสาม โดยลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งและคุมความประพฤติของจำเลยทั้งสามไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาประมูลป่าไม้: หน้าที่บำรุงรักษาหลังสิ้นสุดสัญญา & การส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า"ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วนค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ตามวิธีการที่กรมป่าไม้ทั้งหมด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดสิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ จำเลย ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานโจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลงและกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทานสัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมี หน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่า หากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วยความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธี การป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับ สัมปทานยินยอมยกหกดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้ เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอน หอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าวจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้: ครอบครอง/แปรรูปไม้หวงห้ามในเขตควบคุม แม้รับสารภาพเฉพาะบางข้อหา ศาลใช้ประโยชน์จากคำรับสารภาพทั้งหมดได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7775/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้และก่นสร้างแผ้วถางป่า: หลักการลงโทษกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานก่นสร้างแผ้วถางป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11, 73 วรรคสอง และมาตรา54, 72 ตรี เมื่อเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 11, 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ต้องห้ามและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและป่าไม้
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติลพร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ. 2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก