พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในเครือเพื่อช่วยเหลือผู้ถือหุ้นและผลกระทบทางภาษี: ผลขาดทุนจากการขายหุ้นไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
บริษัทส. และโจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกันมีผู้ถือหุ้นและกรรมการชุดเดียวกัน ขณะซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้น บริษัทส.ขาดทุนสะสมมากมายจนทำให้หุ้นของบริษัทส.ไม่มีมูลค่าหุ้นแล้ว แต่โจทก์ก็ยังยอมรับซื้อในราคาหุ้นละ 50 บาท และวิธีการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นในบริษัท ส.ก็กระทำโดยขายหุ้นของโจทก์เป็นการตอบแทนให้แล้ว การซื้อขายหุ้นของโจทก์ ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัทส. ให้ได้รับเงินลงทุนคืน เพราะบริษัทโจทก์ดำเนินกิจการมีกำไร ทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทส.ซึ่งเปลี่ยนมาถือหุ้นของบริษัทโจทก์มีโอกาสได้รับเงินปันผลเป็นการตอบแทนเพื่อชดเชย การลงทุนที่ขาดทุนในบริษัทส. ส่วนบริษัทโจทก์นั้นก็มิได้ชำระเงินค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทส. เพราะโจทก์ได้ตอบแทนค่าหุ้นเป็นหุ้นของบริษัทโจทก์ และโจทก์ก็มีกำไร จากการซื้อขายหุ้นโดยซื้อในราคา 50 บาท และขายในราคา 100 บาท ทั้งโจทก์ยังคาดว่าโจทก์จะนำยอดเงินที่อ้างว่า ขาดทุนจากการขายหุ้นที่ซื้อมาให้แก่บริษัทส.มาหักเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ ทำให้ โจทก์กำไรน้อยลงอันมีผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้น้อยลงไป โจทก์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะซื้อหุ้นของบริษัทส.เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทส.ให้ก้าวหน้าและมีผลกำไรทั้งมิได้มุ่งหากำไรจากมูลค่าของหุ้นหรือจากการดำเนินกิจการ ของบริษัทส. โจทก์คงมีความมุ่งหมายเพียงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัทส. และในเวลาเดียวกันก็จะนำผลขาดทุนมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ ขายหุ้นที่ซื้อมาให้บริษัทอ. ซึ่งโจทก์ตั้งขึ้นมาใหม่ในปีเดียวกับที่โจทก์ซื้อหุ้นมาจากบริษัทส.โดยบริษัทอ.ประกอบกิจการและมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับบริษัทส. ทั้งยังตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย แม้การขายหุ้นให้แก่บริษัทอ.ดังกล่าวทำให้ขาดทุนจริง ผลขาดทุนดังกล่าวก็มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ที่โจทก์อุทธรณ์รายจ่ายค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อเป็นต้นทุนในรอบระยะ เวลาบัญชีปี 2527 มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง แต่เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนด ประเด็นพิพาทข้อดังกล่าวไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้ โต้แย้งคำสั่งกำหนดประเด็นพิพาทของศาลภาษีอากรดังกล่าวไว้ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นพิพาทในข้อนี้แล้ว อุทธรณ์ ข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ใช้วิธีการและชั้นเชิงอันแยบยล ในการช่วยเหลือ ผู้ถือหุ้นของบริษัทส.และในเวลาเดียวกันก็พยายามทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ลดลงเพื่อจะได้เสียภาษีเงินได้ น้อยลง แม้กระนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยังลดเบี้ยปรับให้โจทก์คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับได้ว่าเป็นคุณ แก่โจทก์มากอยู่แล้ว และแม้ต่อมาในภายหลังโจทก์จะได้ให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบไต่สวนก็ตามก็ไม่สมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้ลดลงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณรายได้ รายจ่าย และผลขาดทุนสุทธิ
โจทก์ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์แล้วมิได้มีการลงบัญชีหรือแสดงไว้ในแบบแสดงรายการเป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาคำนวณกับมูลค่าสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวดแล้ว เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสินค้าดังกล่าวโดยไม่ได้ลงบัญชีและมิได้นำมาแสดงในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีด้วยเมื่อไม่อาจตรวจสอบได้ว่าโจทก์มีเงินได้ที่แท้จริงเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยคำนวณหารายได้ที่แท้จริงของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากอัตรากำไรขั้นต้นถัวเฉลี่ยของอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ดังกล่าวจึงชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนถึงวันที่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ป.รัษฎากรมาตรา 65 วรรค 2 บัญญัติว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลนั้นต้องใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย โจทก์จึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ด้วย ถึงแม้โจทก์จะมิได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อก็ตาม
รายจ่ายค่าน้ำมัน โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุน ทั้งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันก็ระบุว่าเป็นเงินสดไม่ปรากฏชื่อผู้จ่ายเงิน รายจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)สำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสำนักงานเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นค่าซ่อมแซมอาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2529 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้เสียภาษีหากผู้เสียภาษียื่นแบบ อ.1 ผู้เสียภาษีจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาคิดคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายในปีต่อมาได้อีก พ.ร.ก.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้หรือปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ที่โจทก์นำผลขาดทุนสุทธิซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิในปี 2531 ถึง2532 จึงเป็นการไม่ชอบ
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกสูงกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะประมาณกำไรสุทธิขาดเกินกว่าร้อยละ 25 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีประเภทต่าง ๆรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินภาษี 2,046,305.38 บาท ซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของปี 2530 ซึ่งหากศาลวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอ จะมีผลทำให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์อาจนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร ทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปลดลงและเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 35 (อัตราในขณะนั้น)ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มจากจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ดังกล่าว
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนถึงวันที่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ป.รัษฎากรมาตรา 65 วรรค 2 บัญญัติว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลนั้นต้องใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย โจทก์จึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ด้วย ถึงแม้โจทก์จะมิได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อก็ตาม
รายจ่ายค่าน้ำมัน โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุน ทั้งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันก็ระบุว่าเป็นเงินสดไม่ปรากฏชื่อผู้จ่ายเงิน รายจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)สำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสำนักงานเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นค่าซ่อมแซมอาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2529 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้เสียภาษีหากผู้เสียภาษียื่นแบบ อ.1 ผู้เสียภาษีจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาคิดคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายในปีต่อมาได้อีก พ.ร.ก.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้หรือปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ที่โจทก์นำผลขาดทุนสุทธิซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิในปี 2531 ถึง2532 จึงเป็นการไม่ชอบ
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกสูงกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะประมาณกำไรสุทธิขาดเกินกว่าร้อยละ 25 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีประเภทต่าง ๆรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินภาษี 2,046,305.38 บาท ซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของปี 2530 ซึ่งหากศาลวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอ จะมีผลทำให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์อาจนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร ทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปลดลงและเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 35 (อัตราในขณะนั้น)ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มจากจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินรายได้และค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย, การประมาณการกำไรสุทธิ, และการหักผลขาดทุนสะสม
โจทก์ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์แล้วมิได้มีการลงบัญชีหรือแสดงไว้ในแบบแสดงรายการเป็นจำนวนมากเมื่อนำมาคำนวณกับมูลค่าสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวดแล้วเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสินค้าดังกล่าวโดยไม่ได้ลงบัญชีและมิได้นำมาแสดงในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีด้วย เมื่อไม่อาจตรวจสอบได้ว่าโจทก์มีเงินได้ที่แท้จริงเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยคำนวณหารายได้ที่แท้จริงของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากอัตรากำไรขั้นต้นถัวเฉลี่ยของอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ดังกล่าวจึงชอบด้วย ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(4) ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนถึงวันที่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง บัญญัติว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลนั้นต้องใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย โจทก์จึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ด้วย ถึงแม้โจทก์จะมิได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อก็ตาม รายจ่ายค่าน้ำมัน โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนทั้งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันก็ระบุว่าเป็นเงินสดไม่ปรากฏชื่อผู้จ่ายเงิน รายจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) สำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสำนักงานเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นค่าซ่อมแซมอาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2529 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็นพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้เสียภาษีหากผู้เสียภาษียื่นแบบ อ.1 ผู้เสียภาษีจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสิทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาคิดคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายในปีต่อมาได้อีก พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้หรือปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ที่โจทก์นำผลขาดทุนสุทธิซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิในปี 2531ถึง 2532 จึงเป็นการไม่ชอบ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกสูงกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะประมาณ กำไรสุทธิขาดเกินกว่าร้อยละ 25 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน การประเมินภาษีประเภทต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินภาษี 2,046,305.38 บาท ซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ ของปี 2530 ซึ่งหากศาลวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอ จะมีผลทำให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์อาจนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร ทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปลดลงและเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 35(อัตราในขณะนั้น) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มจากจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความข้อตกลงโบนัสและการหักผลขาดทุนทางภาษี: ศาลยืนตามสิทธิจำเลยในการหักผลขาดทุนตามกฎหมาย
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะกำหนดว่าเมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจตกลงกันในปัญหาการตีความข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งสองฝ่ายตกลงเสนอให้กรมแรงงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุดก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าคู่กรณีไม่อาจนำปัญหาดังกล่าวไปขอให้กรมแรงงานวินิจฉัยได้อีก ไม่มีความหมายถึงกับว่าหากคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่กรณีจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ใช่กฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างและสหภาพแรงงานต้องมีเหตุสมควร มิใช่แค่ผลขาดทุนหรือหลัก 'มาทีหลังออกก่อน'
การที่นายจ้างประสบปัญหาขาดทุนจนต้องลดการผลิตแต่ยังไม่ถึงกับยุบหน่วยงานเสียทั้งหน่วยหรือเลิกกิจการไปยังไม่มีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้าง อนุกรรมการ และกรรมการสหภาพแรงงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ต้องใช้กฎหมายที่บังคับใช้ในขณะคำนวณ แม้ผลกำไร/ขาดทุนจะเกิดขึ้นภายใต้กฎหมายเดิม
การคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเก็บภาษีต้องบังคับตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาคำนวณนั้น แม้ว่าผลกำไรหรือขาดทุนจะเกิดขึ้นในระหว่างยังใช้กฎหมายเดิมที่ยกเลิกไปแล้วก็ตาม ไม่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง เพราะเป็นการคำนวณตามวิธีการในกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะคำนวณกำไรเพื่อจะเก็บภาษี จะนำเอากฎหมายที่ยกเลิกไปมาใช้ในการคำนวณเพื่อเก็บภาษีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล การหักผลขาดทุนสะสมข้ามปีตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาคำนวณ
การคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเก็บภาษีต้องบังคับตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาคำนวณนั้นแม้ว่าผลกำไรหรือขาดทุนจะเกิดขึ้นในระหว่างยังใช้กฎหมายเดิมที่ยกเลิกไปแล้วก็ตามไม่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเพราะเป็นการคำนวณตามวิธีการในกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะคำนวณกำไรเพื่อจะเก็บภาษีจะนำเอากฎหมายที่ยกเลิกไปมาใช้ในการคำนวณเพื่อเก็บภาษีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักผลขาดทุนปีก่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น การคำนวณกำไรสุทธิต้องหักผลขาดทุนในปีก่อน ๆ เสียก่อน ถ้าหักแล้วยังไม่มีกำไรก็ไม่มีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี ( ป.ช.ญ.ครั้งที่ 5/2489 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักผลขาดทุนปีก่อนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเสียภาษีเงินได้ของบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคล
การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นการคำนวณกำไรสุทธิต้องหักผลขาดทุนในปีก่อนๆเสียก่อนถ้าหักแล้วยังไม่มีกำไรก็ไม่มีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนในบริษัทลูกเพื่อประโยชน์บริษัทแม่ ไม่ใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร ต้องห้ามลดหย่อนภาษี
บริษัทโจทก์ บริษัท อ. และบริษัท ฮ. ต่างเป็นบริษัทลูกของบริษัทแม่ด้วยกันย่อมรู้ข้อมูลทางการเงินซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี วันที่ 9 กันยายน 2549 โจทก์ให้บริษัท ฮ. กู้ยืมเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่บริษัท อ. ตามความต้องการของบริษัทแม่ วันที่ 6 ตุลาคม 2549 บริษัท ฮ. ออกหุ้นเพิ่มทุน 252,500,000 บาท ขายให้โจทก์แต่ผู้เดียว โดยโจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระค่าหุ้น แล้ว บริษัท ฮ. สลักตั๋วให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ ต่อมาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 บริษัท ฮ. จดทะเบียนเลิกบริษัท และวันที่ 26 ธันวาคม 2549 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ขณะโจทก์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ฮ. ปรากฏว่าผลการดำเนินงานของบริษัท ฮ. มีผลขาดทุนสะสมมาตลอด และได้หยุดการดำเนินกิจการชั่วคราวบริษัท ฮ. ไม่ได้นำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการแปลงหนี้เป็นทุนตามที่โจทก์อ้างว่าซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อหวังเงินปันผลจากการดำเนินกิจการของบริษัท ฮ. รายจ่ายผลขาดทุนจากการซื้อหุ้นเพิ่มทุน 252,500,000 บาท จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามนำเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)