คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีที่กฎหมายกำหนด หนังสือยืนยันรับรองที่ไม่เป็นพินัยกรรมจึงไม่มีผลเพิกถอน
หนังสือยืนยันรับรองที่ผู้ตายทำขึ้น ไม่มีถ้อยคำที่ระบุว่าเป็นพินัยกรรมและคำสั่งเผื่อตาย ข้อความที่ระบุให้พินัยกรรมฝ่ายเมืองฉบับแรกถือเป็นพินัยกรรมที่ใช้ได้ และข้อความที่ไม่รับรองเอกสารซึ่งผู้ตายลงลายมือชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 และขอยกเลิกเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องการยืนยันและเพิกถอนพินัยกรรมของตนที่ได้ทำไว้เท่านั้น มิใช่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 แต่ในการเพิกถอนพินัยกรรมนั้นกฎหมายกำหนดวิธีการไว้ 4 กรณี ตามมาตรา 1694 ถึงมาตรา 1697 คือการทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ การโอนหรือทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความสมัครใจและการทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดกันกับพินัยกรรมฉบับก่อนกฎหมายมิได้กำหนดวิธีการอื่นใดนอกจากนี้มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมได้ ฉะนั้น การที่ผู้ตายทำหนังสือยืนยันรับรองมีข้อความว่าไม่รับรองเอกสารฉบับลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 ที่มีผู้นำมาให้ลงชื่อ แม้จะแปลได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพิกถอนหรือไม่รับรองพินัยกรรมลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ของตนนั้น แต่เมื่อหนังสือยืนยันรับรองดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมจึงไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลแม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง และผู้รับมอบอำนาจแจ้งความหลังพ้นกำหนด
ขณะ ร. ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ ร. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์ใด ๆ ต่อพนักงานสอบสวนในกรณีที่มีการกระทำความผิดอาญาต่อทรัพย์สินของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งกระทำการใด ๆ เพื่อให้กิจการดังกล่าวสำเร็จ และในตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจยังระบุว่าการเคหะแห่งชาติยอมรับผิดตามที่ พ. ได้กระทำไปภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบทุกประการ การมอบอำนาจของ ร. จึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไปในนามของการเคหะแห่งชาติโจทก์ร่วม แม้ พ. ไปร้องทุกข์คดีนี้เมื่อ ร. พ้นตำแหน่งไปแล้ว หนังสือมอบอำนาจก็ยังมีผลใช้บังคับอยู่ พ. จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจดทะเบียนหย่ามีเงื่อนไขบังคับก่อน หากยังไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาจดทะเบียนหย่ายังไม่มีผล
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไปจดทะเบียนหย่าในวันที่ระบุ หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยไว้ก่อนแล้ว ถือว่าข้อตกลงนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อน ดังนั้นเมื่อยังมิได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลซึ่งมิใช่เป็นเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนการหย่าจึงยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่ากับโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องเป็นลูกหนี้เท่านั้น สัญญาที่บุคคลภายนอกรับแทนลูกหนี้ไม่มีผลบังคับ
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันตามสัญญารับใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งเดิมต่อคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลอุทธรณ์เคยมีไว้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฎว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นผลก็คือโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยผู้ขอคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264เป็นฝ่ายชนะคดีและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามมาตรา264วรรคสองประกอบมาตรา260(1)จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไปศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลไม่ครบและการขับไล่จำเลยนอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่กระทบผลบังคับ
หากโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบหรือไม่ถูกต้องศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เสียเพิ่มให้ครบถ้วนได้ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลให้ครบก็ทำให้ผิดพลาดเฉพาะในเรื่องการเรียกค่าธรรมเนียมศาลไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่นๆหรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจำเลยนำรถเข้าไปไถที่ดินและหว่านกล้าในที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยมาเป็นรายปีแล้วแม้จะมีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่าห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ย่อมมีความหมายว่าขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทด้วยคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทจึงไม่นอกเหนือหรือเกินคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของพินัยกรรมและการตกไปของเงื่อนไขเนื่องจากเหตุการณ์ไม่สมบูรณ์
ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า แม้ พ.และ ล.จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรม หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียว แต่พินัยกรรมข้อ 2 ระบุว่า "แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้" การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ 2 ด้วย ทั้งพินัยกรรมข้อ 2 ข.ระบุว่า หาก พ.ตายก่อน ล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมด แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรม ข้อ 2 เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วย มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 อยู่แล้ว และพินัยกรรมข้อ 2 ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ ล.ถึงแก่ความตายภายหลังอีก พินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 2 เท่านั้น หาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 1 มีผลบังคับเป็นหลักไม่
เมื่อบุตรของโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมา และ ล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับ พ.ได้ถึงแก่ความตายก่อน พ.ข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อ 2 ค.ที่ระบุให้ ล.ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่ จึงเป็นอันตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(2) เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ เมื่อ ล.ตายก่อน พ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ 2 ก. ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้ พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ 2 ข. ที่ พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้า พ.ตายก่อน ล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมด จึงตกไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1698 (2) โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของ พ.ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของพินัยกรรม: ลำดับเงื่อนไขและการตกไปของข้อกำหนดเมื่อเงื่อนไขไม่สำเร็จ
ข้อความในพินัยกรรมข้อ1ระบุว่าแม้พ.และล. จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวแต่พินัยกรรมข้อ2ระบุว่า"แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้"การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ2ด้วยทั้งพินัยกรรมข้อ2ข.ระบุว่าหากพ.ตายก่อนล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรมข้อ2เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วยมิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1อยู่แล้วและพินัยกรรมข้อ2ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ล. ถึงแก่ความตายภายหลังอีกพินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ2เท่านั้นหาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ1มีผลบังคับเป็นหลักไม่ เมื่อบุตรของโจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมาและล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับพ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนพ. ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2ค.ที่ระบุให้ล. ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้เมื่อล. ตามก่อนพ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ2ก.ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ2ข. ที่พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้าพ.ตายก่อนล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของพ. ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของพ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 ยังมีผลจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถอนหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการฟ้องคดี
การที่ พนักงานเจ้าหน้าที่รับอายัดที่ดินตามป.ที่ดินมาตรา83ไว้แล้วและผู้ขออายัดไปดำเนินคดีทางศาลภายในกำหนดเวลาการอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและไม่มีคำสั่งศาลให้ถอนการอายัดการอายัดจึงยังคงมีอยู่ตามมาตรา83วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าสาบานเป็นผลบังคับได้หากตรงกับประเด็นข้อพิพาท แม้ผู้สาบานมีชื่อซ้ำหรือต่างกัน
การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้ ก. กับ พ.ซึ่งเป็นบุคคลที่จำเลยอ้างว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยแทนโจทก์สาบานตนตามที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้กล่าวนำสาบานถ้า ก. กับ พ.สาบานได้ว่ายังไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยไปครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองยอมแพ้คดีถ้าไม่กล้าสาบานโจทก์ยอมแพ้คดีนั้น แม้ ก. กับ พ. จะมิใช่โจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียก็ตาม การสาบานตนของบุคคลทั้งสองก็เป็นเงื่อนไขที่คู่กรณีกำหนดขึ้นเพื่อให้ศาลวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในคดีทั้งคำท้าสาบานก็ตรงกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ศาลกำหนดไว้แล้ว ข้อตกลงท้ากันดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่ความ โจทก์และจำเลยทั้งสองรู้จัก ก. และ พ. ผู้สาบานซึ่งเป็นสามีภรรยากันมาก่อนในวันนัดสาบานตัว ฝ่ายจำเลยได้นำสาบานโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านเรื่องตัวผู้สาบาน ผู้สาบานได้สาบานตามคำท้าแล้ว โจทก์ จำเลยทั้งสองและผู้สาบานลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาล โดยผู้สาบานลงชื่อว่า จ. และ พ. ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน แสดงว่า ก. ซึ่งคู่ความตกลงให้เป็นผู้สาบาน กับ จ.ซึ่งสาบานและลงชื่อไว้นั้นเป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่มี 2 ชื่อภายหลังฝ่ายจำเลยจึงจะอ้างว่า จ. กับ ก. เป็นคนละคนกันไม่มีสิทธิสาบาน คำสาบานของ จ.ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหาได้ไม่.
of 6