พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญ-การขายที่ดินเพื่อหากำไร-ภาระภาษี-ผลผูกพันสัญญา
ตามพฤติการณ์ที่โจทก์กับ อ. ตกลงร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. เมื่อถึงวันโอนโจทก์ไม่ว่างจึงให้ อ. เป็นผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายที่ดินเพียงผู้เดียว การจ่ายเงินค่าที่ดินโจทก์ร่วมจ่ายกับ อ. ตั้งแต่แรกคนละครึ่ง นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินให้บริษัท ก. ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2533 โจทก์เป็นผู้เสนอขายที่ดินบริเวณแขวงตลาดบางเขน (ดอนเมือง) รวม 10 โฉนด ซึ่งรวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าว โดยมีข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับความสูงของอาคารที่จะสามารถก่อสร้างได้ ซึ่ง อ. สอบถามจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และการขอเปิดทางเข้า - ออก ผ่านที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งโจทก์ดำเนินการร่วมกับ อ. แสดงให้เห็นว่าโจทก์และ อ. ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อขายและร่วมกันขายให้แก่บริษัท ก. จึงเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
การที่โจทก์และ อ. ร่วมกันจองซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งเป็นที่นาอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟ 2.3 เมตร ไม่มีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ในราคาตารางวาละ 47,000 บาท อ. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2533 และโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 แล้วร่วมกันขายต่อให้บริษัท ก. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2533 ในราคาตารางวาละ 66,000 บาท ซึ่งเป็นการขายต่อในระยะเวลาสั้นและได้กำไรจำนวนมากโดยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับ อ. มีเจตนาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การที่โจทก์กับ อ. ขายที่ดินให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องนำรายได้จากการขายมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8), 56, 77 (เดิม) และ 78 (เดิม)
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุว่าบริษัท ก. เป็นผู้ชำระค่าภาษีจากการขายที่ดินทั้งหมดเป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาคือโจทก์กับพวกและบริษัท ก. มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลทำให้ความรับผิดของโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
การที่โจทก์และ อ. ร่วมกันจองซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งเป็นที่นาอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟ 2.3 เมตร ไม่มีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ในราคาตารางวาละ 47,000 บาท อ. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2533 และโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 แล้วร่วมกันขายต่อให้บริษัท ก. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2533 ในราคาตารางวาละ 66,000 บาท ซึ่งเป็นการขายต่อในระยะเวลาสั้นและได้กำไรจำนวนมากโดยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับ อ. มีเจตนาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การที่โจทก์กับ อ. ขายที่ดินให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องนำรายได้จากการขายมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8), 56, 77 (เดิม) และ 78 (เดิม)
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุว่าบริษัท ก. เป็นผู้ชำระค่าภาษีจากการขายที่ดินทั้งหมดเป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาคือโจทก์กับพวกและบริษัท ก. มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลทำให้ความรับผิดของโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาซื้อขายและการบังคับชำระหนี้ตามสกุลเงินที่ตกลงกัน
เมื่อโจทก์ได้กระทำการไปภายในวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ตามที่ปรากฏตามหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาโดยโจทก์มิได้มีคำขอมาจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาโดยโจทก์มิได้มีคำขอมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5343/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวสมบูรณ์ แม้จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน การกระทำเป็นตัวแทนเชิดผูกพันจำเลย
จำเลยมีคำเสนอขายข้าวสาร จำนวน 20,000 เมตริกตัน ส่งมอบเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2537 ไปยังโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ส่งข้าว คำเสนอและคำสนองดังกล่าวจึงถูกต้องตรงกัน ย่อมก่อให้เกิดสัญญาแล้ว แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระราคาและเสนอราคาใหม่ไปยังโจทก์ ถือว่าเป็นคำเสนอใหม่ โจทก์ตอบตกลงซื้อข้าวตามราคาที่เสนอมาใหม่และให้จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ แสดงว่าคำเสนอคำสนองใหม่ถูกต้องตรงกันสัญญาเกิดขึ้นแล้ว มีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเดิม และผูกพันกันตามสัญญาที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบข้าวลงเรือในเดือนตุลาคม 2537 โดยไม่มีข้อความให้จำเลยมาทำสัญญาเป็นหนังสือ แต่กลับเร่งรัดให้จำเลยส่งมอบข้าวให้ทันกำหนดเวลา แสดงว่าโจทก์ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้สัญญามีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก่อน การที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วมีหนังสือขอเลื่อนไปส่งมอบข้าวสารในเดือนธันวาคม 2537โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งว่าสัญญายังไม่ได้ลงนามเนื่องจากยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องค่าเสียหาย การค้ำประกันและการส่งมอบ ทั้งปรากฏว่ากรมการค้าต่างประเทศเคยซื้อข้าวจากจำเลยโดยส่งประกาศรับซื้อไป จำเลยตอบรับ หลังจากนั้นจำเลยส่งมอบข้าวโดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสืออีกพฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยเองมิได้มุ่งที่จะให้การซื้อขายข้าวดังกล่าวนั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือเช่นกัน ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9262/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและสัญญากู้: การลดหย่อนสินไถ่ก่อนกำหนด และผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญากู้เงินจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาว่าเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน โจทก์ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่จำเลย หากโจทก์ไถ่ถอนก่อนกำหนดจะมีส่วนลดให้ ข้อสัญญานี้ไม่ได้ขัดหรือลบล้างสัญญาขายฝาก แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ขอไถ่ที่ดินก่อนครบกำหนดโจทก์สามารถวางเงินสินไถ่ตามส่วนลดดังกล่าวได้ การนำสืบพยานของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนเงินสินไถ่และส่วนลดหาใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังคู่สัญญาเสียชีวิต และสิทธิของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทและตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างพ.กับจำเลยระบุว่าคู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่19สิงหาคม2535เมื่อถึงกำหนดนัดพ. ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัดคำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตามแต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่างพ. กับจำเลยกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่19สิงหาคม2535พ. ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังนั้นสิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของพ. ผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกการที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจากพ. ถึงแก่ความตายแล้วจึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยแต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับพ. ปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง และผลผูกพันตามสัญญา
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองรวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดตามมาตรา19แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522ดังนี้ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลยก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10229/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการทำสัญญาเช่า และผลผูกพันตามสัญญา แม้ไม่มีตราประทับ
แม้สัญญาเช่ามิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้จดทะเบียนกำหนดให้ ส.เป็นกรรมการลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าก็มีข้อความกล่าวไว้ชัดในตอนต้นแห่งสัญญาว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่ง กับบริษัท ค.โดย ส.กรรมการ ผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความเช่นนี้แสดงชัดว่า ส.ทำสัญญาในนามของโจทก์นั่นเองหาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ ทั้งจำเลยก็ได้ยอมรับผลแห่งสัญญาตั้งแต่ต้นตลอดมาจำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จะอ้างว่าสัญญาไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีก ฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘
จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีก ฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค การจัดการมรดก และผลผูกพันตามสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดกและผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไปเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วโดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลงจึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ-ผลผูกพันสัญญา: แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ผลงานรับไปแล้วถือเป็นตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างต่อเติมตึกแถวตามฟ้องโดยแนบเอกสาร การว่าจ้างมีลายมือชื่อผู้สั่งจ้างมาท้ายฟ้อง ดังนั้นกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งมีอำนาจว่าจ้างโจทก์แทนจำเลยจะเป็นใครก็ต้องเป็นไปตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งอาจจะมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้เป็นกรรมการภายหลังได้ จึงเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่า ในขณะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ผู้ใดเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าบริษัทจำเลยมี ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทน จำเลยไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ต่อเติมตึกแถวตามฟ้องเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ท.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ต่อเติมตึกแถวของจำเลย ท.ได้ลงชื่อสั่งจ้างในเอกสารหมาย จ.7โดยมีวงเล็บชื่อของบริษัทจำเลยไว้ใต้ลายมือชื่อของตน แม้จะลงชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลย แต่จำเลยได้รับเอาผลงานที่โจทก์ได้ทำตามสัญญาดังกล่าวทั้งหมดและได้ขายตึกแถวไปแล้ว ถือได้ว่า ท. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย มิใช่ ท.ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นส่วนตัว สัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นตัวการ แม้ ท. จะออกเช็คส่วนตัวชำระค่าก่อสร้างบางส่วนแก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องของ ท. กับจำเลยไม่เกี่ยวกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก สัญญาว่าจ้างต่อเติมตึกแถวเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้นในขณะฟ้องคดีโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอ้างอิงเอกสารแสดงการว่าจ้างเป็นหลักฐานแห่งคำฟ้อง เมื่อเอกสารนี้ได้มีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ – การขึ้นอัตราดอกเบี้ย – การแปลงหนี้ – ผลผูกพันสัญญา
ตามสัญญากู้ มีข้อความว่า "และถ้า ต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น..." ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มให้จำเลยทราบแล้วอีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มก็ไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีก.