คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้กระทำผิดซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56: การพิจารณารอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยไม่จำกัดประเภทความผิด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีเจตนารมณ์ที่คำนึงถึงการลงโทษจำคุกในคดีก่อนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้กระทำความผิดที่เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้วและหวนกลับมากระทำความผิดอีกเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดอีกอันเป็นการป้องปรามผู้กระทำความผิด และบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าความผิดที่ศาลจะลงโทษในคดีหลังต้องเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยเจตนา จึงไม่อาจตีความได้ว่าการกระทำความผิดในคดีหลังต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น แม้การกระทำความผิดในคดีหลังจะเป็นการกระทำความผิดโดยประมาท ศาลจะไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษซ้ำสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยศาลพิจารณาพฤติการณ์และประวัติอาชญากรรม
ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยทั้งสองไม่คัดค้าน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้าย ร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและซ่องโจร และจำเลยที่ 2 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษในคดีดังกล่าว จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดคดีนี้อีก โดยได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงให้บวกโทษคดีดังกล่าวเข้ากับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์และการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
จำเลยทั้งสี่ชักชวนกันด้วยความคึกคะนองเนื่องจากมึนเมาสุราว่าจะดักทำร้ายผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมา เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วนำเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปทิ้งในคลอง โดยที่ไม่ได้มีการพูดจาหรือตกลงกันว่าจะมาเอาในภายหลัง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ เพราะมิได้มีการกระทำที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะเอาไปเป็นของตนเองอันเป็นการแสดงเจตนาทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีเจตนาลักทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกฐานรับของโจร และภายในเวลา3 ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยที่ 1 มากระทำผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายจึงเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ไม่ได้ แต่เพิ่มโทษได้ตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 โดยไม่ได้ขอมาตรา 92 มาด้วย ก็ชอบที่จะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำทั้งปรับสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำในคดีพนัน ภายใน 3 ปี โทษปรับถือเป็นการพ้นโทษแล้ว
โทษปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่งในจำพวกโทษทั้ง 5 ชนิด ที่ลงแก่ผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนแล้วในวันเวลาใด ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษนับแต่วันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว ฉะนั้นหากจำเลยพ้นโทษปรับแล้วยังไม่ครบกำหนด 3 ปี มา กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันนี้อีกจึงเข้าหลักเกณฑ์ต้องวางโทษทั้งจำทั้งปรับตามวิธีการที่พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา14 ทวิ บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำตามพ.ร.บ.ฝิ่น: ศาลชอบวางโทษทั้งจำและปรับตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดชัดเจน
มาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 เป็นบทเพิ่มโทษซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติฝิ่นซ้ำอีก หลังจากพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งแรกไปยังไม่ครบสามปีแสดงว่าไม่เข็ดหลาบ จึงต้องเพิ่มโทษให้หนักกว่าโทษที่ลงในการกระทำความผิดครั้งแรก และเมื่อศาลได้เพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติฝิ่นแล้ว จะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยอันเป็นการเพิ่มโทษจำเลยถึงสองทางหาได้ไม่
การเพิ่มโทษตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 แม้จะมิได้บัญญัติให้วางโทษสำหรับการกระทำผิดครั้งหลังที่มีโทษจำคุกและปรับไว้ ศาลก็ชอบที่จะวางโทษทั้งจำทั้งปรับ จึงจะต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการกักกันผู้กระทำผิดซ้ำในศาลแขวง
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39 (1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก (คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการชิงทรัพย์และการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 2 นัดถูกที่ข้อมือขวา และที่ชายโครงหรือรักแร้ด้านหน้าข้างขวาถึงกระดูกซี่โครงหัก แม้จำเลยจะมีเจตนายิงเพื่อชิงทรัพย์ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายด้วย เพราะจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่า กระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย การกระทำของจำเลยจึงต้องเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย เพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกบทหนึ่ง หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม เท่านั้นไม่
อัตราโทษสำหรับความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา289 ที่จะพึงวางแก่จำเลยมีสถานเดียวคือ ประหารชีวิต แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 52(1) ให้จำคุก16 ปี เห็นได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ลดมาตราส่วนโทษที่จะลงตามมาตรา 289 เสียหนึ่งในสามตามมาตรา 80 และ 52(1)ให้แล้ว
ตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะเพิ่มโทษให้จำเลยให้ต้องจำคุกเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ แต่ถ้าศาลวางโทษจำคุก 20 ปี เพิ่มโทษขึ้นไปแล้วลดลงคงจำคุกไม่เกิน 20 ปีได้
การที่ผู้กระทำผิดมาแล้วกลับมากระทำผิดอีกจะต้องถูกเพิ่มโทษนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 93 หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มตามที่ศาลเห็นสมควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการชิงทรัพย์และการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 2 นัดถูกที่ข้อมือขวา และที่ชายโครงหรือรักแร้ด้านหน้าข้างขวาถึงกระดูกซี่โครงหัก แม้จำเลยจะมีเจตนายิงเพื่อชิงทรัพย์ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายด้วย เพราะจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายแต่เมื่อผู้เสียหายไม่ตาย การกระทำของจำเลยจึงต้องเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายเพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยได้กระทำการชิงทรัพย์เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกบทหนึ่งหาใช่เป็นเพียงความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม เท่านั้นไม่
อัตราโทษสำหรับความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ที่จะพึงวางแก่จำเลยมีสถานเดียวคือ ประหารชีวิตแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 52(1) ให้จำคุก16 ปีเห็นได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ลดมาตราส่วนโทษที่จะลงตามมาตรา 289 เสียหนึ่งในสามตามมาตรา 80 และ 52(1)ให้แล้ว
ตามมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะเพิ่มโทษให้จำเลยให้ต้องจำคุกเกินกว่า 20 ปีไม่ได้แต่ถ้าศาลวางโทษจำคุก 20 ปี เพิ่มโทษขึ้นไปแล้วลดลงคงจำคุกไม่เกิน 20 ปีได้
การที่ผู้กระทำผิดมาแล้วกลับมากระทำผิดอีกจะต้องถูกเพิ่มโทษนั้นย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92,93 หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มตามที่ศาลเห็นสมควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำฐานลักทรัพย์: เกณฑ์การพิจารณาตามประวัติโทษและการกระทำความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจร ครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41(8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการกักกันและการเพิ่มโทษของผู้กระทำผิดซ้ำ
ระหว่างฎีกามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ2499 ออกใช้โทษที่จำเลยเคยรับมาก่อนเป็นอันไม่มีจึงกักกันจำเลยไม่ได้
of 7