คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้จัดการทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกปิดภูมิลำเนาชอบด้วยกฎหมายเมื่อยังไม่ได้มีคำสั่งผู้ไม่อยู่ และการมีอำนาจของผู้จัดการทรัพย์สิน
แม้จำเลยที่ 1 จะออกจากบ้านตามภูมิลำเนาโดยไม่มีผู้ใดทราบข่าวคราวก็ตาม แต่ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่อยู่และตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนสาบสูญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 และยังมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านตามที่อยู่ในคำฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง ดังนั้น ที่อยู่ตามคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ธ. เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ไม่อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 ดังนั้น ขณะที่ ธ. ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ธ. ยังไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยศาลฎีกาเห็นควรเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องตลอดจนกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ของ ธ. เสีย และมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนการขายทอดตลาด: ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองแทนการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์และเรียกคืนทรัพย์สิน กรณีผู้ให้ทรัพย์สินมีส่วนได้เสีย
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ คำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56
ในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 โยกย้ายทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์และเรียกคืนทรัพย์สินที่ยกให้ โดยผู้ให้ทรัพย์สินมีส่วนได้เสีย
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์ และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่เด็กหญิง ก. ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ ซึ่งคำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56 และหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตามมาตรา 307 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ซึ่งตามวรรคสองกำหนดไว้ว่าคำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ดังนี้ แม้จำเลยจะฎีกาในปัญหาว่า การที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนก่อนมีคำสั่งเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนและยกคำร้องของจำเลยก็เนื่องจากพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตามคำร้องจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 307 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4มีคำพิพากษาเป็นประการใดแล้วย่อมเป็นที่สุด จำเลยจะฎีกาต่อมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึด ต้องยื่นในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มายื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดในชั้นบังคับคดี ต้องยื่นในคดีเดิม ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มา ยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน: รายได้จากสวนผลไม้ไม่เพียงพอชำระหนี้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระ ให้โจทก์รวม 14,000,000 บาทเศษ สวนผลไม้ที่โจทก์นำยึดสามารถให้ผลผลิตและรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า4,500,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างว่าสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีนั้น เป็นเพียงการคาดคะเนว่าจะมีรายได้จากผลผลิตการเกษตร ซึ่งยังไม่แน่นอน อีกทั้งกว่าจะชำระให้โจทก์ เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 5 ปี และโจทก์ ก็มิได้ให้ความยินยอม ถือไม่ได้ว่ารายได้ ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ ตามคำพิพากษา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307ที่จะตั้งผู้จัดการทรัพย์และนำรายได้ประจำปี จากทรัพย์ดังกล่าวชำระหนี้แทนการขายทอดตลาดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7754/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน: ทรัพย์สินที่ไม่มีรายได้ประจำปี ไม่อาจใช้มาตรา 307
จำเลยประกอบอาชีพพาณิชยกรรมการค้าขายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด และรับเหมาก่อสร้างงานโยธาทุกประเภทที่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดนั้น ที่ดินแปลงที่ 1 เป็นที่ดินสำหรับทำไร่ ส่วนแปลงที่ 2 เป็นที่ดินสำหรับอยู่อาศัย และทั้งสองแปลงอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีรายได้ประจำปีหรือมีการประกอบพาณิชยกรรมในขณะนั้นที่จำเลยจะขอตั้งผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินยึด: รายได้จากเช่าฟิล์มไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว 3 ชั้น 2 คูหา และห้องแถวไม้เก่า ๆชั้นเดียว จำนวน 8 ห้อง ปลูกอยู่ แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว 2 คูหา เป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนตร์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรม จำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307
of 4