คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้นำเข้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรที่ยุติและการไม่มีสิทธิคัดค้านเมื่อผู้นำเข้าไม่ยื่นอุทธรณ์
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17)ฯ ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจประเมิน การประเมินนั้นก็เป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง แม้คดีนี้จะมิใช่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินนี้เป็นที่ยุติดังวินิจฉัยมาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าต้องต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้า ต้องมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าก่อน จึงจะมีผลบังคับใช้
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและการเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112ตรี นั้นว่ามีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิอย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่า จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปี ก็ตาม แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4 ของลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี" และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมดมาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9485/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดฐานผู้นำเข้าสินค้า แม้โรงพยาบาลมิใช่นิติบุคคล ผู้แทนมีอำนาจลงนามแทน
โรงพยาบาลมิชชั่นมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย การดำเนินกิจการใดจึงเป็นการกระทำในลักษณะของกลุ่มหรือคณะบุคคล จำเลยมีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการหรือผู้จัดการโรงพยาบาลและทำหน้าที่แทนผู้อำนวยการเมื่อผู้อำนวยการไม่อยู่ แม้จำเลยจะไม่ได้ลงนามในใบขนสินค้า แต่การที่จำเลยลงชื่อในหนังสือขอยกเว้นภาษีอากรถึงกรมศุลกากร เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบุคคลหรือคณะบุคคลที่ดำเนินกิจการในนามโรงพยาบาลมิชชั่น ในการนำเข้าสินค้า จำเลยจึงเป็นผู้นำเข้าสินค้าตามมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้นำเข้าสินค้าต่อภาษีอากรและการยินยอมให้ตัวแทนเดิมดำเนินการ
ในขณะที่มีการนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จากม.มาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ ม.หุ้นส่วนผู้จัดการคนเดิมคงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อยู่ต่อไป เมื่อ ม.ลงชื่อในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าในนามจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 1 และต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงราคาไว้ไม่ถูกต้อง โจทก์ที่ 1 มิได้ยอมรับในราคาที่จำเลยที่ 1 สำแดงแต่ได้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 รับไปก่อน โดยเรียกให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรตามราคาที่สำแดง จำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาใหม่ที่ถูกต้องแท้จริงของสินค้าพิพาททำให้จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเพิ่มขึ้น แม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะชำระเงินให้แก่โจทก์ตามวงเงินในหนังสือค้ำประกันแล้ว ก็หาทำให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในเงินค่าภาษีอากรที่ขาดอยู่รวมทั้งเงินเพิ่มและค่าปรับด้วยนั้น พ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิ แม้ไม่ใช่ผู้นำเข้า/ผู้รับตราส่ง ภายใน 6 เดือน
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วย ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม
จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529 โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้ มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิแม้ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าหรือผู้รับตราส่ง
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้นพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2 ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114-1115/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้ครอบครองกับผู้นำเข้า
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 กฎหมายมิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครองก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากรหากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็น ข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรกส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครอง เป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาเป็นการลักลอบหนีศุลกากรนั้นเป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น เมื่อแปลความหมายดังนี้ จึงเห็นว่าข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งลงในบันทึกนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่า ผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกการดูของกลางว่าได้มีการขายของกลางไปจากร้านจึงมีลักษณะเป็นเพียงบันทึกดูของกลางในคดีอื่นๆทั่วไปหาได้มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2497(ฉบับที่ 12) ไม่ ฉะนั้น เรื่องหน้าที่นำสืบ การวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมเป็นไปตามหลักที่ใช้ทั่วไปแก่คดีอาญาทั้งปวง คือ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานพอให้ฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง
of 2