คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน การนับระยะเวลาอุทธรณ์ และการลดค่าปรับ
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้ว แต่ในวันนัดพร้อมผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยเนื่องจากจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลยอีก 1 เดือน ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลย ศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกัน และเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดตามจำเลยมาส่งศาลได้ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน แม้ในวันนัดพร้อมนัดต่อมา ผู้ประกันยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้ และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นนัดสุดท้ายนั้นผู้ประกันก็มาศาลแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีก ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัวจำเลย ให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว เห็นได้ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันจำนวน 1,000,000 บาท ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง การที่ผู้ประกันอุทธรณ์ว่าหลังจากศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541แล้วผู้ประกันได้ประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจให้จับกุมจำเลยในทันทีที่จำเลยเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ขอให้แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นลดค่าปรับลงด้วยถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ทั้งการขอลดค่าปรับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ขอลดค่าปรับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นก่อน เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันหลายคนในสัญญาประกันตัว: ลูกหนี้ร่วมหรือไม่
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดในคดีปรับผู้ประกัน กรณีจำเลยไม่มาศาลตามสัญญาประกัน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนโดยมี ม.เป็นผู้ประกัน ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏว่าผู้ประกันผิดนัดไม่อาจนำตัวจำเลยมาพิจารณาคดีได้เป็นการผิดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ต่อมาเมื่อผู้ประกันดำเนินการจนได้ตัวจำเลยมาศาลและขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับ ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ลดค่าปรับลงอีก ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ผู้ประกันจะฎีกาต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปรับผู้ประกันจากการผิดนัดนำตัวจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่าง สอบสวนโดยมี ม. เป็นผู้ประกัน ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏว่าผู้ประกันผิดนัดไม่อาจนำตัวจำเลยมาพิจารณาคดีได้เป็นการผิดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ต่อมาเมื่อผู้ประกันดำเนินการจนได้ตัวจำเลยมาศาลและขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ลดค่าปรับลงอีก ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ผู้ประกันจะฎีกาต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกัน การยื่นคำร้องซ้ำไม่ถือเป็นการขยายอายุอุทธรณ์
++ เรื่อง ลักทรัพย์ (ชั้นผิดสัญญาประกัน)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 36 ++
++ มีหมายเหตุ : ทวี ประจวบลาภ
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกัน การยื่นคำร้องซ้ำ และกรอบเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคแรกบัญญัติเพียงว่า เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ แต่ ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้ว่า เมื่อศาลสั่งปรับผู้ประกันแล้ว และผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น ยกคำร้องของผู้ประกัน ผู้ประกันนั้นจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา ลดค่าปรับซ้ำอีกไม่ได้ การที่ ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้พิจารณาลดค่าปรับ ให้แก่ผู้ประกันใหม่อีกนั้นก็ไม่มีเหตุส่อให้เห็นว่าเป็นการ ยื่นเกินความจำเป็น จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หรือขยายอายุอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อผู้ประกันได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2540 วันที่ 3 ตุลาคม 2540 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องทั้ง 3 ครั้งผู้ประกันย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ประกันครั้งสุดท้ายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคแรก เมื่อนับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540 ที่ผู้ประกันทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ จึงยังไม่เกิน 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องรับพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ประกันทั้งสี่ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในสัญญาประกัน: ผู้ประกันเท่านั้นที่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับจากสัญญาประกัน ไม่ใช่จำเลย
ตามสัญญาประกัน ว. ผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันก็เป็นฝ่ายที่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงหาต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกันไม่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นของดหรือลดค่าปรับจึงไม่มีผลอันจะก่อให้เกิดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ของผู้ประกันได้ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบเนื่องจากมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกัน ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของดหรือลดค่าปรับของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การอุทธรณ์คำสั่งปรับของผู้ประกัน
ข.เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก.ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก.ได้มอบให้ ข.นำที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้ ข.ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติ ทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก.หาได้มอบอำนาจให้ ข.อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับ ก.ผู้ประกันแทน ก.แต่อย่างใดไม่ข.จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกันเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนวันนัด ศาลไม่สามารถปรับผู้ประกันได้
เมื่อ จำเลย ตาย ตั้งแต่ ก่อน วันนัด พิจารณา คดี ของ ศาล ผู้ประกัน จำเลย จะ รู้ หรือไม่ รู้ ว่า จำเลย ตาย จริง หรือไม่ หรือ ผู้ประกัน จำเลย จะ ตั้งใจ หรือไม่ ตั้งใจ ที่ จะ นำ จำเลย มา ศาล ตาม นัด หรือไม่ ก็ ไม่มี ทาง ที่ ผู้ประกัน จำเลย จะ นำตัว จำเลย มา ส่ง ศาล ได้ การ ที่ ผู้ประกัน จำเลย มา ศาล ตาม นัด ใน เวลา ต่อมา จึง ไม่ใช่ ความผิด ของ ผู้ประกัน จำเลย ผู้ประกัน จำเลย จึง ไม่ผิด สัญญาประกัน ศาล ปรับ ผู้ประกัน จำเลย ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวจำเลยถึงแก่ความตายก่อนนัด - ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนถึงวันนัดพิจารณาคดีของศาล ผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่ หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยไม่นำตัวจำเลยมาศาลตามนัดในเวลาต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้
of 6