คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเงินธนาณัติคืนให้จำเลยเมื่อผู้รับไม่ไปรับเงิน และหน้าที่ของผู้ฝากในการติดต่อขอรับเงินคืน
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศพ.ศ. 2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนกับแบบธน.1ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินธนาณัติเมื่อผู้รับไม่มารับ และสิทธิจำเลยโอนเงินเข้ากองทุนเมื่อพ้นกำหนด
กรณีที่โจทก์ผู้ฝากส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศไปให้ผู้รับแต่ผู้รับไม่ไปขอรับเงินภายในกำหนด 2 เดือน นับต่อจากเดือนที่ฝากส่ง ไปรษณีย์ปลายทางจึงส่งไปรษณีย์ธนาณัติคืนไปรษณีย์ต้นทางตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน. 31ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้นทั้งไปรษณีย์นิเทศฯ ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนอีกแต่โจทก์ก็ไม่ไปขอรับเงินคืนตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศฯข้อ 204 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไปรษณีย์ธนาณัติ: หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินเอง เมื่อไปรษณีย์ไม่ต้องแจ้ง
ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนานัติในประเทศ พ.ศ. 2526 ข้อ 241.1 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนแบบธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยจึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลย เพราะโจทก์ไม่ไปขอรับเงินตามระเบียบ ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงิน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฝาก
ธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอาชีพรับฝากเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของโจทก์ผู้ฝากเงินให้ละเอียดรอบคอบ เมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินฝากกับลายมือชื่อโจทก์ในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากและสมุดคู่ฝากแล้ว เห็นได้ว่าลักษณะการเขียนและลายเส้นลายหนาแตกต่างกัน เช่นตัว "ย" เป็นต้น เมื่อปรากฏด้วยว่าลายมือในใบถอนเงินฝากก็มิใช่เป็นของโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นสิ่งผิดปกติ เพราะหากโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเองก็น่าจะต้องกรอกข้อความทั้งหมดด้วยตนเอง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงควรจะต้องสอบถามให้ได้ความว่าผู้ใดเป็นผู้กรอกข้อความร่วมกับผู้ถอนหรือขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มิได้กระทำ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตรวจลายมือชื่อโจทก์โดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งผู้ตรวจในภาวะเช่นจำเลยที่ 4 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยที่ 4 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เพียงแต่ทำสมุดคู่ฝากหายไปเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินให้ผู้ปลอมไปโดยประมาทเลินเล่อโดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย ดังนี้เหตุที่โจทก์ทำสมุดหาย จึงไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีส่วนร่วมในความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยทั้งสี่ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต เพราะโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเอง และเป็นความผิดของโจทก์เองที่ทำสมุดหาย ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้เพียงใด ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการปลอมใบถอนเงินฝาก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝากประจำเพื่อประกันหนี้: สิทธิบุริมสิทธิจำนำไม่เกิดขึ้นหากกรรมสิทธิ์เงินฝากยังเป็นของผู้ฝาก
จำเลยฝากเงินไว้กับผู้ร้องเงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้ร้องผู้ร้องคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนการที่จำเลยทำสัญญาจำนำและมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำไว้แก่ผู้ร้องก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่มีต่อผู้ร้องแม้จะยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก็เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันไม่เป็นการจำนำเงินฝากอีกทั้งสมุดคู่ฝากเงินประจำก็เป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้ร้องออกให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีของจำเลยเท่านั้นไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนำไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินเป็นประกันหนี้และการบังคับคดี: สิทธิของผู้ฝากและผู้รับฝากเมื่อมีคำสั่งอายัดทรัพย์
ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสาร การมอบใบรับฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 750
เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 287และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกัน มาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ฝากในการดูแลสมุดเช็ค ทำให้เกิดการปลอมลายมือชื่อ และตัดสิทธิในการอ้างลายมือชื่อปลอม
โจทก์มอบสมุดเช็คไว้กับ ค. ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีของโจทก์ และให้ ค.เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คก่อนที่จะนำมาให้ส.ผู้จัดการโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย การที่ ค. ปลอมลายมือชื่อ ส. ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท กับทั้งเมื่อจำเลยส่งการ์ดบัญชีมาให้โจทก์ โจทก์มิได้ตรวจสอบดูรายการถอนเงินว่าถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นความประมาทของโจทก์ที่ทำให้ ค. ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ โจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะเก็บของในคลังสินค้า: ความรับผิดของคลังสินค้าต่อการส่งมอบสินค้าขัดต่อคำสั่งผู้ฝาก
จำเลยที่ 1 ทำการค้าส่งสินค้าไปต่างประเทศ หากต้องการเงินก่อนส่งสินค้าลงเรือไปให้ลูกค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จะเอาสินค้านั้นมาขายให้แก่โจทก์โดยวิธีเอาใบรับฝากสินค้าที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคลังสินค้าออกให้มาสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์และขอรับเงินค่าสินค้าไป แล้วโจทก์จะแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้จำเลยที่ 2 ทราบ เมื่อถึงกำหนดจะส่งสินค้าไปให้ลูกค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ก็จะชำระราคาสินค้าให้โจทก์ โจทก์จะสลักหลังใบรับฝากสินค้าคืนให้จำเลยที่ 1 ไป โจทก์และจำเลยทั้งสองปฏิบัติกันเช่นนี้มา 5 ปีแล้ว และจำเลยที่ 2 ยังเคยออกใบรับฝากสินค้าเช่นนี้ให้ลูกค้าคนอื่นอีก ใบรับฝากสินค้าที่จำเลยที่ 2 ออกให้นั้นก็เป็นแบบฟอร์มพิมพ์ไว้ใช้ในกรณีลูกค้าเอาสินค้ามาฝากไว้ ทั้งมีคำเตือนหรือเงื่อนไขว่าบริษัทจะจ่ายสินค้าให้แก่ผู้ฝากก็ต่อเมื่อได้รับคืนใบรับฝากแล้ว การโอนหรือจำนำสินค้าจะต้องแจ้งให้บริษัททราบทุกครั้ง ใบรับฝากสินค้าก็ออกให้ในนามของจำเลยที่ 2 โดยมีวงเล็บ 'แผนกคลังสินค้า' ที่โกดังเก็บสินค้าก็มีป้ายบอกว่า คลังสินค้าจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติต่อจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นการติดต่อในฐานะนายคลังสินค้าผู้ทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ ไม่ใช่เป็นการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า แม้จะไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขออนุญาตประกอบกิจการคลังสินค้าตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องความไม่สมบูรณ์ในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ได้ร่วมรู้เห็นด้วย จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงจำเลยที่ 1 และโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์ปฏิบัติต่อกันและเข้าใจกันอย่างเช่นจำเลยที่ 2 เป็นนายคลังสินค้าก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันนำลักษณะเก็บของในคลังสินค้ามาใช้ต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินกับผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิการเรียกร้องเงินฝากของผู้ฝากที่ไม่ร่วมรู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุที่ประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลกระทบต่อสิทธิผู้ฝาก เงินฝากไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้นถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตแต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
of 3