คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รักษาการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและการมอบอำนาจดำเนินคดีที่ไม่ชอบ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2513) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ.2521) ข้อ 4 (1)เป็นการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส โดยเจ้าคณะตำบลเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพระครู น.ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องอยู่มิได้ลาสิกขา เจ้าคณะตำบลจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องโดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมข้อดังกล่าว คำสั่งของเจ้าคณะตำบลที่แต่งตั้งพระภิกษุ พ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องจึงไม่ชอบพระภิกษุ พ.จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ที่ ว.ยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้องโดยพระภิกษุ พ.เป็นผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้อง เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องโดยไม่ชอบ ว.ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัด: การแต่งตั้งโดยอธิบดีสงฆ์พม่าขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดจึงต้องอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ไทยตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายและกฎดังกล่าว ดังนั้น การที่อธิบดีสงฆ์พม่าแต่งตั้งพระ ณ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิใช่เป็นการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม พระ ณ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงาน, ค่าจ้าง, และหนี้โมฆะจากกิจการผิดกฎหมาย: กรณีผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการ
จำเลยทำหนังสือแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นผู้รักษาการ กรรมการผู้จัดการของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างและโจทก์ ได้ทำงานตามหน้าที่ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จ่าย ค่าจ้างให้แก่โจทก์
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับ พวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงินไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีตำรวจ คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้รักษาการอธิบดีไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งความเห็นให้ถอดถอนผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส มิใช่คำสั่งถอดถอน
เจ้าคณะจังหวัดมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าคณะอำเภอว่า พระภิกษุผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสละเมิดจริยพระสังฆาธิการสมควรถอดถอน ให้อำเภอแจ้งให้ตำบลทราบ และสั่งให้ดำเนินการต่อไปให้เรียบร้อยดังนี้ มิใช่เป็นคำสั่งให้ถอดถอนผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ไม่มีปัญหาว่าคำสั่งถอดถอนชอบหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสมีผลทันที การแต่งตั้งผู้รักษาการชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้มีคำสั่งให้ถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เจ้าอาวาส โดยในคำสั่งระบุชัดว่าให้มีผลบังคับตั้งแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปนั้น ย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้ร้องทุกข์อุทธรณ์คำสั่งหรือไม่ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส ฉะนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส หลังจากที่ได้มีคำสั่งถอดถอนโจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสมีผลทันที การแต่งตั้งผู้รักษาการชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้มีคำสั่งให้ถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เจ้าอาวาส โดยในคำสั่งระบุชัดว่าให้มีผลบังคับตั้งแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปนั้นย่อมมีผลบังคับทันที โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้ร้องทุกข์อุทธรณ์คำสั่งหรือไม่ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส ฉะนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสหลังจากที่ได้มีคำสั่งถอดถอนโจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งเจ้าอาวาส/ผู้รักษาการแทน: กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกัน ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต้องมีคุณสมบัติชอบด้วยกฎหมาย การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสต้องเป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..... .....ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง ฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสีย เช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่ และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราว ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่ และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัด เจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6 ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส การที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบ ผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การฟ้องไม่มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..........ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง ฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน. และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว. ศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้.
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาล. ศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสีย. เช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว. แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1).
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า. 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราว. ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส'. นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้น.ถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัด. เจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส. และในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง. ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6 ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส. การที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบ. ผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้ง.จึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย. และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส.
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย. ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้.
of 2