พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่คืนตู้สินค้าหลังรับสินค้าจากเรือ: ผู้รับขนต้องรับผิดชอบในการคืนตู้สินค้าให้ผู้ขนส่งภายในกำหนด
ในการรับขนของ โจทก์ผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายหรือผู้ส่งของไว้ เป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขน ซึ่งระบุข้อความสำคัญเกี่ยวกับชนิดของหีบห่อลักษณะของสินค้าว่าผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือลานวางตู้สินค้า ท่าเรือกรุงเทพมหานคร จำเลยผู้สั่งซื้อสินค้าจึงมีหน้าที่มารับสินค้าจากโจทก์ ณ สถานที่ดังกล่าว แต่เมื่อสินค้าอยู่ในตู้สินค้าและการรับสินค้าต้องรับตู้สินค้าที่บรรจุสินค้านั้นไปด้วย เพราะจำเป็นต้องขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้าของจำเลยเพื่อนำสินค้าออกจากตู้สินค้า จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยในการขนตู้สินค้าไปยังโกดังสินค้า และเมื่อจำเลยนำสินค้าออกจากตู้สินค้าแล้วก็ย่อมมีหน้าที่ต้องนำตู้สินค้าไปคืนให้แก่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ภายในกำหนด14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครและได้มีการขนถ่ายสินค้าจากเรือโดยมีบริษัท ว. เป็นตัวแทนผู้ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและรับสินค้าให้แก่จำเลย และได้นำสินค้าของจำเลยไปยังโกดังสินค้าของจำเลยโดยใช้บริการ ร.ส.พ. เมื่อตู้สินค้าตู้หนึ่งคนขับรถของ ร.ส.พ. มิได้นำไปคืนให้แก่ตัวแทนโจทก์จนล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว จำเลยในฐานะตัวการของผู้ขนตู้สินค้าดังกล่าวไปยังโกดังสินค้าของจำเลยและเป็นผู้มีหน้าที่ต้องคืนตู้สินค้าแก่โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับตู้สินค้าคืนจากจำเลยภายในกำหนดเวลา14 วัน นับแต่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล: การพิสูจน์น้ำหนักสินค้าที่แตกต่างกันระหว่างต้นทางและปลายทาง และข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับขน
การว่าจ้างขนส่งปุ๋ยสินค้าพิพาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยปุ๋ยจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอ้างว่าการขนส่งของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายแก่ปุ๋ยที่รับขน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าได้ส่งมอบปุ๋ยสินค้าที่รับขนให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเลหลายทอด: ผู้รับขนในต่างประเทศร่วมกับผู้ดำเนินการภายในประเทศมีหน้าที่รับผิดร่วมกัน
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศได้ว่าจ้างจำเลยที่2ผู้รับขนในต่างประเทศให้ขนส่งสินค้ามายังกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งกำหนดวันที่เรือจะเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบติดต่อกรมศุลกากรกองตรวจคนเข้าเมืองกรมเจ้าท่าการท่าเรือแห่งประเทศไทยค้ำประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องว่าจ้างบริษัทอื่นให้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าลงเรือฉลอมเพื่อนำไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าและออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับใบตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้รับขนในต่างประเทศไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยจึงย่อมไม่สามารถจะดำเนินการติดต่อและค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องว่าจ้างบริษัทอื่นให้ขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือเล็กและออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าได้การกระทำดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญในการรับขนทางทะเลจำเลยที่1จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่2อันเป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618แล้วหาใช่เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่2ไม่จำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้รับขน การรับฟังพยาน และข้อต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย
ผู้ส่งสินค้ามิได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความผิดตามประกาศที่ผู้รับขนปิดไว้ที่ที่ทำการของผู้รับขน ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้รับขนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 พยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีแม้ไม่ส่งสำเนาต่อศาลก่อนวันสืบพยานสามวัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คำให้การของจำเลยเพียงแต่ปฏิเสธจำนวนค่าเสียหายตามฟ้องเท่านั้น ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งให้จำเลยไปร่วมตรวจสอบเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนรับผิดชอบการลักทรัพย์โดยลูกจ้าง การมีผู้โดยสารไปด้วยไม่เปลี่ยนลักษณะการขนส่ง
ผู้รับขนของโดยรถยนต์ต้องรับผิดในการที่ของที่รับขนถูกลูกจ้างของผู้รับขนลักไป การที่ผู้ส่งให้คนของผู้ส่งขี่รถจักรยานยนต์ตามไปด้วย ไม่ทำให้เปลี่ยนลักษณะรับขนเป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อผู้เสียหายโดยตรง แม้ไม่ได้ฟ้องเรียกจากผู้รับขน
จำเลยที่ 3 จ้าง ซ. ขนอิฐไปส่งให้โจทก์ ซ.ใช้รถยนต์บรรทุกขนอิฐไป โดยจำเลยที่ 1 เป็นคนขับ จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทชนรถจิ๊ปของโจทก์เสียหาย และพนักงานของโจทก์บาดเจ็บ จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ขายอิฐให้โจทก์ จึงไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันนั้นกับ ซ.ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ด้วย ถึงแม้ว่าโจทก์จะไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ซ.แต่กลับมาฟ้องจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 4 ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับ ซ.ไม่ เพราะโจทก์ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 4 ได้โดยตรงอยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับขนคนโดยสาร กรณีเหตุสุดวิสัยและการประมาทเลินเล่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถ และจัดรถนั้นรับคนโดยสารนำเที่ยว เก็บค่าโดยสารคนละ 55 บาท และโจทก์เป็นผู้โดยสาร แสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้รับขนคนโดยสารแล้ว
เมื่อรถที่ลูกจ้างขับไปชนรถอื่นเพราะเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องรับผิดทั้งในฐานะนายจ้างและในฐานผู้รับขนคนโดยสาร
เมื่อรถที่ลูกจ้างขับไปชนรถอื่นเพราะเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องรับผิดทั้งในฐานะนายจ้างและในฐานผู้รับขนคนโดยสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่ในกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการพิสูจน์หน้าที่ผู้รับขนคนโดยสาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถ และจัดรถนั้นรับคนโดยสารนำเที่ยว เก็บค่าโดยสารคนละ 55 บาท และโจทก์เป็นผู้โดยสารแสดงให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้รับขนคนโดยสารแล้ว
เมื่อรถที่ลูกจ้างขับไปชนรถอื่นเพราะเหตุสุดวิสัยนายจ้างไม่ต้องรับผิดทั้งในฐานะนายจ้างและในฐานะผู้รับขนคนโดยสาร
เมื่อรถที่ลูกจ้างขับไปชนรถอื่นเพราะเหตุสุดวิสัยนายจ้างไม่ต้องรับผิดทั้งในฐานะนายจ้างและในฐานะผู้รับขนคนโดยสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ส่งของในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนในไทย แม้มีตัวแทนต่างประเทศ
โจทก์เป็นผู้ส่งของและเป็นเจ้าของของนั้นด้วยจำเลยเป็นผู้รับของไปส่งต่างประเทศโดยเป็นตัวแทนของบริษัทขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศสัญญารับขนทำกันในจังหวัดพระนคร ของสูญหายระหว่างทางโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกราคาของนั้นจากจำเลยต่อศาลเมืองไทยในจังหวัดพระนครได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกแก่บุคคลในประเทศไทยที่จะฟ้องร้องตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่างประเทศเท่านั้นไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการที่อยู่ในต่างประเทศจะไม่มีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ทำสัญญากับตัวแทนของตนในประเทศไทยและไม่ได้หมายความว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวการของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำหรับหนี้สินใดๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกแก่บุคคลในประเทศไทยที่จะฟ้องร้องตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่างประเทศเท่านั้นไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการที่อยู่ในต่างประเทศจะไม่มีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ทำสัญญากับตัวแทนของตนในประเทศไทยและไม่ได้หมายความว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวการของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำหรับหนี้สินใดๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9629/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ความรับผิดของผู้รับขนและผู้ร่วมขนส่ง การจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต้องรับผิดโดยลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ก็ตาม แต่เมื่อใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทนผู้ขนส่งเอาไว้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ผู้ส่งและจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดโดยลำพังต่อโจทก์สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้า
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้เกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีอันเป็นประเทศที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 31 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงข้อจำกัดความรับผิดตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องย่อมเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 กำหนดไว้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดในกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 สามารถจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศที่เกิดความเสียหายมาตรา 31 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจจำกัดความรับผิดได้ตามมาตรา 31 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 28 เท่านั้น หาได้ตัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่ตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียง 666.67 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือ 2 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหาย แล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่าไม่
แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์ว่าคดีอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีอยู่ภายในบังคับ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ครอบครองเรือซึ่งต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องสามารถจำกัดความรับผิดได้โดยรับผิดในความเสียหายไม่เกินจำนวน 212,001.06 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน จำเลยที่ 3 ย่อมสามารถจำกัดความรับผิดได้ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้เกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีอันเป็นประเทศที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 31 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงข้อจำกัดความรับผิดตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องย่อมเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 กำหนดไว้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดในกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 สามารถจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศที่เกิดความเสียหายมาตรา 31 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจจำกัดความรับผิดได้ตามมาตรา 31 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 28 เท่านั้น หาได้ตัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่ตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียง 666.67 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือ 2 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหาย แล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่าไม่
แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์ว่าคดีอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีอยู่ภายในบังคับ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ครอบครองเรือซึ่งต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องสามารถจำกัดความรับผิดได้โดยรับผิดในความเสียหายไม่เกินจำนวน 212,001.06 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน จำเลยที่ 3 ย่อมสามารถจำกัดความรับผิดได้ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2