พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9023/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 ตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ส่งของส่วนพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 เพียงแต่ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นเท่านั้นไม่มีบทบัญญัติใดยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ
เมื่อสินค้าได้รับความเสียหายเพียง 38 เปอร์เซ็นต์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ส่งของไป 50 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวน 38 เปอร์เซ็นต์ตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริงเท่านั้น
เมื่อสินค้าได้รับความเสียหายเพียง 38 เปอร์เซ็นต์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ส่งของไป 50 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวน 38 เปอร์เซ็นต์ตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริงเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์การประกอบกิจการประกันภัยครอบคลุมประกันภัยทุกชนิด ผู้รับขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่ง
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า"(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำประกันภัยทางอุบัติเหตุ ประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งและผู้มอบหมายการขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
จำเลยที่ 3 ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 30 ตุลาคม2534 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2534 ถือว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์และกรณีส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกาแล้ว เมื่อส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยที่ 3มิได้แถลงตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยที่ 3 ทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการขนส่งและรับขนสินค้า ได้รับจ้างโจทก์จัดหารถไปบรรทุกสินค้าจากโรงงานของโจทก์ไปที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันที่มีการขนสินค้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปดูการบรรจุสินค้าเข้าตู้บรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์และเป็นผู้ส่งมอบตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเป็นผู้รับเงินค่าจ้างขนส่งทั้งหมดจากโจทก์ โดยในใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1ระบุว่าเป็นค่าบริการลากจูงตู้บรรจุสินค้าที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ ทั้งก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เคยว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาแล้วหลายครั้ง ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติและได้รับค่าระวางพาหนะจากโจทก์ แม้จำเลยที่ 1ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเอง จำเลยที่ 1ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง เมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 มอบหมายของนั้นไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617
จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการขนส่งและรับขนสินค้า ได้รับจ้างโจทก์จัดหารถไปบรรทุกสินค้าจากโรงงานของโจทก์ไปที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันที่มีการขนสินค้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปดูการบรรจุสินค้าเข้าตู้บรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์และเป็นผู้ส่งมอบตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเป็นผู้รับเงินค่าจ้างขนส่งทั้งหมดจากโจทก์ โดยในใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1ระบุว่าเป็นค่าบริการลากจูงตู้บรรจุสินค้าที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ ทั้งก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เคยว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาแล้วหลายครั้ง ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติและได้รับค่าระวางพาหนะจากโจทก์ แม้จำเลยที่ 1ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเอง จำเลยที่ 1ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง เมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 มอบหมายของนั้นไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งตามกฎหมาย แม้ไม่มีใบอนุญาตและรถบรรทุกเอง ก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่งที่มอบหมายให้ผู้อื่น
โจทก์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการติดต่อดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรและการลากจูงตู้บรรจุสินค้าไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดและลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวไปส่งมอบให้บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแม้จำเลยที่1จะไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเองแต่การขนส่งและรับขนสินค้าเป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของจำเลยที่1ที่ได้จดทะเบียนไว้ก็ถือว่าจำเลยที่1ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608การที่จำเลยที่1ว่าจ้างให้จำเลยที่3นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่งเมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่3จำเลยที่1และที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่3รับผิดต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา617
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับขนส่ง ตัวแทน และลูกจ้าง กรณีสินค้าตกหล่นจากเรือ
คำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอกคำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57(3)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของ จำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลง การที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยทำให้เรืออับปาง ผู้รับขนส่งไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
บริษัท บ. จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ. จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเลเมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัดและมีของแข็งภายนอกเรือมา กระแทก เรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตามป.พ.พ. มาตรา 8 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและนายจ้างได้ หากชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของสินค้าแล้ว
โจทก์รับจ้างขนส่งไม้อัดให้แก่บริษัท ม. เมื่อมีผู้กระทำละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่ไม้อัดที่โจทก์เป็นผู้รับขนส่งดังกล่าว และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ม. ตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดและนายจ้างของผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเรือทัก การรับผิดของเจ้าของเรือและผู้รับขนส่ง ค่าเสียหายจากสินค้าเสียหาย
โจทก์รับจ้างขนส่งไม้อัดให้แก่บริษัทไม้อัดไทย จำกัดเมื่อเกิดความเสียหายแก่ไม้อัดที่โจทก์เป็นผู้รับขนส่ง โจทก์ย่อมจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทไม้อัดไทย จำกัดตามสัญญา เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทไม้อัดไทย จำกัดแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัทไม้อัดไทย จำกัด และมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ผู้กระทำละเมิดและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและนายจ้างได้ เมื่อชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของสินค้าแล้ว
โจทก์รับจ้างขนส่งไม้อัดให้แก่บริษัท ม. เมื่อมีผู้กระทำละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่ไม้อัดที่โจทก์เป็นผู้รับขนส่งดังกล่าว และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ม. ตาม สัญญาแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดและนายจ้างของผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914-917/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การแยกฟ้อง, อำนาจฟ้องผู้รับขนส่ง: การวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีละเมิดจากการชนและสินค้าเสียหาย
ผู้รับขนเป็นผู้เสียหายฟ้องฐานละเมิด โดยเหตุสินค้าที่รับขนถูกรถชนเสียหายได้
ฟ้องว่าขับรถโดยประมาท ขับกินทางเข้าไปในเส้นทางของรถที่สวนมาเป็นเหตุให้รถชนกัน สินค้าที่บรรทุกมาเสียหายตามประเภทและราคาที่ระบุไม่เคลือบคลุม รายละเอียดเป็นข้อนำสืบชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
โจทก์ฟ้องรวมกันมาภายใน 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ศาลสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องภายใน 15 วัน ซึ่งครบกำหนดวันเสาร์ โจทก์ฟ้องในวันจันทร์ ถือว่าฟ้องภายใน 15 วัน แม้เกิน 1 ปี ตั้งแต่วันทำละเมิดก็ไม่ใช่ขยายอายุความ
ฟ้องว่าขับรถโดยประมาท ขับกินทางเข้าไปในเส้นทางของรถที่สวนมาเป็นเหตุให้รถชนกัน สินค้าที่บรรทุกมาเสียหายตามประเภทและราคาที่ระบุไม่เคลือบคลุม รายละเอียดเป็นข้อนำสืบชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
โจทก์ฟ้องรวมกันมาภายใน 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ศาลสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องภายใน 15 วัน ซึ่งครบกำหนดวันเสาร์ โจทก์ฟ้องในวันจันทร์ ถือว่าฟ้องภายใน 15 วัน แม้เกิน 1 ปี ตั้งแต่วันทำละเมิดก็ไม่ใช่ขยายอายุความ