คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งของผู้รับประเมิน และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
จำเลยมิได้โต้แย้งคำชี้ขาดการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลยอย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมิน ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ประจักษ์ว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโรงแรมของจำเลยมีห้องพักจำนวน 119 ห้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำห้องพักรวม 124 ห้องมาคำนวณค่ารายปีและค่าภาษี จึงเกินกว่าจำนวนห้องพักที่มีอยู่จริงการคำนวณในส่วนที่เกินไปจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลยภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2539 ที่โจทก์ระบุปีภาษี 2539 นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องใช้สิทธิคัดค้านตามขั้นตอนกฎหมายก่อนจึงจะโต้แย้งความถูกต้องได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยชอบที่ จะยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 25 ได้ และหากจำเลยยังไม่พอใจในคำชี้ขาดก็นำคดีไปสู่ศาลได้ตามมาตรา 31 แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และมิได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นแก่โจทก์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นอันยุติห้ามมิให้จำเลยนำคดีไปสู่ศาลซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ดังนั้น จำเลยจะต่อสู้ว่าการประเมินไม่ถูกต้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดอายุความฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดถึงผู้รับประเมิน
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 31 วรรคแรกมีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมินหรือนับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบ ข้อความในคำชี้ขาด แม้ตามพิพากษาภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475มาตรา 31 วรรคแรกจะใช้คำว่า ผู้รับประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ซึ่งมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 31 ด้วย กล่าวคือจะต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับคำชี้ขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีภาษีอากร: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดของผู้รับประเมิน แม้ผู้มีส่วนได้เสียต้องปฏิบัติตาม
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้วโจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีของผู้รับภาระค่าภาษีแทนเจ้าของทรัพย์สิน แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน แต่มีสิทธิเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
การรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องผู้ที่ตบชำระหนี้แทน แต่กรณีโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเอง ย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) โจทก์เช่าโรงเรือนและที่ดินจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาเช่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินหากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าวเกินไป โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนั้นคืนได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ยื่นคำขอให้จำเลยที่ 2พิจารณาประเมินใหม่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้รับประเมินต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์มิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนยื่นฟ้องโต้แย้งการประเมินของจำเลย แม้กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษียังไม่สิ้นสุดในขณะยื่นฟ้องก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล โจทก์จึงต้องชำระค่าภาษีก่อนยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์เพิ่งชำระภายหลังจากยื่นฟ้องแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ผู้รับประเมินมีสิทธิฟ้องเมื่อถูกประเมินภาษีเกินจริง แม้จะรับประเมินไว้แล้ว
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทกันในเรื่องภาษีโรงเรือนในคดีนี้นั้นเป็นของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังแจ้งรายการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2530 ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้มายังโจทก์โดยตรงในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประเมินภาษีโรงเรือน ทั้งโจทก์ก็ไปชำระภาษีประจำปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2530 ตามจำนวนที่ได้รับประเมินในนามของโจทก์เอง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ก็ยอมรับชำระภาษีดังกล่าวไว้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือน เมื่อโจทก์เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีเกินไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินไปนั้นคืนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในการประเมินค่ารายปีอาคารพิพาทในปี พ.ศ. 2529เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2526 กับปี พ.ศ. 2528 นั้น เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 พบว่า อาคารชั้นลอยในโกดังใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่มิได้ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง การกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นแต่ละรายการก็มิได้ให้เหตุผล ส่วนที่อ้างว่าการกำหนดค่ารายปีของอาคารพิพาทต่ำไปเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงเรือนหลังอื่นซึ่งมีสภาพเดียวกันและอยู่ในละแวกเดียวกัน ก็ปรากฏว่าโรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ในถนนซอยและสถานที่ ที่มีความเจริญน้อยกว่า ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ ยิ่งกว่านั้น ค่ารายปีที่ประเมินเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2529ก็สูงกว่าในปี พ.ศ. 2528 ถึงกว่าหนึ่งเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 1 ปี โดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลสมควรอย่างไร จึงขึ้นค่ารายปีมากเช่นนั้นแต่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติให้ถือค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุผลตามที่จำเลยนำสืบว่าโรงเรือนพิพาทควรมีค่ารายปีสูงขึ้นเพียงใด ในการคำนวณค่ารายปีของปีพ.ศ. 2529 จำเลยจึงต้องถือค่ารายปีในปี พ.ศ. 2528 เป็นหลัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกคืนภาษีเกินชำระ แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน & การประเมินภาษีโรงเรือนเทียบกับค่าเช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไปก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า มูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินไป แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน กรณีสัญญาเช่ากำหนดให้ผู้เช่าชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้ ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนของผู้จัดการสินสมรสและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้รับประเมิน
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมินจึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาลจะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
of 2