พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่ยังไม่ลงเรือ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับฝาก
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อความว่า "VOYAGE : At and from LAEM CHABANG , THAILAND TO HOCHI MINH" แปลว่าคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทย ถึง โฮจิมินห์ ในประเทศเวียดนาม คำว่า ที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย ไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์: การส่งมอบรถจยย.ให้จำเลยดูแล และความรับผิดของผู้รับฝากเมื่อรถหาย
โจทก์นำรถจักรยานยนต์จอดไว้ที่สถานที่รับจอดรถของจำเลยโดยจำเลยคิดค่าบริการวันละ 5 บาท และออกบัตรอนุญาตจอดรถจักรยานยนต์ให้ โจทก์จอดรถในบริเวณสถานที่รับจอดรถของจำเลยล็อกกุญแจรถและเก็บกุญแจไว้ที่โจทก์ แสดงว่าโจทก์ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้จำเลยและจำเลยยอมรับรถจักรยานยนต์จากโจทก์มาอยู่ในความอารักขาของจำเลยแล้ว โดยมีพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถ หากโจทก์จะนำรถออกจากสถานที่จอดรถ ต้องแสดงบัตรอนุญาตต่อพนักงานของจำเลย แม้บัตรดังกล่าวจะระบุเพียงว่าเป็นบัตรอนุญาตให้จอดรถจักรยานยนต์ และไม่มีข้อความใดระบุว่าเป็นการรับฝากรถ แต่การปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657เมื่อรถจักรยานยนต์ของโจทก์หายไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเก็บรถยนต์ ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินเช่นเดียวกับของตนเอง หากโจทก์ไม่พิสูจน์การกระทำของผู้รับฝาก ก็ต้องรับผิด
โจทก์นำรถยนต์จอดฝากจำเลยไว้ที่หน้าร้านของจำเลย โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากต่อมารถยนต์ของโจทก์หายไป ข้อเท็จจริง ที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันว่ารถยนต์ของจำเลยจอดไว้ที่หน้าร้าน ของจำเลยเป็นประจำเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยผู้รับฝาก ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ประพฤติในกิจการของจำเลยแล้ว โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ล็อกกุญแจ ประตูทุกบาน ล็อกเบรคและพวงมาลัยล็อกเกียร์ หรือตัดสัญญาณไฟ โดยถอดหัวเทียนรถยนต์ของจำเลยก่อนจอดรถยนต์ทิ้งไว้หรือไม่ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติต่อรถยนต์ของโจทก์เช่นเดียวกัน จึงเป็น หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ปฏิบัติในการดูแลรถยนต์ของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย กวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไร ได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่ และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้าอันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใดกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลย เมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับฝากทรัพย์ที่สูญหาย
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำเงินฝากและสิทธิการถอนเงิน: สิทธิของผู้รับฝากและเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เงินที่จำเลยฝากตกเป็นของธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากแล้ว ผู้ร้องคงมีหน้าที่แต่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่จำเลยตกลง มอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้แก่ผู้ร้องโดยใช้ข้อความว่าเป็นการจำนำก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้อง แม้จะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังเป็นของจำเลยอันผู้ร้องจะยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ และโดยสภาพแล้วสิทธิการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากย่อมไม่อาจส่งมอบแก่กันได้อย่างสิทธิซึ่งมีตราสาร ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และการที่จำเลยมอบใบรับฝากประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ บุริมสิทธิจากการจำนำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อการไม่ระมัดระวัง ทำให้ทรัพย์สินสูญหายหรือถูกยึด
ผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยขนทรัพย์สินของโจทก์ที่ฝากไว้ออกจากสถานที่รับฝากโดยหลบหนีภาษีศุลกากร จนทรัพย์สินของโจทก์ถูกยึดเป็นของกลางในคดีอาญา แสดงว่าจำเลยขาดความระมัดระวังไม่ใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินของโจทก์เช่นวิญญูชน หาใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยคืนทรัพย์สินที่ฝากไม่ได้ จำเลยต้องใช้ราคา
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากสินค้าและการปฏิเสธความรับผิดชอบจากเหตุเพลิงไหม้ โดยพิจารณาว่าไม่ใช่ผู้รับฝากตามกฎหมาย
จำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 770เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตาม ป.พ.พ. มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวันเพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้า และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝาก ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่า ของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่นจำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้า เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วย แต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพังจะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา659 วรรคสอง แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์ต้องมีการส่งมอบทรัพย์และตกลงรับฝาก หากไม่มีการส่งมอบ ไม่ถือเป็นผู้รับฝาก
สัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้ฝากจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657
ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็นผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไปทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ตลอดวันเจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีก หรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบเมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่
ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็นผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไปทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ตลอดวันเจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีก หรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบเมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากในการคืนทรัพย์สิน หรือชดใช้ค่าเสียหายกรณีทรัพย์สินสูญหาย
โจทก์นำรถยนต์ไปจอดไว้ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 2 แล้วมอบกุญแจรถไว้แก่(จำเลยที่ 1)ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เสียค่าจอด เมื่อมีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์มาขอรับรถยนต์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการก็เป็นผู้พิจารณาว่าจะมอบรถยนต์ให้ไปหรือไม่ พฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันดังกล่าวเป็นเรื่องการฝากทรัพย์แม้ใบเสร็จรับเงินที่จำเลยที่ 2 ออกให้จะมีข้อความระบุว่าได้รับเงินค่าเช่าที่จอดรถ ก็หาใช่เช่าสถานที่จอดรถไม่ เมื่อเป็นสัญญาฝากทรัพย์จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีหน้าที่ต้องคืนรถให้โจทก์ ถ้าคืนไม่ได้ก็เป็นเรื่องผิดสัญญา คดีไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 หรือไม่