พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าเป็นการกระทำผิด ผู้ว่าจ้างก็ยังมีความผิด
จำเลยจ้างให้บุคคลที่ไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้นำรถไถไปไถที่ดินบริเวณดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการใช้บุคคลเหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาจ้างทำของ: ผู้ว่าจ้างเรียกเงินจากผู้รับจ้าง ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างถนน สัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของโจทก์ได้ออกเงินชำระ ค่าของที่ใช้ในการก่อสร้างให้แก่ร้านค้าแทนจำเลยไปก่อน แล้วโจทก์นำเงินดังกล่าวมาหักกับค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจากโจทก์ จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงขอบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืน ดังนี้ มิใช่เรื่องที่โจทก์เป็น ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้รับจ้างเรียกเงินที่ตนได้ทดรองจ่ายไปในการทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างจาก ผู้ว่าจ้างตามมาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างเรียกเงินที่ตนได้ทดรองจ่ายแทนผู้รับจ้างไปจากผู้รับจ้าง ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12466/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีบริการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในต่างประเทศ โดยผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
แม้งานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ทำให้แก่บริษัท ฮ. จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวและอาจโอนลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 8 และมาตรา 17 แต่มาตรา 10 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติว่า ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นหามีลิขสิทธิ์ในงานนั้นไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40 (3) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทำเป็นหนังสือ โปรแกรมที่ผลิตตามสัญญาโจทก์ทำการผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท ฮ. เป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่าง ๆ และโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตให้แก่บริษัท ฮ. แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 (2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แล้ว จึงต้องใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับของโจทก์ที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับจ้างต้องแก้ไขงานชำรุดตามสัญญา หากไม่ทำตาม ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่น แต่ต้องแจ้งให้แก้ไขก่อน
ตามหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 ระบุว่า "ภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานนี้จากผู้รับจ้างเป็นต้นไป ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายแก่งานจ้างนี้โดยผู้รับจ้างทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สัมภาระที่ไม่ดี ผู้รับจ้างจะทำการแก้ไขใหม่ทันทีโดยไม่คิดราคาสิ่งของสัมภาระและค่าแรงงานจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพริ้วไม่จัดการแก้ไขหรือซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำแทนต่อไป โดยผู้รับจ้างยินยอมจ่ายเงินค่าจ้างในการแก้ไขเท่าที่สร้างจริงโดยสิ้นเชิง" จากข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า ภายใน 12 เดือน นับแต่วันรับมอบงานที่ก่อสร้าง ถ้ามีความชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานที่ก่อสร้าง โจทก์มีอำนาจจ้างผู้อื่นแก้ไขซ่อมแซมงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างให้แก้ไขซ่อมแซมภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไขซ่อมแซม แต่หนังสือที่โจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือแจ้งเกี่ยวกับเรื่องจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบางรายการไม่ถูกต้องตามแบบ ไม่ดำเนินการเก็บงานให้เรียบร้อย จะให้บริษัท ป. เข้าดำเนินการตรวจสอบซ่อมแซมและก่อสร้างให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบโดยจำเลยที่ 1 ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเท่านั้น ถึงจะมีบางฉบับระบุด้วยว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นความเสียหายส่วนใดของงานก่อสร้าง และแม้บางฉบับโจทก์จะได้สรุปความเสียหายให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงรายละเอียดงานก่อสร้างซ่อมแซม และขอให้จำเลยที่ 1 ส่งผู้ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบงานก่อสร้างบางอย่างที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ก็ตาม แต่ในขณะที่โจทก์มีหนังสือฉบับดังกล่าวก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่โจทก์ตัดสินใจให้บริษัท ป. เข้าซ่อมแซมงานก่อสร้างแล้ว ดังนั้น หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดเสียหายงานก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดตาม เงื่อนไขในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 เท่ากับว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้แก้ไขซ่อมแซมงานก่อสร้างที่ชำรุดเสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเป็นเหตุให้ผู้รับจ้างบอกเลิกสัญญาได้ และผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
สัญญาจ้างข้อ 5 ระบุว่าโจทก์ต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าว จำเลยผู้ว่าจ้างต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าพื้นที่สำหรับก่อสร้างอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิที่จะครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ย่อมไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอก เลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ล่าช้า และยังไม่รับข้อเสนอของจำเลยที่ขยายเวลาก่อสร้างให้อีก 27 วัน โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันแก่จำเลยสำหรับระยะเวลา 27 วัน เป็นเงิน 364,500 บาท ขอให้หัก ออกจากค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยควรต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันฟ้อง ปรากฏว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ซึ่งจำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ(2) และข้อ (4) ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อ ซึ่งต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ล่าช้า และยังไม่รับข้อเสนอของจำเลยที่ขยายเวลาก่อสร้างให้อีก 27 วัน โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันแก่จำเลยสำหรับระยะเวลา 27 วัน เป็นเงิน 364,500 บาท ขอให้หัก ออกจากค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยควรต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันฟ้อง ปรากฏว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ซึ่งจำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ(2) และข้อ (4) ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อ ซึ่งต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง เว้นแต่ผิดในส่วนการงานหรือเลือกผู้รับจ้างไม่มีความสามารถ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 บัญญัติว่า"ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง" โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ผิดตามมาตรา 428 ดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนสั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้แก่ผู้รับจ้างอย่างไรและในการเลือกผู้รับจ้างคือบริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ตอกเสาเข็มและก่อสร้างฐานรากก็ปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษในการก่อสร้างอาคารสูง การที่จำเลยว่าจ้างบริษัท ป. เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ ย่อมหมายความว่าจำเลยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสั่งการในการทำงานแต่อย่างใด เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัททั้งสอง เมื่อความเสียหายเกิดขึ้น โจทก์จะต้องไปเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ก่อสร้างคือบริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยไม่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันทำให้จำเลยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากผู้รับจ้าง
แม้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 6 และที่ 7 ตอกเสาเข็มในการก่อสร้างภัตตาคาร แต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปล่อยให้จำเลยที่ 6 และที่ 7 ตอกเสาเข็มไปตามแบบแปลนโดยลำพัง จำเลยที่ 1 ให้ ก. เป็นวิศวกรผู้ควบคุมดูแลการตอกเสาเข็มทั้งหมด ก. จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อ ก. เห็นแล้วว่าการตอกเสาเข็มของจำเลยที่ 6 และที่ 7 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่มิได้สั่งห้ามหรือให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อมิให้โจทก์ต้องเสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วย
อายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความว่าต้องรู้ครบทั้งสองประการ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์พบความเสียหายของรั้วและบ้านของโจทก์กับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 จำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่าความเสียหายเกิดก่อนเดือนธันวาคม 2533 แต่มิได้ฎีกาโต้เถียงเรื่องที่โจทก์รู้ตัวว่าผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2534 คดีจึงไม่ขาดอายุความ
อายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความว่าต้องรู้ครบทั้งสองประการ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์พบความเสียหายของรั้วและบ้านของโจทก์กับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 จำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่าความเสียหายเกิดก่อนเดือนธันวาคม 2533 แต่มิได้ฎีกาโต้เถียงเรื่องที่โจทก์รู้ตัวว่าผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2534 คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาในการก่อสร้างที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อสร้างอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 22 ชั้น ใต้ดิน 1 ชั้น ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์และตาม สัญญารับจ้างเหมางานการก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าการก่อสร้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องกระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับในสัญญา ดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยที่ 1มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างการก่อสร้างจำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้าง ตลอดเวลาและมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1เช่นนี้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมา และผู้ทำสัญญาต่อความเสียหายจากงานก่อสร้าง รวมถึงการรับสภาพหนี้
การก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกจ้าง จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 และในระหว่างการก่อสร้าง อ. กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ไปสังเกตการณ์ทุกวัน ดังนี้ พฤติการณ์ ที่จำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาและ มีข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่ง ที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ให้ร.เช่าอาคารของโจทก์และต่อมาร. เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ร.เช่าจากโจทก์ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจากร. บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจ แบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ว่าจ้างจากการกระทำของผู้รับจ้าง: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและการบังคับตามคำขอ
กำแพงรั้วของโจทก์เกิดความเสียหายจากการตอกเสาเข็มของผู้รับจ้างก่อสร้างจากจำเลย โดยจำเลยได้คอยควบคุมดูแลอยู่ตลอดเวลา ถือว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามคำสั่งของจำเลยโดยตรง แต่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า ในระหว่างการก่อสร้างบ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ปรากฏว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม โจทก์เกรงว่าอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรงสั่นสะเทือนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็มแต่อย่างใด อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพงรั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีตได้รับความเสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการกระทำของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างเพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร แม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดงให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาและคำขอคำบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 วรรคหนึ่ง