พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง การประมาทเลินเล่อของผู้อำนวยการ และความรับผิดร่วมของเจ้าหน้าที่
การสอบสวนทางวินัยเป็นคนละกรณีกับการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง เพราะการสอบสวนทางวินัยและการรายงานผลการสอบสวนมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องทางวินัย มิได้รายงานว่าผู้ใดจะต้อง รับผิดในทางแพ่งบ้าง นอกจากนี้บุคคลที่จะต้องรับโทษทางวินัยอาจจะไม่ใช่บุคคลที่จะต้องรับผิดในทางแพ่งเสมอไป กรณีนี้ต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ เลขาธิการสำนักงานโจทก์ ลงชื่อรับทราบผลการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งไม่ใช่วันที่รับทราบผลการสอบสวนทางวินัย เมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิดในทางแพ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากเหตุละเมิด: พิจารณาจากวันที่ผู้อำนวยการทราบเหตุและตัวผู้รับผิด และข้อยกเว้นการรับผิดตามสัญญาประกันภัย
พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฯ มาตรา 38 กำหนดให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำการในนาม ขององค์การโทรศัพท์ฯ และเป็นตัวแทนขององค์การโทรศัพท์ฯ ดังนั้น วันที่ถือว่าโจทก์ทราบคือวันที่ผู้อำนวยการรู้ถึง การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เว้นแต่ผู้อำนวยการจะตั้งตัวแทนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ การที่ บ. หัวหน้าหน่วยบำรุงรักษาซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์สินของโจทก์มอบอำนาจให้ ค. ไปแจ้งความ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติเท่านั้น มิใช่เป็นผู้กระทำแทนผู้อำนวยการของโจทก์เฉพาะเรื่องตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะตัวการตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 อันถือว่ากิจการทุกประการที่ บ. กระทำไปเป็นการกระทำของผู้อำนวยการของโจทก์ เมื่อผู้อำนวยการของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจาก บ. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2538 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนได้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อบุคคลภายนอกใน ความเสียหายแก่ทรัพย์สินว่าผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดส่วนแรก 10,000 บาท ต่อครั้ง/ทุกครั้ง จึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดเสียก่อน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนได้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อบุคคลภายนอกใน ความเสียหายแก่ทรัพย์สินว่าผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดส่วนแรก 10,000 บาท ต่อครั้ง/ทุกครั้ง จึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของผู้อำนวยการ อ.ต.ก. และอายุความสัญญาเช่าที่รวมสัญญาฝากทรัพย์
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มาตรา 20 และมาตรา 22 แสดงว่า คณะกรรมการมีอำนาจ หน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์เท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้อำนวยการ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ซึ่งผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของโจทก์ จึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดี แทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนพิพาท นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วยหากเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพ้นตำแหน่ง ผู้อำนวยการ และระยะเวลาทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง
โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยหลังจากพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ออกใช้บังคับแล้วและต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ไม่ใช้บังคับข้อ2ระบุให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ฯไม่ใช่บังคับดังนั้นตำแหน่งงานของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515อีกต่อไปเมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46 ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534ข้อ45และข้อ47ระบุให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้างเท่านั้นและในข้อ3คำว่าพนักงานหมายความว่าพนักงานตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ซึ่งตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา4คำว่าพนักงานหมายถึงเฉพาะพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเท่านั้นไม่รวมถึงฝ่ายบริหารซึ่งมีความหมายรวมถึงผู้อำนวยการด้วยขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ45และข้อ47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์โจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2581หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น การที่โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลยต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ลาออกพ้นจากการเป็นพนักงานแล้วแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้อำนวยการนับแต่นั้นจนกระทั่งมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ถือได้ว่าระยะเวลาทำงานของโจทก์สองช่วงดังกล่าวได้ขาดตอนจากกันแล้วไม่อาจนับติดต่อกันเพื่อให้โจทก์มีสถานะเป็นพนักงานของจำเลยได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯและถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมเพราะสิทธิประโยชน์ของโจทก์นี้จะได้รับหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นเมื่อพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯออกใช้บังคับในขณะที่โจทก์ออกจากงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกรณีจึงมิใช่เป็นกฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเลื่อนขั้นเงินเดือน: ผู้อำนวยการใช้อำนาจขัดระเบียบเมื่อมีมติเลื่อนขั้นแล้ว
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่า กรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้วผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจ: คำสั่งย้ายช่วยงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องเป็นการสั่งถอดถอนหรือพ้นจากตำแหน่ง
โจทก์เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยย่อมจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวตลอดไป จนกว่าผู้มีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับได้สั่งถอดถอนหรือให้พ้นจากตำแหน่งไป การที่โจทก์เพียงแต่ถูกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งให้ไปช่วยงานกระทรวงคมนาคม เป็นเพียงการที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมชั่วคราวเท่านั้น หาทำให้พ้นจากตำแหน่งไปทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่ชอบโดยกฎหมาย ประธานกรรมการไม่มีอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่มีอำนาจดำเนินคดีแทนธนาคาร
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการของผู้อำนวยการธนาคารออมสิน vs. ประธานกรรมการ และผลต่อกระบวนการพิจารณาคดี
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16. ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน. โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้. ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี. ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่.
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย. โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว. และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง. โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด. ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม. ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล. ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง. ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย. โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว. และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง. โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด. ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม. ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล. ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง. ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล: การแสดงความคิดเห็นด้วยความน้อยใจและโกรธ ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ผู้อำนวยการคนนี้ใครว่าดี เดี๋ยวนี้ดีแตกเสียแล้ว ไปติดต่อเรื่องคนไข้ก็มาไล่ โรงพยาบาลเป็นของรัฐบาล ไม่ใช่ของผู้อำนวยการ ตึกบุญเลี่ยมเป็นของชาวเมืองเพชรสร้าง บ้านที่ผู้อำนวยการอยู่ก็ต้องอาศัยเขาอยู่ เป็นหมอควรจะใจเย็น แต่นี่ใจร้อนยังกับไฟ ใช้ไม่ได้ ถึงเจ็บก็ไม่มารักษาที่นี่ จะเอาเรื่องทุกอย่างไปลงสาส์นเพชร" จำเลยกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นด้วยความน้อยใจและมีอารมณ์โกรธเนื่องจากถูกนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพูดเป็นทำนองไล่ อันเป็นการไม่สมควร เพราะเป็นการขาดคารวะแต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นหรือใส่ความ ตามมาตรา 136 และ 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา