พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ไม่ปรากฏผู้เขียน/ผู้พิมพ์ แต่ทำตามแบบกฎหมาย
พินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1705 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่ามีกรณีใดบ้างที่เป็นโมฆะ แต่มิได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน (หรือผู้พิมพ์) ในกรณีที่ผู้เขียนมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม กล่าวคือทำไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671 ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้นเมื่อขณะทำพินัยกรรมในคดีนี้มีพยานในพินัยกรรมทั้งสี่คนอยู่พร้อมกันและผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คน พินัยกรรมดังกล่าวจึงถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 กำหนดไว้ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้เขียนด้วยนามปากกา: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การใช้นามปากกาแทนชื่อจริง บุคคลทั่วไปจะรู้จักแต่นามปากกาไม่สามารถรู้ชื่อจริงได้ แม้จะเป็นบุคคลหรือเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นก็ตาม เพราะการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา ได้ว่านามปากกาใดเป็นของผู้ใด คำเบิกความของ พันตำรวจโท อ. ไม่ได้แสดงเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าตนรู้ได้อย่างไรว่าจำเลยที่ 2 ใช้นามปากกาว่าคมแฝกพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนัก คดีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เขียนคอลัมน์สังคมบ้านเรา ในหนังสือพิมพ์บ.โดยใช้นามปากกาว่าคมแฝก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ไม่มีผู้เขียนและผู้รับผลประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยาน 3 คน ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามมาตรา 1671 แต่มาตรา 1705 มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ผู้รับพินัยกรรมอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ไม่มีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
คู่สมรสมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
ผู้รับพินัยกรรมอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ไม่มีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
คู่สมรสมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่มีผู้เขียน และผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม สิทธิยกสินสมรส
ส. ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน3 คน ซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของส.ไว้เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตายส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม: การกำหนดการเผื่อตาย, สำเนาพินัยกรรมใช้ได้เมื่อต้นฉบับหาย, ไม่ต้องลงชื่อผู้เขียน
ข้อความในเอกสารระบุไว้ว่าขอทำพินัยกรรม ถือได้ว่าเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรม เมื่อต้นฉบับพินัยกรรมหาย คู่ความนำสำเนาที่ถูกต้องมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ลงชื่อผู้เขียนพินัยกรรมลงในพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความเสียหายต้องความรับผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการ
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นห้วหน้ากองบรรณาธิการ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพัน บาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2, 3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้ และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถู-บ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดี ตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันสวนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: การระบุตัวตนของผู้เขียนและพยาน
พ.ทำพินัยกรรมเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะนั้น และได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ต่อหน้า ส.ผู้เขียนและ ท.พยานในพินัยกรรม ส. ได้ลงลายมือชื่อในขณะนั้นเช่นกัน เพียงแต่ไม่มีข้อความต่อท้ายว่าเป็นพยายน เช่นนี้ก็ถือว่า ส. เป็นพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมตลอดมาแต่ต้นคือเป็นทั้งผู้เขียนและพินัยกรมและเป็นพยานในพินัยกรรม ต้องด้วยความประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการทำพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมที่สมบูรณ์: ผู้เขียนและพยานเดียวกันได้หรือไม่
พ. ทำพินัยกรรมเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะนั้น และได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ต่อหน้า ส. ผู้เขียนและ ท. พยานในพินัยกรรมส. ได้ลงลายมือชื่อในขณะนั้นเช่นกันเพียงแต่ไม่มีข้อความต่อท้ายว่าเป็นพยาน เช่นนี้ก็ถือว่า ส. เป็นพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมตลอดมาแต่ต้นคือเป็นทั้งผู้เขียนพินัยกรรมและเป็นพยานในพินัยกรรมต้องด้วยความประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดชื่อเสียงจากสื่อสิ่งพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการ ผู้เขียน และเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพยานของผู้เขียนพินัยกรรม: การพิจารณาจากข้อเท็จจริงและเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
แม้ผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมจะไม่ได้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรค 2 ด้วยก็ตาม หากมีข้อความตอนท้ายของพินัยกรรมปรากฎชัดว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ และผู้เขียนได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อของพยานรับรองพินัยกรรมแล้ว ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบว่าผู้เขียนอยู่ในฐานะพยานด้วยหรือไม่ได้.