คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้เอาประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดอาการป่วยจริง
ผู้เอาประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย โดยทราบอยู่แล้วว่าตนเป็นโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าว เพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้แก่ตน สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่งและเมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังโจทก์ในฐานะผู้รับผลประโยชน์แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของผู้เอาประกันภัยในคดีประกันภัยรถยนต์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัย จำเลยที่ 2 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ขณะเกิดเหตุยังอยู่ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์โจทก์ถูกชนได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุ ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จึงอาจต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็น ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้ว และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่ จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาประกันภัย: ภาระการพิสูจน์อยู่ที่จำเลยหากอ้างว่าไม่ใช่ลายมือชื่อผู้เอาประกัน
จำเลยรับว่าได้รับประกันชีวิตให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยในนาม "ส."แล้วแต่กล่าวอ้างว่าผู้ขอเอาประกันภัยตามคำขอเอกสารหมาย จ.15 และจ.16 ไม่ใช่ ส. ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของ ส.ภาระการพิสูจน์ประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าพยานจำเลยมีเพียงพนักงานของจำเลยเบิกความว่าจำเลยปฏิเสธคำขอเอาประกันภัยของ ส. ไปแล้ว ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยมิใช่ลายมือชื่อของ ส.โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบแล้ว แต่จำเลยมิได้นำผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความยืนยันความเห็นดังกล่าวต่อศาล ความเห็นเกี่ยวกับลายมือชื่อจึงมีเพียงคำเบิกความลอย ๆ ศาลฎีกาตรวจพิเคราะห์ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ ส. ในเอกสารอื่นหลายฉบับแล้ว ปรากฏว่าแม้แต่ลายมือชื่อที่แท้จริงของ ส. ในเอกสารแต่ละฉบับดังกล่าวยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่ามิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้านทำการตรวจพิสูจน์ แต่จำเลยก็หาได้นำผู้เชี่ยวชาญที่อ้างมานำสืบต่อศาลไม่ ส่วนข้อเท็จจริงอื่นที่อ้างว่าเป็นพิรุธ เช่น โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ส. ได้เพียงสองวันก่อนการขอเอาประกันชีวิตหรือฐานะของโจทก์และ ส. เป็นต้น ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังว่าส. มิได้เป็นผู้เอาประกันชีวิตต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละราย ทำให้การอุทธรณ์ในส่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 บาท ต้องห้ามตามกฎหมาย
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8082/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะจากเจตนาปกปิดข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกัน
แบบฟอร์มคำขอเอาประกันชีวิต ข้อ 17 ถึงข้อ 22 เป็นข้อความที่ถามไว้เป็นข้อย่อยเกี่ยวกับสุขภาพของ ผู้เอาประกันชีวิต เช่น มีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจบ้างหรือไม่ ในระหว่าง 5 ปี ที่ผ่านมาเคยเจ็บป่วย เคยได้รับการผ่าตัด เคยรับการรักษาในสถานพยาบาล ถ้าเคย โปรดแจ้งรายละเอียด แบบฟอร์มที่มีข้อความเช่นนี้ตัวแทนจำเลย ผู้มาติดต่อขอเอาประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องสอบถามตามข้อความที่ระบุไว้ แต่เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้เอาประกันชีวิตจะต้องอ่านก่อน และปรากฏว่าโจทก์มีอาชีพค้าขายมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการย่อมต้องรอบคอบ เมื่อโจทก์อ่านข้อความเหล่านี้แล้ว แต่กลับเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 23 ซึ่งระบุว่า ถ้าคำตอบในเรื่องสุขภาพเป็นคำตอบรับ เช่น เคยได้รับการผ่าตัด หรือเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล จะต้องอธิบายรายละเอียดไว้ด้วย ข้อความเหล่านี้มีอยู่ก่อนโจทก์ลงชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต หาใช่ตัวแทนจำเลยกรอกข้อความดังกล่าวภายหลังไม่ เมื่อโจทก์ไม่แจ้ง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดไม่แจ้งความจริงตามหน้าที่ที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่องของผู้เอาประกันชีวิตซึ่งผู้รับประกันภัยอาจบอกปัด ไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้รับประกันภัยทราบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง หน้าที่นี้มีน้ำหนักใน การแสดงความสุจริตมากกว่าหน้าที่ของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 866 ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังใน การรับรู้ข้อความจริง โดยผู้รับประกันภัยพึงใช้ความระมัดระวังอย่างคนธรรมดาเช่นวิญญูชนทั่วไปก็พอแล้ว สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียะจำเลยย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ: ขอบเขตความรับผิดของผู้ขับขี่ นายจ้าง และผู้เอาประกัน
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 3ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ซ่อมรถยนต์และทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห.ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ส.เป็นเงิน 50,000 บาท เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาทซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 โจทก์ย่อมมีสิทธิ ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ย ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าว จากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้จากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทั้งไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย ดังนั้นการที่โจทก์จ่ายเงินอีก 40,000 บาทให้แก่ ส. ไป จึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้กำหนดค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ และจำเลยได้จ่ายให้โจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ครบถ้วนแล้ว ส่วนเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย เมื่อมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ย่อมใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะจากข้อมูลเท็จของผู้เอาประกัน และผลกระทบต่อสัญญาเพิ่มเติม
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคหอบหืดประจำตัว แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อความจริงนี้ให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นก่อนทำสัญญาหรือไม่รับประกันชีวิตของผู้ตาย สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะเหตุใด ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะหกล้มศีรษะฟาดพื้นเป็นเหตุให้เลือดออกในสมอง จำเลยจึงบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันต่อโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้และย่อมมีผลให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ
สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต เมื่อสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเสียแล้ว สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุบัติเหตุย่อมตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะจากข้อมูลเท็จของผู้เอาประกันภัย และผลกระทบต่อสัญญาประกันเพิ่มเติม
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคหอบหืดประจำตัวแต่ไม่ได้เปิดเผยข้อความจริงนี้ให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นก่อนทำสัญญาหรือไม่รับประกันชีวิตของผู้ตายสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะเหตุใดดังนั้นเมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะหกล้มศีรษะฟาดพื้นเป็นเหตุให้เลือดออกในสมองจำเลยจึงบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันต่อโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้และย่อมมีผลให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิตเมื่อสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเสียแล้วสัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุบัติเหตุย่อมตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยค้ำจุนหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต ศาลตัดสินเรื่องความรับผิดของบริษัทประกันภัยและค่าทนายความ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่ พ.ถึงแก่ความตาย แต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือ พ. หลังจาก พ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ดำเนินกิจการแทน พ. และได้จ้าง อ.เป็นลูกจ้าง และในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย อ.ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้ พ.ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตาม แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า พ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไป หรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้น หาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้
ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 30,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1และที่ 2 แต่ละคนจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท อัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ 5 นั้น การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง หาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลย เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 จำนวน 40,000 บาท และโจทก์ที่ 2 จำนวน 521,700 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน 25,000 บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่ 2 ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
of 4