คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้โอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่กรณีโอนสิทธิเช่า: ผู้โอนมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินและมีอำนาจฟ้องร่วมกับผู้รับโอน
วัดผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าแก่โจทก์ที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัดยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้ การที่โจทก์ที่ 1 ต้องทำสัญญาเช่ากับวัดโดยตรงเป็นเพียงต้องการตัดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาเช่าอันจะเกิดขึ้นในภายหน้าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดิน และผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) และสละสิทธิครอบครองให้ แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3จะได้ออก น.ส. 3 ก. แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อใน น.ส.3 ก. จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก.ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้ คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: โอนสิทธิได้เพียงเท่าที่ผู้โอนมีสิทธิ แม้มีสัญญาซื้อขาย
บ. ครอบครองที่พิพาทแทน ส. การที่โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก บ. ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองเพราะโจทก์ผู้รับโอนย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ บ. มีอยู่ในฐานะผู้ยึดถือที่พิพาทแทน ส.เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์ แต่บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์ เมื่อฟังว่าจำเลยที่1ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่2ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขาดตอนจากผู้โอนคนแรกที่ได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนคนต่อมาจึงไม่ต้องรับผิด
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงอ้างสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยที่ 3 ผู้รับโอนคนใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ครั้งจำเลยที่ 2 รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินเล็กน้อย & การรับภาระหน้าที่จากผู้โอน – ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามมาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ได้ต่อเติมรุกล้ำ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่า ในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่แต่ได้ความตามคำฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทเป็นเนื้อที่ 2 ตารางวาเป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลอันจะทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษ เชื่อได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ลูกหนี้ยกข้อต่อสู้ได้เฉพาะกับผู้โอน ไม่สามารถยกข้อต่อสู้ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนได้
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีการบอกกล่าวลูกหนี้โดยชอบแล้วนั้นลูกหนี้สามารถยกข้อต่อสู้ที่ตนมีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่หาอาจยกข้อต่อสู้ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินหลังแบ่งแยก: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 และคู่ความในคดีได้ตกลงแบ่งเขตที่ดินกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามส่วนที่แบ่งกัน แม้จำเลยที่ 1จะนำเอาที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสาม และไม่ใช่การแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสามให้แก่ พ. คงมีสิทธิยกให้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น เมื่อ พ. ตาย จำเลยที่ 2 ภรรยาผู้รับมรดกของ พ.ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าพ. จึงไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสามให้กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหมดทั้งแปลง คงได้เฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1ได้รับแบ่งตามคำพิพากษาตามยอมและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ได้มาจากการซื้อจากผู้ฉ้อโกง: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุมการค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ได้มาจากการซื้อขายจากผู้ฉ้อโกง: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุม การค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท
of 4