พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9247/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ใช้ก่อน
จำเลยเคยเห็นสินค้ารองเท้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" ของโจทก์มาก่อนจึงได้เลียนแบบมาเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ของจำเลยแล้วนำไปยื่นขอจดทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" โดยไม่สุจริต จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริตนั้นมาฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์มิให้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" กับสินค้ารองเท้าของโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" และใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารองเท้ามาก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ดีกว่าจำเลยผู้ได้รับการจดทะเบียนและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ไม่เคยโฆษณาเผยแพร่และส่งสินค้ารองเท้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนและได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ประกอบกับโจทก์ยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" กับสินค้ารองเท้าในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" กับสินค้ารองเท้าแตะที่จำเลยได้จดทะเบียนให้ชดใช้ค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" ของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
เมื่อโจทก์ไม่เคยโฆษณาเผยแพร่และส่งสินค้ารองเท้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนและได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ประกอบกับโจทก์ยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" กับสินค้ารองเท้าในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" กับสินค้ารองเท้าแตะที่จำเลยได้จดทะเบียนให้ชดใช้ค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" ของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8245/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาผู้ใช้สิทธิก่อนและเจตนาในการสร้างเครื่องหมาย
โจทก์และจำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า KIPLING ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 18 ก่อนโจทก์ประมาณ 1 ปี โดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกันนี้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 25 ไว้แล้วและไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 24 กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 เพราะมาตรานี้เป็นเรื่องผู้มีส่วนได้เสียฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว แต่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8245/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้การจดทะเบียนจะล่าช้ากว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ตามคำขอ ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67เพราะมาตรานี้เป็นเรื่องฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว
โจทก์และจำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 18 ก่อนโจทก์ประมาณ 1 ปีโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกันนี้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 25ไว้แล้วในปี 2532 ไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามมาตรา 24 กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
จำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้จะส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลังจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยแล้ว ก็ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของจำเลยในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงมาก่อนโจทก์ และการที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนไม่มีที่ติ พฤติการณ์จึงไม่เชื่อว่าโจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทขึ้นมาเองโดยไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์และจำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 18 ก่อนโจทก์ประมาณ 1 ปีโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกันนี้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 25ไว้แล้วในปี 2532 ไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามมาตรา 24 กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
จำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้จะส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลังจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยแล้ว ก็ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของจำเลยในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงมาก่อนโจทก์ และการที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนไม่มีที่ติ พฤติการณ์จึงไม่เชื่อว่าโจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทขึ้นมาเองโดยไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง หากพิสูจน์การใช้จริงได้
ฟ้องแย้งของจำเลยอ้างว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าและโฆษณามาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และมีคำขอให้โจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้แก่จำเลย กับห้ามโจทก์ใช้หรือขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยมิได้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อให้เกิดผลให้โจทก์สิ้นสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยและตามที่จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลบังคับได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 เป็นการพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของฟ้องแย้ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 อีกต่อไปแต่จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "CORAL" ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท จึงไม่ชอบ
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 อีกต่อไปแต่จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "CORAL" ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า LINZ มาจากชื่อบริษัทโจทก์และโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ELECTRIC กับสินค้าเครื่องสูบน้ำและสินค้าอื่น ๆ ของโจทก์มาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 6 เครื่องจักรทุกชนิด ประมาณ 6 ปี นอกจากนั้นโจทก์ได้ทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในรูปแบบต่าง ๆ หลายแบบ สินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ELECTRIC มีจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย ดังนี้เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LINZ ELECTRIC" กับสินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยไว้ก่อนโจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนก็ตาม
เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยเช่นนี้ ก็ชอบที่ศาลจะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยเช่นนี้ ก็ชอบที่ศาลจะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนทำให้เกิดความสับสน และสิทธิของผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
ฉลากกล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยลักษณะประดิษฐ์อย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ใช้คำว่า Madame de Mai มาดาม ดีใหม่ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยใช้คำว่า Due tai Madame ดิวไท มาดามลวดลายการประดิษฐ์อักษรทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยในฉลากทั้งสองต่างเป็นตัวเขียนรูปลักษณะและลีลาการเขียนอย่างเดียวกัน ขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน การวางตัวอักษรในฉลากก็วางไว้ในตำแหน่งเดียวกันของกล่อง สีของตัวอักษรและส่วนประกอบอื่นก็มีสีคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงระนาบเอียง โดยของโจทก์ระนาบเอียงขึ้นไปทางขวา ของจำเลยระนาบเอียงลงมาทางขวา ลักษณะฉลากเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวรวมทั้งเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่าคลาสสิค มาดาม CLASSIC MADAME ของจำเลยต่างมุ่งเน้นถึงความสำคัญของอักษรโรมันคำว่า Madame และอักษรไทยคำว่า มาดาม เช่นเดียวกัน มีสำเนียงเรียกขานชื่อสินค้าน้ำยาย้อมผมว่า มาดาม อย่างเดียวกัน ของโจทก์ระบุว่าผลิตโดยกรุงเทพเคมีของจำเลยระบุว่า ผลิตโดยกรุงธนเคมี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 48 น้ำยาย้อมผมเช่นเดียวกัน อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน ฉลากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยในลักษณะลวดลายประดิษฐ์คำว่า Madame de Mai และมาดาม ดีใหม่ ของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเมื่อมีผู้ใช้ก่อนและมีเจตนาเลียนแบบ
แม้โจทก์กับจำเลยจะโต้เถียงกันในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่จนคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้จำเลยชนะซึ่งถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1)แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้ขอจดทะเบียนภายหลัง การพิพากษาต้องครบถ้วนตามคำขอ
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUIS TAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUIS TAPE ของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้ากาวเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ตามมาตรา 17แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUIS TAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531 ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 243 (1), 246 และ 247
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีก ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUIS TAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531 ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 243 (1), 246 และ 247
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีก ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้การจดทะเบียนถูกเพิกถอน
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้และครบสิบปีแล้วจำเลยไม่ต่ออายุของการจดทะเบียนซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 27 ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่จำเลยยังใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง แม้จดทะเบียนถูกต้อง
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า Mita มาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 20 เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้.