พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโยกย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ศาลฎีกาชี้ว่าการโยกย้ายงานเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรเป็นสิทธิของนายจ้าง หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามถือเป็นฝ่าฝืนคำสั่งโดยร้ายแรง
บริษัทจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายธุรการและบริการ มีหน้าที่วิเคราะห์ต้นทุน รวบรวมข้อมูลและเอกสาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ปรับโครงสร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากเดิมจำเลยที่ 1 มี 26 สาขา และต้องการเพิ่มอีก 5 สาขา การแบ่งงานดังกล่าวเพื่อให้สภาพคล่องตัวขึ้น โดยโจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเหมือนเดิม และเป็นไปตามเงื่อนไขการจ้างงาน โจทก์จะไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายธุรการและบริการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 แต่โจทก์ขอเวลาวันเสาร์อาทิตย์ และจะให้คำตอบในวันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2547 ครั้นถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2547 โจทก์แจ้งปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่โจทก์ยังคงปฏิเสธ ถือได้ว่าเป็นการจงใจฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีร้ายแรง จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบในบริษัท แม้มิเจตนาแก่นายจ้าง แต่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งและสร้างความเสียหาย
หลังจากจำเลยมีคำสั่งห้ามไม่ให้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในบริษัทจำเลยแล้ว โจทก์ยังฝ่าฝืนปล่อยเงินกู้นอกระบบให้ลูกจ้างของจำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน อันเป็นการกระทำความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ซึ่งแม้จะมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง แต่ก็เป็นการกระทำความผิดอาญาในระหว่างการทำงาน ทั้งยังเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงานส่งผลกระทบต่อกำลังใจในการทำงาน ย่อมทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรง และเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานในคดีก่อสร้าง จำเป็นต้องมีบทบัญญัติรองรับโดยตรง
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 67 จะต้องเป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) และคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารตามมาตรา 40 (2) ส่วนกรณีตามมาตรา 40 (3) เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิจารณาเพื่อที่จะมีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 ต่อไป ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) ไปแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหากฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานตามมาตรา 41 ที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญาคงบัญญัติเป็นเงื่อนไขไว้ในมาตรา 42 ว่าถ้าเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 41 ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้น ซึ่งหากเจ้าของอาคารฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารนี้โดยมิได้รื้อถอนอาคารภายในกำหนดก็จะมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 ทวิ ดังนั้น ที่ศาลลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 40 (3) จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับ เป็นการลงโทษโดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมแยกออกจากกัน คือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของผู้ควบคุมอาคารได้ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง, 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าในอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 40 (2), 67 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังนั้น เมื่อความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าวเกิดขึ้นต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมแยกออกจากกัน คือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของผู้ควบคุมอาคารได้ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง, 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าในอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 40 (2), 67 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังนั้น เมื่อความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าวเกิดขึ้นต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างซ้ำ และการมีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้าง
วันที่ 2 เมษายน 2546 จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปช่วยทำงานที่โรงแรมสีดา รีสอร์ท นครนายก มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2546 และวันที่ 21 เมษายน 2546 จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำตัวกรรมการผู้จัดการและช่วยงานผู้จัดการทั่วไปในการบริหารงานพนักงานฝ่ายขายที่โรงแรมดังกล่าว โดยให้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิมและอัตราค่าจ้างเท่าเดิม แม้จะไม่ได้ค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์แต่ก็ไม่ได้ตัดค่าจ้าง เพราะเป็นเงินสวัสดิการที่พนักงานฝ่ายขายเท่านั้นมีสิทธิที่จะได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานอยู่ในฝ่ายขาย จึงไม่มีสิทธิได้ค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ ส่วนอำนาจบังคับบัญชาสั่งงานผู้ใต้บังคับบัญชานั้นจะมีหรือไม่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ แม้จะมีอำนาจบังคับบัญชาลดน้อยลงก็มิใช่ข้อที่จะถือว่าเป็นการลดตำแหน่งเสมอไป การที่จำเลยย้ายโจทก์ไปทำงานดังกล่าว จึงเป็นอำนาจบริหารของจำเลยที่จะกระทำได้คำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยออกคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่โรงแรมสีดา รีสอร์ท นครนายก ในช่วงสงกรานต์ซึ่งมีลูกค้ามาก จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม แต่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งดังกล่าวจำเลยจึงออกหนังสือเตือนโจทก์ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำตัวกรรมการผู้จัดการและช่วยทำงานผู้จัดการทั่วไป ในการบริหารงานฝ่ายขายที่โรงแรมดังกล่าว โดยให้สวัสดิการด้านที่พักและอาหารตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยซึ่งเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม แต่โจทก์ก็ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยอีก เมื่อการฝ่าฝืนในครั้งหลังมีลักษณะเดียวกันกับการฝ่าฝืนตามหนังสือเตือนครั้งแรก จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่โจทก์กระทำผิดครั้งแรก จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์กระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
จำเลยออกคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่โรงแรมสีดา รีสอร์ท นครนายก ในช่วงสงกรานต์ซึ่งมีลูกค้ามาก จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม แต่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งดังกล่าวจำเลยจึงออกหนังสือเตือนโจทก์ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำตัวกรรมการผู้จัดการและช่วยทำงานผู้จัดการทั่วไป ในการบริหารงานฝ่ายขายที่โรงแรมดังกล่าว โดยให้สวัสดิการด้านที่พักและอาหารตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยซึ่งเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม แต่โจทก์ก็ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยอีก เมื่อการฝ่าฝืนในครั้งหลังมีลักษณะเดียวกันกับการฝ่าฝืนตามหนังสือเตือนครั้งแรก จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่โจทก์กระทำผิดครั้งแรก จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์กระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และการกระทำผิดซ้ำคำเตือน
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานของโจทก์ซึ่งอยู่ในห้องเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าทำให้เกิดอุปสรรคหรือข้อขัดข้องในการทำงานของโจทก์จนไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างที่จะสั่งได้ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานกับเพื่อนร่วมงานภายในห้องเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมย้ายที่นั่งทำงานจนจำเลยต้องออกคำตักเตือนเป็นหนังสือถึง 3 ครั้ง โจทก์ก็ยังเพิกเฉย การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว เมื่อเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนที่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ย้ายที่นั่งทำงานกับเพื่อนร่วมงานภายในห้องเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมย้ายที่นั่งทำงานจนจำเลยต้องออกคำตักเตือนเป็นหนังสือถึง 3 ครั้ง โจทก์ก็ยังเพิกเฉย การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนแล้ว เมื่อเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนที่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิด จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าปรับรายวันฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต สิ้นสุดเมื่อเจ้าพนักงานสั่งรื้อถอนและจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม และเป็นการก่อความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารขึ้นตามมาตรา 42 , 66 ทวิ ดังนั้น การคิดค่าปรับรายวันในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเริ่มนับตั้งแต่วันกระทำความผิดไปจนถึงการกระทำความผิดสิ้นสุดลง มิใช่นับตั้งแต่วันกระทำความผิดไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับรายวันกรณีก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65 วรรคสอง กำหนดให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือจนกว่าจำเลยจะดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ
จำเลยได้ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคารแล้ว แต่จำเลยได้ทำการก่อสร้างอาคารไปก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งจำเลยว่าสถานที่ก่อสร้างอาคารอยู่ในแนวถนนโครงการผังเมืองรวมซึ่งตามข้อกำหนดของผังเมืองรวมไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ต่อมาได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง และวันที่ 19 เมษายน 2539 ได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน ครบกำหนดในวันที่18 มิถุนายน 2539 แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดี การไม่ดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้าง อาคารหรือดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก็ดี ย่อมสิ้นสุดลง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42,66 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21,65 วรรคสองอีก ดังนั้น ค่าปรับรายวันตามมาตรา 21,65 วรรคสอง ของจำเลยจึงต้องนับถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 เท่านั้น
จำเลยได้ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคารแล้ว แต่จำเลยได้ทำการก่อสร้างอาคารไปก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งจำเลยว่าสถานที่ก่อสร้างอาคารอยู่ในแนวถนนโครงการผังเมืองรวมซึ่งตามข้อกำหนดของผังเมืองรวมไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ต่อมาได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง และวันที่ 19 เมษายน 2539 ได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน ครบกำหนดในวันที่18 มิถุนายน 2539 แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดี การไม่ดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้าง อาคารหรือดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก็ดี ย่อมสิ้นสุดลง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42,66 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21,65 วรรคสองอีก ดังนั้น ค่าปรับรายวันตามมาตรา 21,65 วรรคสอง ของจำเลยจึงต้องนับถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนายจ้างในการสั่งตรวจร่างกายลูกจ้างที่ลาป่วย และการเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และได้รับอนุญาตให้ลาจนครบกำหนด และมาทำงานแล้ว ก็ตาม หากจำเลยสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่หรือใช้สิทธิลาป่วยไม่สุจริต ก็ชอบที่จะสั่งให้โจทก์ไปตรวจกับ แพทย์อื่นซึ่งจำเลยจัดให้เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หากการตรวจปรากฏว่าโจทก์ป่วยจริงและใช้สิทธิ ลาป่วยโดยสุจริตก็จะเป็นผลดีแก่โจทก์ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานที่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โจทก์ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกรณีไม่ร้ายแรง จำเลยได้มีหนังสือตักเตือนโจทก์ และยืนยันคำสั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามโจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงลงโทษให้พักงานโจทก์ 11 วัน และยืนยันให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอีก เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีสิทธิออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย จึงเป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และเป็นการปฏบัติถูกต้องตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วและคำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าไม่ใช้คำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งราชการ: เครื่องมือที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิด
การริบทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ เนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ห้ามเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบน้ำเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีเท่านั้น ความผิดดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่จำเลยใช้เครื่องตีน้ำในบ่อกุ้งหาทำให้เครื่องตีน้ำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดีฝ่าฝืนคำสั่งห้ามเพาะเลี้ยงกุ้ง: เครื่องตีน้ำไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ห้ามเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบน้ำเค็มในพื้นที่น้ำจืดในเขตจังหวัดเท่านั้น ความผิดดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่จำเลยใช้เครื่องตีน้ำในบ่อกุ้งหาทำให้เครื่องตีน้ำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ไม่