พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำวินิจฉัยการลงนิคหกรรมและการรอการพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่11(พ.ศ.2521)ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา18และมาตรา25แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ตราไว้ในหมวด3วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมข้อ23ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี3ชั้นคือ(1)ชั้นต้น(2)ชั้นอุทธรณ์(3)ชั้นฎีกาข้อ24ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นฯลฯข้อ25ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ฯลฯข้อ26ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคมข้อ7ว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุดและข้อ35ว่าก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า(1)เรื่องที่นำมาฟ้องนั้นได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อนฯลฯเมื่ออ. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่1และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่2วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมาวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกมีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน24ชั่วโมงแล้วและโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่3และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3แล้วโจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่3เสียก่อนว่าให้ยืนยกแก้หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ตามข้อ45ประกอบด้วยข้อ53ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่1และที่2ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่และจะขอให้จำเลยที่3รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่อ.ฟ้องโจทก์โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินสงฆ์: เงินฝากบัญชีของพระสงฆ์เมื่อเสียชีวิตตกเป็นของวัดภูมิลำเนา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พินัยกรรมของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะ ระบุไว้ว่า บรรดาเงินที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีขึ้นหรือได้มาในอนาคตซึ่งได้ฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ข. และ ค.เงินทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยกให้แก่จำเลยศิษย์ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏสมุดฝากเงินบัญชีเลขที่ 5106 และ 5459 ที่พิพาทซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของพระภิกษุ ส. ผู้มรณะ และพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นก่อนที่ผู้มรณะจะมีเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนั้นข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงเงินในบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนี้ จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรมจึงไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย) ที่รักเวลานี้พ่อหลวง (พระภิกษุ ส.)ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมดเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลังฯลฯจดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดเงินฝากเงินธนาคาร แม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในในว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงิน แสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมการกระทำของพระสงฆ์โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปกครองทางด้านการแสดงภาพยนตร์และเป็นเจ้าของไข้ของ จ. ได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 ว่า 'นอกจากไม่นับถือ ไม่เชื่อถือแล้วยังเห็นว่า ศิษย์ตถาคตผู้นุ่งเหลืองห่มเหลือง ประพฤติตัวไม่อยู่ในสมณวิสัยด้วย' และ 'ทุกๆ วันที่ปัญหาเดือดร้อนรำคาญมากกับหมอเถื่อนหมอดี ทั้งที่เป็นฆราวาส ทั้งห่มผ้าเหลือง วันหนึ่งๆ มีเป็นสิบๆ คนไปรออยู่หน้าห้อง กล้องถ่ายรูปก็พร้อม เราก็กันไว้ไม่ให้ไป เพราะการรักษาควรจะเป็นเรื่องของแพทย์ เปิ้ลจะหายหรือไม่ก็อยู่ที่หมอ ไม่ใช่อยู่กับคนที่ยืนสวดมนต์ชักลูกประคำพวกนี้ อยากจะบอกฝากไปถึงด้วยว่า ถ้าอยากดังนักก็ขอให้ไปดังที่อื่น คนป่วยของผมต้องการพักผ่อนอย่าได้ไปรบกวนกันเลย' การที่จำเลยที่ 1 กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุได้ไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้แก่ จ. ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขนาดแพทย์ห้ามเยี่ยมในห้องพักคนไข้ของโรงพยาบาลที่ จ. นอนพักรักษาตัวอยู่ชิดเตียงที่ จ. นอนป่วยอันเป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติตามวิสัยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อันมีเหตุให้จำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์มิใช่กิจอันอยู่ในสมณวิสัยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม หรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุในศาสนาประจำชาติ อันเป็นวิสัยของจำเลยที่ 1 ชอบที่จะกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(1)(3) จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ลงข้อความดังกล่าวจึงไม่มีความผิดด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวพระสงฆ์โดยตำรวจและชาวบ้าน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
พระภิกษุเจ้าอาวาสไปสนทนากับหญิงบนบ้านในเวลากลางคืนจำเลยซึ่งเป็นตำรวจและชาวบ้านออกประกาศโฆษณาทางเครื่องขยายเสียงว่าโจทก์กระทำผิดวินัยสงฆ์ และไม่ยอมให้โจทก์กลับวัด ไม่ยอมให้ลงจากบ้าน แล้วนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดพระวินัย จึงได้ควบคุมโจทก์ไว้ก่อนเพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้นได้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,309,310 เมื่อศาลล่างทั้งสองยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งที่โจทก์มิได้กระทำผิดพระวินัยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวหาพระสงฆ์ในที่ประชุมสงฆ์โดยสุจริตเพื่อปกป้องวินัย ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
การที่จำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุแสดงตนเป็นโจทก์ขึ้นในที่ประชุมสงฆ์เมื่อมีพระภิกษุต้องหาว่าประพฤติผิดพระวินัย เป็นการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยมีมูลให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจ ไม่ใช่กระทำเพื่อกลั่นแกล้งใส่ความโดยไม่มีมูลแล้วจำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 329(1) ประมวลกฎหมายอาญายังไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนอธิกรณ์พระสงฆ์และการสั่งให้พระภิกษุออกจากวัด ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อความสงบสุขในวัด ไม่เป็นความผิดอาญา
โจทก์เป็นพระภิกษุในวัดที่จำเลยเป็นเจ้าอาวาส โจทก์ถูกกล่าวหาว่าได้เสพเมถุนธรรมกับหญิง จำเลยได้ตั้งกรรมการทำการสอบสวนโดยจำเลยเป็นประธานกรรมการ แม้ในการสอบสวนจำเลยจะทำการสอบสวนผู้กล่าวหาซึ่งเป็นพระภิกษุสามเณรพร้อม ๆ กัน ลับหลังโจทก์ โดยอนุญาตให้พระภิกษุบางองค์ตอบแทนกัน และไม่เรียกพยานของโจทก์มาทำการสอบสวน อันเป็นการไม่ต้องด้วยพระธรรมวินัย ระเบียบบังคับ และกฎของมหาเถรสมาคม และในที่สุดจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัดโดยที่การสอบสวนไม่ได้ความชัดว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นเรื่องผิดระเบียบการสอบสวนเท่านั้น และการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากวัด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็เพื่อให้มีความสงบสุขในวัด มิใช่จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนพระสงฆ์ หมิ่นประมาทสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสีย
พระภิกษุในวัดเดียวกันทำหนังสือร้องเรียนต่อสังฆนายกว่า พระภิกษุเจ้าอาวาสประพฤติผิดธรรมวินัยโดยร่วมประเวณีกับหญิง แม้เรื่องที่ร้องเรียนกล่าวหานั้นจะไม่เป็นความจริง แต่ได้ร้องเรียนไปโดยสุจริต โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นความจริง ดังนี้ ไม่มีผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะถือว่าเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนพระสงฆ์หมิ่นประมาท: สุจริตและมีเหตุอันควรเชื่อ ย่อมได้รับการยกเว้นความผิด
พระภิกษุในวัดเดียวกันทำหนังสือร้องเรียนต่อสังฆนายกว่าพระภิกษุเจ้าอาวาสประพฤติผิดธรรมวินัยโดยร่วมประเวณีกับหญิงแม้เรื่องที่ร้องเรียนกล่าวหานั้นจะไม่เป็นความจริง แต่ได้ร้องเรียนไปโดยสุจริต โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นความจริง ดังนี้ ไม่มีผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะถือว่าเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อ ความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความจริงในคดีหมิ่นประมาทที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความประพฤติของพระสงฆ์
โจทก์เป็นเจ้าคณะอำเภอ ฟ้องหาว่าจำเลยกล่าวคำหมิ่นประมาทใส่ความว่าโจทก์เข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา เป็นเหตุให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังนั้น จำเลยขอพิสูจน์ความจริงได้ เพราะการพิสูจน์ความจริงของจำเลยย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้เป็นศาสนิกชนย่อมหวงแหนที่จะมิให้ผู้ใดมาทำลายหรือทำความมัวหมองให้แก่พุทธศาสนาที่ตนนับถือ ยิ่งเมื่อจำเลยมาพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อศาลได้ ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั่วไปที่จะได้ไม่มัวหลงเคารพเลิ่อมใสโจทก์ต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทพระสงฆ์: พระทุกรูปในวัดเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยกล่าวความหมิ่นประมาทพระทั้งวัดซึ่งมีอยู่รวม 6 องค์ต้องถือว่าทุกองค์เป็นผู้ได้รับความเสียหายและแต่ละองค์ย่อมมีอำนาจร้องทุกข์ได้