คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพากษาแก้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยใช้จอบยาวประมาณ 1 เมตรเศษ เป็นจอบขนาดใหญ่ตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะถึง 2 ถึง 3 ครั้งในขณะที่ผู้ตายนอนนิ่งอยู่ ซึ่งจำเลยมีโอกาสที่จะเลือกตีผู้ตายที่ใดก็ได้แต่จำเลยกลับเลือกตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญถึงขนาดกะโหลกศีรษะผู้ตายแตกและบางส่วนหลุดหายไป ทั้งบาดแผลลึกถึงสมองเนื้อสมองหายไปอันแสดงว่าจำเลยตีทำร้ายอย่างรุนแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลในการกระทำของจำเลยได้ว่าอาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ แม้มูลเหตุที่จำเลยไม่พอใจผู้ตายจะไม่ใช่สาเหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตายก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม้ฟืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่รับและพิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ริบไม้ฟืนของกลางไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีเวนคืนที่ดิน ต้องคำนึงถึงเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจริง และสิทธิที่โจทก์มีตามจริง
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 49.60 ตารางวา และมีคำขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่เพียง 44.60 ตารางวาเท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์อีกตารางวาละ 5,000 บาท จากเนื้อที่ 49.60 ตารางวา จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่เพียง 44.60 ตารางวาเท่านั้น จึงมีปัญหาในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่เท่าใด เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่จริงเพียง 44.60 ตารางวา แต่เห็นว่าอัตราเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลชั้นต้นเพิ่มให้แก่โจทก์เป็นตารางวาละ 30,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้นจำนวน 1,338,000 บาท เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินไปแล้วจำนวน 1,240,000 บาท โจทก์จึงยังคงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 98,000 บาท เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียให้ถูกต้องได้ โดยจำเลยไม่จำต้องมีคำขอให้โจทก์คืนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ได้รับไปแล้วหรือขอให้หักเงินค่าทดแทนที่ดินที่รับไปแล้วออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาเพิ่มให้ เพราะศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์จากเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนจริงตามที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเท่านั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการพิพากษาไปตามประเด็นแห่งคดีไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดหลายกระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษ แต่ยังคงลงโทษฐานเสพยาเสพติดด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา15วรรคหนึ่ง,26วรรคหนึ่งประกอบมาตรา67,76วรรคหนึ่ง,91,92เป็นความผิดหลายกรรมเรียกกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองจำคุก2ปีฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองจำคุก6เดือนฐานเสพเฮโรอีนและกัญชาจำคุก1ปีรวมโทษจำคุก3ปี6เดือนลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย1ปี9เดือนของกลางริบจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองจำคุก1ปีฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองจำคุก3เดือนและปรับ1,000บาทรวมโทษจำคุก2ปี3เดือนและปรับ1,000บาทลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78คงจำคุก1ปี1เดือน15วันและปรับ500บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29,30นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นความผิดฐานเสพเฮโรอีนและกัญชาศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องในคดีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลฎีกาพิพากษาแก้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพ, พยานซัดทอด, ความสมัครใจในการให้การ, หลักฐานประกอบ, การพิพากษาแก้
บันทึกคำให้การและภาพถ่ายนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยมีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพเช่นเดียวกับจำเลยอื่น การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าถูกบังคับให้ให้การรับสารภาพ นั้น เมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนเข้าเบิกความ จำเลยที่ 3 หาได้ถามด้านถึงความข้อนี้ไม่ กลับอ้างว่าตัวเองนำสืบภายหลังจึงไม่มีน้ำหนัก เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจจึงเป็นหลักฐานประกอบคำเบิกความของ น. และ ว. พยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นพยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดตามฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 4 โจทก์คงมีแต่คำให้การรับสารภาพของ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และจำเลยที่ 4 ก็ได้นำสืบปฏิเสธในชั้นพิจารณาเป็นทำนองว่า ที่ให้การรับสารภาพไปเพื่อไม่ให้จำเลยที่ 1 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายกับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 3 และคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกันพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 4 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง, การรับผิดร่วมกัน, การประมาทเลินเล่อ, การพิพากษาแก้
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น-หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10-1806 ขก.ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น-2691ซย.ฯลฯ...แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของศปอ.หมายเลขทะเบียน2ง-9601ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี...รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น-2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้วเป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพคือวันที่ 15 เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยบันดาลโทสะและการทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำเลยที่ 1 ฐานฆ่าโดยบันดาลโทสะ และยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีผู้ตายได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตาย พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ดังนี้ เป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 หาใช่เหตุลักษณะคดีไม่ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ คดีเฉพาะจำเลยที่ 2 จึงต้องบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยามิได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 แล้วใช้ขวานฟันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 แย่งขวานได้ก็เหวี่ยงทิ้ง ผู้ตายยังติดตามจะทำร้ายจำเลยทั้งสองซ้ำอีก ดังนี้ การกระทำของผู้ตายจึงเป็นการข่มเหงจำเลยทั้งสองอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ยิงและตีผู้ตายผู้ข่มเหงในขณะนั้น เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ หาใช่เพื่อป้องกันไม่ศาลฎีการับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาแก้โทษในคดีอาญา แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอแก้ไขโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชก ชิงทรัพย์ และพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชคอีกด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดียังไม่พอฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายชิงทรัพย์และหาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร แต่เชื่อว่าจำเลยเป็นคนร้ายกรรโชคทรัพย์ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โดยไม่ใช่กรณีที่ต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะมิใช่เป็นเหตุในลักษณะคดี แต่เป็นเรื่องคดียังไม่ถึงที่สุดซึ่งศาลอาจพิพากษาเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาที่ไม่ระบุบทลงโทษ และการยกเว้นโทษตามกฎหมายใหม่ ศาลฎีกาพิพากษาแก้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานและทำลายบัตรประจำตัวข้าราชการ แต่ในคำขอท้ายฟ้องมิได้อ้างมาตรา 138, 140, 188 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วยนั้น ย่อมลงโทษจำเลยตามมาตรา 138, 140, 188 ไม่ได้ และการที่โจทก์อ้างประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 ซึ่งบัญญัติให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วย ก็ไม่พอจะอนุมานว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่มิได้อ้าง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาตนั้น แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดในขณะฟ้องและศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษมา แต่เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ และแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการทำร้ายร่างกาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำเลย
จำเลยมีปืนลูกซองและกระสุนปืน โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ทำหายเสียก่อน กฎหมายยกเว้นโทษระหว่างฎีกา จึงไม่มีปืนไปขอรับอนุญาต จำเลยไม่ได้รับยกเว้นโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 3 เดือน กับฐานทำร้ายร่างกาย จำคุก 4 ปี รวม 4 ปี 3 เดือนเพิ่มโทษ 1 ใน 3 เป็น 5 ปี 8 เดือน ไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ในฐานมีอาวุธปืน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้เพิ่มโทษก่อนลดโทษ ทั้งในฐานทำร้ายร่างกายและฐานมีอาวุธปืนด้วยก็ได้
of 3