คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพากษาใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมาย ส่งสำนวนกลับศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่ถูกต้อง
เดิมจำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทและจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทมาก่อนโจทก์เกินกว่า 30 ปี มิใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นของจำเลยและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ โดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1382 ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านกับเพิ่งมาก่อนที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำบรรยายฟ้อง โดยปลูกบ้านกับเพิง และเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณที่ปลูกบ้านกับเพิงโดยความสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382 ซึ่งศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การแล้ว ดังนั้น ตามคำให้การที่แก้ไขใหม่ต่อข้อต่อสู้เดิมว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่เป็นข้อต่อสู้อีกต่อไป การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการครอบครองที่ดินที่จำเลยมีสิทธิอยู่แล้ว จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามาตรา 1382 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง การงดสืบพยานไม่ชอบ ต้องให้สืบพยานเพื่อพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสองเข้ามาปลูกสร้างโรงเรือนและเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาในที่ดินของโจทก์บางส่วนขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองดังนี้คดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองมาแต่แรกเมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบมาตรา246ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพของจำเลยและการพิจารณาคดีใหม่ ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนเพื่อพิพากษาใหม่
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ต่อมาปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ศาลได้อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยเข้าใจแล้ว จำเลยแถลงสู้คดีและจะให้การวันนัดพิจารณา ครั้นถึงวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำให้การ 1 ฉบับ พร้อมกับคำร้องอีก 1 ฉบับ โดยในคำให้การระบุว่า จำเลยทราบฟ้องของโจทก์แล้ว ขอรับสารภาพในการกระทำความผิดตามฟ้องในข้อหารับของโจร ตาม ป.อ.มาตรา 357 เพียงข้อหาเดียว ขอปฏิเสธข้อหาลักทรัพย์ส่วนคำร้องที่ยื่นมาพร้อมกันนั้น แม้จะมีข้อความซึ่งมีความหมายว่าจำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่รับไว้ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตาม แต่ก็เป็นข้อความในคำร้องที่จำเลยยื่นเข้ามาเพื่ออ้างเหตุให้ศาลรอการลงโทษเท่านั้น ไม่ใช่คำให้การว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิด และเมื่อศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยในวันเดียวกันนั้น จำเลยก็ยืนยันตามคำให้การที่รับสารภาพฐานรับของโจรดังกล่าว ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การจำเลย นอกจากนี้ศาลชั้นต้นยังจดรายงานกระบวนพิจารณาในวันดังกล่าวโดยระบุว่า จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ไม่ต่อสู้คดี ขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งจำเลยก็ลงชื่อไว้อีก เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแล้วว่า จำเลยยืนยันที่จะให้การรับสารภาพฐานรับของโจรตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาใหม่โดยไม่วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลฎีกาเห็นควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินและการต่อสู้สิทธิครอบครอง เกิน 1 ปี ศาลฎีกาพิพากษาให้ส่งสำนวนคืนเพื่อพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและนิติกรรมแบ่งขาย โอนขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้ซื้อเป็นการฟ้องเรียกคืนที่ดินให้กลับคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก็ต้องถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ทั้งคดี เมื่อที่ดินมีราคา50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 จำเลยที่ 5 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 5 แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความการที่ศาลชั้นต้นหยิบยกบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นภายหลังแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 5 และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และมิใช่ข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บังคับใช้ย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.1 ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม อ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ในส่วนนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์ และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 2 จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยต่อไปว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้ว ก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90 นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมาย และแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นและพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ได้ชี้สองสถานไว้แล้ว โดยมิได้ดำเนินคดีโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้ หรือกลับ ไม่มีเหตุที่จะบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ซ้ำ: การยื่นอุทธรณ์ฉบับเดิมหลังศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ไม่เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ฝ่ายที่แพ้คดี อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นครั้งหนึ่งแล้ว ศาลอุทธรณ์กลับพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ฝ่ายนั้นแพ้คดีอีกฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงการณ์ขออุทธรณ์คดีขอให้ถือฟ้องอุทธรณ์ฉบับเดิมเป็นฟ้องอุทธรณ์ในชั้นนี้ดังนี้ ย่อมไม่เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม-การผูกพันตามข้อเท็จจริงศาลชั้นต้น-ฎีกาให้พิพากษาใหม่
คดีมโนสาเร่ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และไม่เข้าข้อยกเว้นนั้น หากศาลชั้นต้นไม่รับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องสั่งยกเมื่อเป็น อุทธรณ์ในข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น นอกจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมาย
หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงกลับศาลชั้นต้นแล้วขัดต่อ ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 238 ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปเรื่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศยกเลิกเรื่องตามอำนาจกฎหมาย ไม่ถือเป็นการยกเลิกความผิดเดิม ศาลสูงสั่งพิพากษาใหม่
ประกาศที่ออกตามอำนาจในกฎหมาย ต่อมามีประกาศยกเลิกเรื่องตามคำสั่งนั้น ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายยกเลิกความผิด
ในกรณีที่เป็นกรรมเดียวกันนั้นเมื่อศาลสูงเห็นว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องบางส่วนไม่ถูกต้อง จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ศาลสูงย่อมให้ยกคำพิพากษาทั้งหมด และให้พิพากษาใหม่ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำนวณผลแล้วศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
++คำนวนไปให้ศาลชั้นต้น+++พิพากษาใหม่
of 2